เศรษฐกิจกัมพูชา

เศรษฐกิจในกัมพูชามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา แต่การเติบโตก็ยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญภายในประเทศคือการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมมีความหลากหลายแต่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ภาคบริการส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการค้าและความบันเทิง มีรายงานว่าพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตามแนวชายฝั่ง

เศรษฐกิจกัมพูชา
สกุลเงินเรียลกัมพูชา (KHR, ៛)
ปีงบประมาณCalendar year
ภาคีการค้าWTO, ASEAN, AFTA, G77, SCO
สถิติ
จีดีพี
  • เพิ่มขึ้น $26.730 billion (nominal, 2019 est.)[1]
  • เพิ่มขึ้น $76.934 billion (PPP, 2019 est.)[1]
จีดีพีเติบโต
  • 7.5% (2018) 7.1% (2019e)
  • 2.5% (2020B) 1.0% (2020LC)
  • 5.9% (2021B) 3.9% (2021LC)[2][note 1]
จีดีพีต่อหัว
  • เพิ่มขึ้น $1,621 (nominal, 2019 est.)[1]
  • เพิ่มขึ้น $4,664 (PPP, 2019 est.)[1]
ภาคจีดีพี
เงินเฟ้อ (CPI)2.5% (2020 est.)[1]
ประชากรยากจน
จีนี36.0 medium (2013)[6]
แรงงาน
  • เพิ่มขึ้น 9,230,114 (2019)[7]
  • เพิ่มขึ้น 81.1% employment rate (2016)[8]
ภาคแรงงาน
ว่างงาน
  • Negative increase 0.3% (2017 est.)[3]
  • high underemployment, according to official statistics
อุตสาหกรรมหลักtourism, garments, construction, rice milling, fishing, wood and wood products, rubber, cement, gem mining, textiles
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจลดลง 144th (medium, 2020)[9]
การค้า
มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น $11.42 billion (2017 est.)[3]
สินค้าส่งออกclothing, timber, rubber, rice, fish, tobacco, footwear
ประเทศส่งออกหลัก
มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น $14.37 billion (2017 est.)[3]
สินค้านำเข้าpetroleum products, cigarettes, gold, construction materials, machinery, motor vehicles, pharmaceutical products
ประเทศนำเข้าหลัก
FDI
  • $29.17 billion (2014 est.)[3]
  • Abroad: N/A
หนี้ต่างประเทศNegative increase $11.87 billion (31 December 2017 est.)[3]
การคลังรัฐบาล
หนี้สาธารณะNegative increase 30.4% of GDP (2017 est.)[3]
รายรับ3.947 billion (2017 est.)[3]
รายจ่าย4.354 billion (2017 est.)[3]
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ$934 million pledged in grants and concessional loans for 2011 by international donors
อันดับความเชื่อมั่น
ทุนสำรองเพิ่มขึ้น $12.2 billion (31 December 2017 est.)[3]
แหล่งข้อมูลหลัก: CIA World Fact Book
หน่วยทั้งหมด หากไม่ระบุ ถือว่าเป็นดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วง พ.ศ. 2538 รัฐบาลพยายามใช้นโยบายที่มีความมั่นคงกับหุ้นส่วน ทำให้เศรษฐกิจมหภาคมีประสิทธิภาพดี การเติบโตใน พ.ศ. 2538 คาดว่าเป็น 7% เพราะมีการปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าว การเติบโตทางด้านการปลูกข้าวและการบริการยังคงต่อเนื่อง การนำเข้าเพิ่มขึ้นเพราะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนภายนอกได้ การส่งออกเพิ่มขึ้น

หลังจากที่เศรษฐกิจมหภาคมีความเข้มแข็งประมาณ 4 ปี เศรษฐกิจของกัมพูชามีการเติบโตอย่างช้าๆในช่วง พ.ศ. 2540 – 2541 เพราะวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาค การต่อสู้ทางการเมืองภายในประเทศ การลงทุนของต่างชาติและการท่องเที่ยวลดลง และเกิดภัยแล้งใน พ.ศ. 2541 ใน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีที่มีสันติภาพอย่างสมบูรณ์ครั้งแรกในรอบ 30 ปี ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจและการบริโภคเพิ่มขึ้น 4% ผลจากการทำสงครามยาวนานในประเทศ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ขาดการศึกษา ทักษะในการทำงานรวมทั้งขาดโครงสร้างพื้นฐาน ความไม่มั่นคงทางการเมืองและการฉ้อราษฎร์บังหลวงภายในรัฐบาลทำให้การลงทุนลดลง และลดความช่วยเหลือจากต่างชาติลงด้วย

ความช่วยเหลือจากต่างชาติ แก้

การเกิดขึ้นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในกัมพูชาได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากต่างชาติ การจัดการเลือกตั้งโดยอันแทคใช้งบประมาณ 1.72 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้น ยังมีเงินช่วยเหลือจากการประชุมของ คณะกรรมการนานาชาติในการฟื้นฟูกัมพูชา ที่ปารีสใน พ.ศ. 2536 และการประชุมรัฐมนตรีเกี่ยวกับการฟื้นฟูกัมพูชาใน พ.ศ. 2535 รวมแล้วเงินที่ใช้ในการฟื้นฟูกัมพูชาหลังสงครามคิดเป็น 12.3ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

การพัฒนาในปัจจุบัน แก้

GDP ใน พ.ศ. 2550 เติบโตประมาณ 18.6% การส่งออกเพิ่ม 8% และนักท่องเที่ยวเข้ามา 35% GDP ใน พ.ศ. 2550 นี้ถูกขับเคลื่อนด้วยการลงทุนและการบริโภค แต่ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้น การเติบโตทางด้านการบริการและการก่อสร้างเริ่มช้าลง การส่งออกไปสหรัฐลดลงตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เพราะต้องแข่งขันกับเวียดนาม และเกิดความเสี่ยงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐและการส่งออกของจีน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
  2. "World Bank East Asia and Pacific Economic Update, April 2020 : East Asia and Pacific in the Time of COVID-19" (PDF). openknowledge.worldbank.org. World Bank. p. 20. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 "The World Factbook". CIA.gov. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 10 February 2019.
  4. "Poverty headcount ratio at national poverty lines (% of population)". databank.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 11 February 2019.
  5. "Poverty headcount ratio at $3.20 a day (2011 PPP) (% of population) - Cambodia". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  6. "Income Gini coefficient". hdr.undp.org. World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-16. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  7. "Labor force, total - Cambodia". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 18 November 2019.
  8. "Employment to population ratio, 15+, total (%) (national estimate) - Cambodia". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 18 November 2019.
  9. "Ease of Doing Business in Cambodia". Doingbusiness.org. สืบค้นเมื่อ 2017-01-23.
  10. "Sovereigns rating list". Standard & Poor's. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน