ฮุน เซน

อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา

จอมพล สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน (เขมร: សម្តេចអគ្គមហាសេនាបតី តេជោ ហ៊ុន សែន สมฺเตจอคฺคมหาเสนาบตี เตโช หุน แสน)[3] เรียกสั้น ๆ ว่า ฮุน เซน (ហ៊ុន សែន ออกเสียง ฮุน แซน[4]; เกิด 4 เมษายน พ.ศ. 2494) ประธานคณะองคมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นนักการเมืองชาวกัมพูชาและอดีตผู้บัญชาการทหาร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาชนกัมพูชา และสมาชิกรัฐสภากัมพูชา เขายังเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2541[5] ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของประเทศกัมพูชา และเป็นหนึ่งในผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในโลก

จอมพล
สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช
ฮุน เซน
ហ៊ុន សែន
ฮุน เซน ใน พ.ศ. 2562
ประธานพฤฒสภากัมพูชา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2567
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี
รองPrak Sokhonn
Ouch Borith
ก่อนหน้าสาย ฌุม
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา[a]
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566
กษัตริย์
รองSar Kheng
ฮอ นำฮง
เตีย บัญ
Bin Chhin
Yim Chhaily
Men Sam An
Ke Kim Yan
Prak Sokhonn
อุน พรมนนิโรธ
เจีย โสภารา
ก่อนหน้าตนเอง
ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่สอง
ถัดไปฮุน มาแณต
นายกรัฐมนตรีที่สอง
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2536 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
รองSar Kheng
นายกรัฐมนตรีที่หนึ่งนโรดม รณฤทธิ์ (2536–2540)
อึง ฮวด (2540–2541)
ก่อนหน้านโรดม รณฤทธิ์
ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนเดียว
ถัดไปตนเอง
ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนเดียว
ดำรงตำแหน่ง
14 มกราคม พ.ศ. 2528 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
รักษาการ: 26 ธันวาคม พ.ศ. 2527 – 14 มกราคม พ.ศ. 2528
ประธานาธิบดี
รองตนเอง
Bou Thang
เจีย สุทธ
Sar Kheng
ก่อนหน้าจัน ซี
ถัดไปนโรดม รณฤทธิ์
ประธานพรรคประชาชนกัมพูชา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 มิถุนายน พ.ศ. 2558
รองSar Kheng
Say Chhum
เตีย บัญ
Men Sam An
ก่อนหน้าเจีย ซีม
สมาชิกรัฐสภากัมพูชา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 มิถุนายน พ.ศ. 2536
เขตเลือกตั้งกำปงจาม (2536–2541)
กันดาล (2541–ปัจจุบัน)
คะแนนเสียง422,253 (75.33%)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้ากอง กรอม
ถัดไปฮอ นำฮง
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม พ.ศ. 2522 – ธันวาคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้าเอียง ซารี
ถัดไปกอง กรอม
รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2528
ประธานาธิบดีเฮง สำริน
นายกรัฐมนตรีแปน โสวัณ
จัน ซี
ตนเอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฮุน บันนัล

5 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
เปียมเกาะสนา อำเภอสตึงตราง จังหวัดกำปงจาม กัมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส
เชื้อชาติกัมพูชา
พรรคการเมืองพรรคประชาชนกัมพูชา
คู่สมรสบุน รานี (สมรส 1976)
บุตร5, รวมมาแณต, Manith และ มานี
บุพการีHun Neang
Dee Yon
รางวัลGrand Order of National Merit
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ เขมรแดง/กัมพูชาประชาธิปไตย
 กัมพูชา
 กัมพูชา
 ราชอาณาจักรกัมพูชา
สังกัด เขมรแดง
แนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชา/กองทัพปฎิวัติประชาชนกัมปูเจีย
กองทัพปฎิวัติประชาชนกัมพูชา
กองทัพบกกัมพูชา
ประจำการ2513–2542
ยศนายอุตฺตมเสนีย์ผุตเลข (จอมพล) [1][2]
บังคับบัญชากัมพูชาประชาธิปไตย – ภูมิภาคตะวันออก
ผ่านศึกสงครามกลางเมืองกัมพูชา  (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
สงครามกัมพูชา-เวียดนาม

ในวันที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 ฮุน เซน ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และประกาศให้ฮุน มาแณต บุตรชายคนโต สืบทอดตำแหน่งนี้ต่อไป[6] ทั้งนี้ เขาจะยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาชนกัมพูชา, สมาชิกรัฐสภากัมพูชา รวมถึงยังได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี และประธานพฤฒสภากัมพูชา หลังการเลือกตั้งพฤฒสภาในปีถัดไปด้วย[7]

ชีวประวัติ

แก้

ฮุน เซนเกิดในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (ในประวัติอย่างเป็นทางการคือวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2494)ที่เปียมเกาะสนา จังหวัดกำปงจาม เดิมมีชื่อ ฮุน โบนาล (หรือ ฮุน นาล)[8] เขาเป็นลูกคนที่สามจากลูกทั้งหมด 6 คนของ ฮุน เนียง พ่อของเขา ผู้เป็นพระภิกษุประจำวัดท้องถิ่นในกำปงจาม ก่อนจะสึกเพื่อเข้าร่วมกองกำลังต่อต้านฝรั่งเศส และแต่งงานกับ ดี ยอง แม่ของฮุน เซน ปู่ย่าตายายฝ่ายพ่อของ ฮุน เนียงเป็นเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวย ซึ่งมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว[9][10]

ฮุน เนียงได้รับมรดกทรัพย์สินของครอบครัวบางส่วน ซึ่งรวมถึงที่ดินหลายเฮกตาร์ และมีชีวิตที่ค่อนข้างสุขสบาย จนกระทั่งเหตุการณ์ลักพาตัวที่ทำให้ครอบครัวต้องขายทรัพย์สินส่วนใหญ่ออกไป[11] ฮุน นาล ออกจากครอบครัวตอนเขาอายุ 13 ปี เพื่อเข้าเรียนโรงเรียนสงฆ์ที่พนมเปญ ในเวลานั้น เขาเปลี่ยนชื่อตนเองเป็น ฤทธิ เซน หรือสั้น ๆ ว่า เซน เนื่องจากชื่อก่อนหน้า (นาล) มักเป็นชื่อเล่นสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกิน[8] ซึ่งเขามักถูกเรียกว่า ฮุน โบนาล[b]

ช่วงสงคราม

แก้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ราชอาณาจักรกัมพูชาภายใต้เจ้านโรดมสีหนุ ได้ถูกโค่นล้มโดยนายพลลอน นอลในแผนการการรัฐประหารปี พ.ศ. 2513 ซึ่งองค์การซีไอเอ (CIA) ของสหรัฐอเมริกา หนุนอยู่เบื้องหลัง ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฮุน เซนใน พ.ศ. 2515 เมื่อเห็นว่ากัมพูชาตกอยู่ในสงคราม ฮุน เซนในวัย 18 ปี ได้เข้าร่วมกับเขมรแดงซึ่งเป็นขบวนการต่อต้านจักรวรรดินิยม เพื่อตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของ เจ้านโรดมสีหนุ อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่ถูกยึดอำนาจไป

เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2518 ฮุน เซนได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาข้างซ้ายจนในที่สุด ดวงตาข้างซ้ายได้บอดสนิทเนื่องจากเขาได้รับบาดเจ็บขณะสู้รบในช่วงการล่มสลายของพนมเปญ[12]

หลังจากนั้นสองปีหลังเข้าร่วมเป็นทหารให้กับเขมรแดง เขาสู้รบให้กับเขมรแดงในสงครามกลางเมืองกัมพูชา และเป็นผู้บังคับกองพันของกัมพูชาประชาธิปไตย

ในปี พ.ศ. 2520 ฮุน เซนไม่พอใจกับระบอบการเมืองที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของพล พต ฮุน เซนได้ละทิ้งครอบครัวอันเป็นที่รักอีกครั้ง เพื่อเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยประเทศและประชาชนจากระบอบที่เลวร้ายนี้

ในปี พ.ศ. 2521 ฮุน เซนและเฮง สัมรินได้แปรพักตร์ไปเข้ากับเวียดนาม โดยแอบหนีทัพเข้าชายแดนเวียดนามและได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งขบวนการกู้ชาติกัมพูชาที่เรียกว่าแนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชาซึ่งร่วมมือกับขบวนการรักชาติหลายกลุ่มที่เวียดนามให้การสนับสนุนและกองทัพอาสาสมัครเวียดนามเพื่อเข้าปลดปล่อยดินแดนกัมพูชาจากเขมรแดงของกลุ่มพอล พต

ในปี พ.ศ. 2522 เขาได้นำกองกำลังที่เข้าร่วมกับกองทหารจากเวียดนามเพื่อโค่นล้มระบอบเขมรแดง การเคลื่อนไหวนี้ได้ปลดปล่อยประเทศและประชาชนกัมพูชาจากระบอบการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกัมพูชา และตั้งแต่นั้นมาเขาก็กลายเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลและมีชื่อเสียง และสู้รบร่วมกับกองทัพเวียดนามในสงครามกัมพูชา–เวียดนาม เมิ่อรบชนะและโค่นล้มเขมรแดงของพอล พตลงได้ เวียดนามได้เข้ายึดครองกัมพูชาและได้สนับสนุนให้เขาเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดที่เวียดนามตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 ถึง 2529 และอีกครั้งใน พ.ศ. 2530 ถึง 2533[13] ตอนอายุ 26 ปี เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศที่อายุน้อยที่สุดในโลกในเวลานั้น[14]

ประสบการการทำงาน

แก้

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2536 ฮุน เซน ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในการบริหารประเทศกัมพูชา (สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา และรัฐกัมพูชา) รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึง 2528

เส้นทางการเมือง

แก้

ฮุน เซนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2528 เมื่อรัฐสภาพรรคเดียวแต่งตั้งเขาให้ดำรงตำแหน่งต่อจากจัน ซีที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2527 เขาดำรงตำแหน่งนั้นจนกระทั่งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ฮุน เซนเป็นหนึ่งในผู้ลงนามหลักในสนธิสัญญาสันติภาพปารีส เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 อันเป็นผลจากข้อตกลงนี้ นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในกัมพูชาในปี พ.ศ. 2536 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-2541 ฮุน เซน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีร่วมกับนโรดม รณฤทธิ์ในรัฐบาลผสมชุดแรกของรัฐสภา

การเลือกตั้งที่สหประชาชาติหนุนใน พ.ศ. 2536 ที่ก่อให้เกิดสภาแขวน ทำให้พรรคฝ่ายค้าน พรรคฟุนซินเปก ชนะผลการเลือกตั้งส่วนใหญ่ ฮุน เซนไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งนี้[15] หลังเจรจากับพรรคฟุนซินเปกของนโรดม รณฤทธิ์และฮุน เซนยอมรับที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีร่วมกับนโรดม รณฤทธิ์ โดยฮุน เซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและเจ้ารณฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองตามลำดับอีกครั้ง ถือเป็นครั้งแรกในกัมพูชาที่มีนายกรัฐมนตรีถึงสองคน จนกระทั่งความเป็นพันธมิตรแตกสลายและฮุน เซนมีส่วนบงการในรัฐประหารใน พ.ศ. 2540 ที่โค่นล้มนโรดม รณฤทธิ์เพื่อที่ฮุน เซนจะได้รวบอำนาจไว้แต่ผู้เดียว

ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2541 ฮุน เซน ได้นำพรรคประชาชนกัมพูชาชนะการเลือกตั้ง จนประสบความสำเร็จและได้เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เขาเป็นผู้นำรัฐบาลผสมเป็นสมัยที่ 2 ของสมัชชาแห่งชาติซึ่งมีสองพรรคใหญ่คือ พรรคประชาชนกัมพูชาและพรรคฟุนซินเปก ภายใต้การนำของฮุน เซน กัมพูชากลายเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ใน ประชาคมอาเซียน

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา เขานำพรรคประชาชนกัมพูชาชนะการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องและมักเป็นที่ถกเถียง ควบคุมการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังรวมถึงการทุจริต, การทำลายป่า และการละเมิดสิทธิมนุษยชน[16][17][18][19]

ในนามของสมเด็จฮุน เซน ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคพรรคประชาชนกัมพูชา เขานำชัยชนะอย่างถล่มทลายอีกครั้งในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 หลังจากปัญหาทางการเมือง ฮุน เซน ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคฟุนซินเปคเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่นำรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 หลังจากชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาชนกัมพูชา ได้รับ 90 ที่นั่งจากทั้งหมด 123 ที่นั่งในสภาแห่งชาติของสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเตโช ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาใน สมัยที่สี่ของรัฐสภา วาระห้าปี (พ.ศ. 2551-2556)

ในพ.ศ. 2556 ฮุน เซนและพรรคฯ ได้รับเลือกใหม่ด้วยเสียงข้างมากที่ลดลงอย่างมาก ข้อกล่าวหาเรื่องการฉ้อโกงผู้มีสิทธิเลือกตั้งนำไปสู่การประท้วงต่อต้านรัฐบาลทั่วประเทศ

จากนั้นในพ.ศ. 2561 เขาได้รับเลือกใหม่ในสมัยที่ 6 จากการสำรวจความคิดเห็นที่ไม่มีใครคัดค้านหลังจากการยุบพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรคของเขาได้รับที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภา[20] ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 6 ที่มีพรรคเดียวโดยพฤตินัย[16]

ฮุน เซนมีความโดดเด่นในพรรคการเมืองฝ่ายคอมมิวนิสต์, มากซ์-เลนิน และปัจจุบันในฝ่ายทุนนิยมโดยรัฐและอนุรักษนิยมทางชาติ (national conservative) และแม้ว่าชาตินิยมเขมรเป็นคุณลักษณะที่สอดคล้องกันทั้งหมด คาดกันว่าเขาไม่มีอุดมการณ์ทางการเมืองหลัก[21][22] ส่วนในด้านนโยบายต่างประเทศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฮุน เซนได้ยกความเป็นพันธมิตรทางการทูตและเศรษฐกิจกับจีนให้ใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศกัมพูชาภายใต้ข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง[23][24][25] ในขณะเดียวกัน เขามักวิพากษ์วิจารณ์มหาอำนาจตะวันตกเพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรกัมพูชาเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน[26][27] และดูแลข้อพิพาททางการทูตกับไทยในหลายครั้ง[28][29]

การศึกษา

แก้

ฮุน เซน ได้รับการศึกษาในระบบน้อยมาก เพราะเติบโตมาในท่ามกลางสงคราม หลังจากจบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่บ้านเกิดในปี พ.ศ. 2508 ฮุน เซนได้มาพำนำที่กรุงพนมเปญ โดยพักอาศัยที่วัดนาควาน (Neakvoan) ซึ่งฮุน เซนต้องมาเป็นเด็กวัด ภายใต้การดูแลของสมภารที่ชื่อ “มง ฤทธี” และศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมอินทราเทวี (Indra Devi) เพื่อศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา

เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญาตรีด้านรัฐศาสตร์การเมืองจากจากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศกัมพูชา และมีสถาบันการศึกษาต่างๆ มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์รวมทั้งสิ้น 11 ปริญญา ได้แก่

  • 2544 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (รัฐศาสตร์) - (Dankook University, South Korea) มหาวิทยาลัยดันกุกสาธารณรัฐเกาหลี ในความพยายามปรองดองแห่งชาติ การฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพในกัมพูชา การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและสาธารณรัฐเกาหลี และความพยายามของฮุน เซน ในด้านความร่วมมือกับประเทศในอาเซียน
  • 2547 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (รัฐศาสตร์) - (Irish International University of Europa) มหาวิทยาลัยนานาชาติไอริช สหภาพยุโรป เพื่อเป็นการตอบรับต่อการอุทิศตนและสร้างความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของฮุน เซน ในปีเดียวกัน มหาวิทยาลัยนานาชาติไอริช ได้มอบเหรียญเกียรติยศสูงสุดแด่สมเด็จฮุน เซน
  • 2547 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (รัฐศาสตร์) - มหาวิทยาลัยกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชา (University of Cambodia) เพื่อเป็นการตอบแทนที่เขาอุทิศตนเพื่อบรรลุผลสำเร็จในการปกป้องการก่อสร้างและพัฒนากัมพูชา การเป็นผู้นำที่ชาญฉลาดของฮุน เซน เพื่อปฏิรูปทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการศึกษาและรักษาความปรองดอง ความมั่นคง สันติภาพ และการรวมชาติในพื้นที่
  • 2549 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การศึกษาเพื่อการพัฒนา) - มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ราชอาณาจักรไทย ด้วยท่าทีเคารพและชื่นชมอย่างจริงใจต่อคุณูปการอันมั่งคั่งและสำคัญต่อโลกของสมเด็จฮุน เซน มีการศึกษาและการตัดสินใจที่ถูกต้องสำหรับประชาชนของฮุน เซน และการกระชับความสัมพันธ์กัมพูชา-ไทยอย่างกว้างขวาง เพื่อยกย่องบทบาทของสมเด็จในการพัฒนาประเทศด้วยการศึกษาและมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ
  • 2550 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การศึกษา) - มหาวิทยาลัยการศึกษาแห่งชาติกรุงฮานอยประเทศเวียดนาม เพื่อขอบคุณสำหรับการสนับสนุนของกัมพูชาในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมซึ่งมี ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าอย่างโดดเด่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

นอกจากภาษาเขมรแล้ว ฮุน เซนสามารถพูดภาษาเวียดนามได้อย่างดี สามารถพูดภาษาอังกฤษได้บางส่วนหลังเริ่มเรียนในปี 2533 แต่เมื่อให้สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการกับสื่อที่ใช้ภาษาอังกฤษ เขาจะสนทนาผ่านล่าม[30]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

ฮุน เซน ได้สมรสกับสมเด็จกิตติวุฒิบัณฑิต บุน รานี ทั้งคู่มีบุตรชาย 4 คน บุตรสาว 2 คน และบุตรสาวบุญธรรม 1 คน ได้แก่ฮุน กอมซอต(เสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิด), ฮุน มาเนต, ฮุน มานา, ฮุน มานิต, ฮุน มานี และฮุน มาลี ทั้งคู่รับบุตรสาวบุญธรรมคือฮุน มาลิส ใน พ.ศ. 2531 แต่ยกเลิกสถานะนี้ใน พ.ศ. 2550 เนื่องจากเธอเป็นเลสเบี้ยน[31][32] ใน พ.ศ. 2553 ฮุน มาเนตได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นพลตรีในกองทัพพระราชอาณาจักรกัมพูชา และกลายเป็นรองผู้บัญชาการกองบัญชาการองครักษ์ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลูกชายทั้งสามคนของฮุน เซนมีบทบาทสำคัญในรัฐบาลของเขา[33]

สถาปนาบรรดาศักดิ์

แก้
 
ฮุนเซน (คนที่สองหลังเฮง สัมริน) ขณะเดินทางไปรับบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ โดยพระราชทานบรรดาศักดิ์ขุนนางชั้นสมเด็จสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน"

ฮุน เซนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระ นโรดม สีหนุ เป็น สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เนื่องจากได้รับการยอมรับในความพยายามเพื่อความสมานฉันท์ในชาติ สันติภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ยังมีบุคคลที่สำคัญกัมพูชาได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์อีก 3 ท่าน คือ สมเด็จอัครมหาธรรมโพธิศาล เจีย ซีม ประธานพฤฒสภากัมพูชา (วุฒิสภา) สมเด็จอัครมหาพญาจักรี เฮง สัมริน ประธานรัฐสภากัมพูชา พร้อมกับดำรงตำแหน่งจอมพล (พลเอก 5 ดาว) แห่งกองทัพกัมพูชา[34][35] และสมเด็จกิตติวุฒิบัณฑิต (บุน รานี) ภริยาของสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้
 
สมเด็จฯฮุน เซน ขณะหารือกับฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
 
สมเด็จฯฮุน เซน กับฟูมิโอะ คิชิดะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์กัมพูชา

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาใน พ.ศ. 2528 ถึง 2532 นายกรัฐมนตรีรัฐกัมพูชาใน พ.ศ. 2532 ถึง 2536 และนายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชาใน พ.ศ. 2536 ถึง 2566
  2. เขมร: ហ៊ុន ប៊ុន​ណាល់, UNGEGN: Hŭn Bŭnnăl; เสียงอ่านภาษาเขมร: [hun ɓunnal]

อ้างอิง

แก้
  1. ppp_webadmin (31 December 2009). "ROYAL LETTER: Sihanouk praises five star leaders". Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 5 December 2018.
  2. Party, Cambodian People's (27 December 2009). "Welcome to Cambodian People's Party- CPP News and Information World Wide: His Majesty Promotes Cambodian Leaders to Five-Star General". สืบค้นเมื่อ 5 December 2018.
  3. "Welcome, Lord Prime Minister: Cambodian media told to use leader's full royal title". The Guardian. 12 May 2016. สืบค้นเมื่อ 26 September 2016.
  4. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์, มีนาคม 2551. หน้า 204
  5. "Cambodia's prime minister has wrecked a 25-year push for democracy". The Economist. 12 October 2017.
  6. "Prime Minister Hun Sen announces resignation". Khmer Times. 26 July 2023. สืบค้นเมื่อ 26 July 2023.
  7. "Hun Manet will become new Prime Minister on August 22nd". Khmer Times. 26 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2023. สืบค้นเมื่อ 26 July 2023.
  8. 8.0 8.1 Mehta, Harish C.; Mehta, Julie B. (2013). Strongman: The Extraordinary Life of Hun Sen: The Extraordinary Life of Hun Sen (ภาษาอังกฤษ). Marshall Cavendish International Asia Pte Ltd. pp. 62, 73. ISBN 978-981-4484-60-2.
  9. Forest (2008), p. 178 "Sino-khmer originaire du district de Krauch Chmar 140, Hun Sèn descend par ses grands-parents paternels d'une famille de propriétaires terriens qui paraît correspondre au stéréotype du Chinois - téochiew ? - implanté en zone rurale, c'est-à-dire aisée mais sans pouvoir administratif. Par sa mère, il descendrait inversement d'une tête de réseau....."
  10. Time, Volume 136 (1990), p. 329 Beijing has not softened its hostility toward Hun Sen, but there are subtle signs that China may yet shift its position. Some officials now mention that Hun Sen's grandfather was Chinese, seeming to hint at the possibility of a new....
  11. Harish C. Mehta (1999), p. 15-6
  12. Premier fed up with insensitive remarks about eye, by Vong Sokheng, in the Phnom Penh Post; published December 23, 2015; retrieved September 30, 2017
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :10
  14. Strangio, Sebastian (2014). Hun Sen's Cambodia. Yale University Press. ISBN 978-0-300-19072-4.
  15. Branigin, William (1993-06-11). "PHNOM PENH REJECTS RESULTS OF ELECTION". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  16. 16.0 16.1 "Cambodian Parliament launches era of one-party rule". The Straits Times. 5 September 2018. สืบค้นเมื่อ 7 July 2020.
  17. "Hun Sen Elected President of Ruling Cambodian People's Party". Radio Free Asia. 22 June 2015. สืบค้นเมื่อ 3 December 2016.
  18. Nachemson, Andrew. "EU Partially Withdraws Cambodia Trade Deal Amid Rights Concerns". thediplomat.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  19. Campbell, Charlie (2013-05-14). "In Cambodia, China Fuels Deadly Illegal Logging Trade". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0040-781X. สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.
  20. "Cambodia: Hun Sen re-elected in landslide victory after brutal crackdown". The Guardian. 29 July 2018. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
  21. Slocomb, Margaret (2006). "The Nature and Role of Ideology in the Modern Cambodian State". Journal of Southeast Asian Studies. 37 (3): 375–395. doi:10.1017/S0022463406000695. ISSN 0022-4634. JSTOR 20071782. S2CID 144936898.
  22. "40 Years After Khmer Rouge Rule, Cambodia Grapples With Legacy". Time. สืบค้นเมื่อ 2020-12-13.
  23. Thul, Prak Chan (2020-10-12). "China, Cambodia clinch free trade pact in under a year". Reuters (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-15. สืบค้นเมื่อ 2020-12-10.
  24. Welle (www.dw.com), Deutsche. "How Chinese money is changing Cambodia | DW | 22.08.2019". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-12-10.
  25. Peel, Michael; Kynge, James; Haddou, Leila (2016-09-08). "FT Investigation: How China bought its way into Cambodia". www.ft.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2022. สืบค้นเมื่อ 2020-12-10.
  26. "At U.N. Meeting, Hun Sen Blasts E.U. Trade Sanctions As "Biased and Unfair"". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  27. Reuters Staff (2017-10-11). "Cambodia's Hun Sen renews criticism of United States amid escalating row". Reuters (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-12-12.
  28. Hague, Associated Press in The (2013-11-11). "UN court awards Cambodia sovereignty in border dispute". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-12.
  29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :24
  30. Harish C. Mehta (1999), p. 15, 301
  31. Reuters Staff (2007-10-31). "Cambodia PM slammed for disowning lesbian daughter". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  32. "Cambodian PM cuts ties with gay daughter". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2007-10-30. สืบค้นเมื่อ 2020-12-09.
  33. "Not quite the usual walkover". The Economist. 13 July 2013.
  34. https://www.phnompenhpost.com/national/royal-letter-sihanouk-praises-five-star-leaders
  35. http://cppdailynews.blogspot.com/2009/12/his-majesty-promotes-cambodian-leaders.html
  36. ราชกิจจานุเบกษา ,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ, เล่ม 118 ตอนที่ 21 ข หน้า 4, 30 พฤจิกายน 2544
  37. Орден "Хосе Maрти" - Forum FALERISTIKA.info
  38. David Fay. "National Gold Medal" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
  39. "Agong attends Sultan of Brunei's Golden Jubilee royal banquet". New Straits Times. 6 October 2017. สืบค้นเมื่อ 29 September 2022.
  40. Указ Президента Российской Федерации от 25 июля 2021 года № 434 «О награждении государственными наградами Российской Федерации»
  41. Указ Президента Украины от 30 декабря 2022 года № 902/2022 «О награждении государственными наградами Украины»
ก่อนหน้า ฮุน เซน ถัดไป
จัน ซี   นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
(1985 – 1989)
  ยกเลิกตำแหน่ง
สถาปนาตำแหน่ง   นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐกัมพูชา
(1989 - 1993)
  ฮุนเซน ร่วมกับ เจ้านโรดม รณฤทธิ์
ฮุนเซน   นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐกัมพูชา
(ร่วมกับ เจ้านโรดม รณฤทธิ์)

(1993)
  เจ้านโรดม รณฤทธิ์
อึง ฮวด   นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
(1998 - 2023)
  ฮุน มาแณต