การประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557

การประท้วงต่อต้านรัฐบาล (เขมร: បាតុកម្មប្រឆាំងរាជរដ្ឋាភិបាល) ได้เริ่มต้นขึ้นที่กัมพูชาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยผู้ประท้วงได้รวมตัวกันที่พนมเปญเพื่อขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฮุน เซนซึ่งผู้ชุมนุมเห็นว่ารัฐบาลได้โกงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556[5] รวมถึงความต้องการให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 160 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (5,280 บาท) ต่อเดือน[6] และความไม่พอใจที่ประเทศเวียดนามมีอิทธิพลต่อกัมพูชา[7] ซึ่งพรรคฝ่ายค้านหลักปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในรัฐสภาหลังการเลือกตั้ง[8] และการเดินขบวนครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นตลอดเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556[9] การปราบปรามของรัฐบาลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายและมีการกวาดล้างค่ายหลักของผู้ชุมนุม[10]

การประท้วงในกัมพูชา พ.ศ. 2556–2557
ผู้ประท้วงและผู้สนับสนุนฝ่ายค้านกัมพูชาเดินประท้วง
วันที่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[1]
(11 เดือน 3 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่ ประเทศกัมพูชา
สาเหตุ
เป้าหมาย
วิธีการ
คู่ขัดแย้ง
ผู้นำ
จำนวน
ประมาณ 100,000-500,000 คน[2]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 4 คน[3]
บาดเจ็บ 27 คน[3]
บาดเจ็บ 8 คน[4]

เหตุการณ์ได้จบลงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เมื่อสม รังสี และฮุน เซน ได้บรรลุข้อตกลงที่จะให้หาคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่แทนที่ชุดเก่าโดยมาจากผู้แทนจากพรรคหลัก 2 พรรค พรรคละ 4 คน และผู้แทนอิสระอีกหนึ่งคนที่สองพรรคเลือก ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่าการที่สม รังสี ยอมเจรจากับฮุน เซน นั้นอาจมาจากสมาชิกพรรคสงเคราะห์ชาติ 8 คนถูกทางการจับกุมไปก่อนหน้านั้น

เบื้องหลัง แก้

มีความผิดปกติจำนวนมาก (กับการเลือกตั้ง) ที่ได้สัมผัสแม้ก่อนวันลงคะแนน เรามีความคิดเห็นมาก่อนว่าการควบคุมของพรรคในการจัดการการเลือกตั้งมีแนวโน้มว่าจะได้รับชัยชนะก่อนวันเลือกตั้ง[11]

สม รังสี, หัวหน้าพรรคสงเคราห์ชาติ

ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 การเลือกตั้งทั่วไปถูกจัดขึ้นในกัมพูชา ซึ่งพรรคประชาชนกัมพูชาอ้างว่าได้รับชัยชนะโดยมีสมาชิกสมัชชาแห่งชาติกัมพูชาในสภา 68 คน[12] ทางด้านพรรคสงเคราะห์ชาติซึ่งเป็นพรรคฝ่านค้านหลักมีสมาชิกฯ ในสภา 55 คนได้ปฏิเสธผลการเลือกตั้งและไม่ร่วมประชุมสภาโดยอ้างว่ามีความผิดปกติในการลงคะแนน[13][14] ซึ่งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาแสดงความกังวลต่อเรื่องดังกล่าว[5] และองค์การสิทธิมนุษยชนสากลซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐเรียกร้องให้มี คณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบข้อกล่าวหาการทุจริตการเลือกตั้ง[15] พรรคฝ่ายค้านได้จัดการประท้วงใหญ่ในกรุงพนมเปญในช่วงเดือนธันวาคมรวมทั้งการชุมนุมโดยรถมอเตอร์ไซค์[16] รัฐบาลกล่าวว่าการชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมายและพวกเขาได้ 'ปลุกระดมการล้มรัฐบาล'[16]

การประท้วงและความรุนแรง แก้

วันที่ 3 มกราคมทหารจากกองราชอาวุธหัตถ์ได้ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมแรงงานบนถนนเวงสเร็ง ในเขตชานเมืองของกรุงพนมเปญซึ่งมีผู้เสียชีวิต 4 รายและบาดเจ็บมากกว่า 20 คน[17][18][19] กลุมผู้ชุมนุมได้ปิดกั้นถนนและโยนขวด ก้อนหินใส่ตำรวจเพื่อตอบโต้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ชุมนุมกลุ่มอื่นและคณะสงฆ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้[20][21] คนงานได้นัดรวมตัวกันหยุดงานจากการที่รัฐบาลปฏิเสธที่จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 160 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (5,280 บาท) ต่อเดือน[22][23]

นอกจากนี้ยังมีการใช้ความรุนแรงที่มีต่อชาวกัมพูชาเชื้อสายเวียดนามโดยกลุ่มผู้ประท้วง ซึ่งนำไปสู่การทำลายร้านกาแฟของชาวเวียดนาม[7]

ก่อนวันที่ปราบปราม นายกรัฐมนตรีฮุน เซนได้ไปเยือนประเทศเวียดนาม ซึ่งฝ่ายค้านได้กล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีของได้แสวงหาความช่วยเหลือทางทหารจากประเทศเวียดนาม กึม สุขา รองหัวหน้าพรรคสงเคราะห์ชาติ กล่าวว่าฮุน เซนอาจจะใช้เดินทางไปเวียดนามเพื่อแสวงหาการสนับสนุนในการยึดอำนาจ และยังกล่าวอีกว่าผู้นำประเทศควรนำปัญหาภายในประเทศปรึกษากับคนกัมพูชาแทนที่จะไปปรึกษากับผู้นำประเทศอื่น[24]

วันเสาร์ที่ 4 มกราคมเจ้าหน้าที่กัมพูชาเข้าค่ายประท้วงหลักและใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม แต่การประท้วงยังคงมีต่อไปต่อไปแม้จะถูกห้าม[21][10] ผู้นำฝ่ายค้านถูกศาลที่กรุงพนมเปญเรียกตัวไปชี้แจงในข้อกล่าวหายุยงให้คนงานก่อความไม่สงบ[25]

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 การห้ามการชุมนุมได้ถูกยกระดับขึ้น แต่นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ได้เตือนว่าการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลใด ๆของฝ่ายค้านในภายภาคหน้าอาจจะต้องเผชิญกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่สนับสนุนเขา[26]

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ผู้ชุมนุมได้ประท้วงที่หน้าสถานทูตเวียดนามในกรุงพนมเปญเพื่อประท้วงเวียดนามต่อการที่กัมพูชาเสียดินแดนเขมรกรมให้เวียดนามเมื่อในปี พ.ศ. 2492 และเรียกร้องให้เวียดนามออกมาขอโทษ สถานทูตออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมเรียกร้องให้กัมพูชาจะเคารพอธิปไตยของเวียดนามและความเป็นอิสระและปฏิเสธที่จะขอโทษ[27] การชุมนุมได้สลายตัวโดยหน่วยงานท้องถิ่นซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 10 ราย[28]

ปฏิกิริยาและการประณามจากนานาชาติ แก้

สหประชาชาติและกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประณามการใช้ความรุนแรง[29][30][31] เอ็ด รอยซ์ สมาชิกสภาคองเกรซเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีฮุน เซ็น ลงจากอำนาจโดยกล่าวว่า "มันเป็นเวลาที่ ฮุน เซ็น สมควรลงจากอำนาจหลังจากที่เขาครองอำนาจเกือบสามทศววษ"[32] นอกจากนี้ชาวกัมพูชาอเมริกันประมาณ 500 คนได้ชุมนุมหน้าทำเนียบขาวเพื่อเรียกร้องความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา พวกเขาได้เรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาปล่อยตัวนักโทษจากการสลายการชุมนุมของตำรวจเมื่อวันที่ 3 มกราคมจำนวน 23 คน[33] สูรยา สุเบดี ทูตด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้เดินทางไปยังกัมพูชาและเข้าพบนายกรัฐมนตรีฮุน เซน[34]

วันที่ 29 มกราคม ผู้นำฝ่ายค้านสม รังสีเดินทางไปที่เจนีวาซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิของรัฐบาลกัมพูชา[35]

สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย เยอรมนี โปแลนด์ ญี่ปุ่นและไทยได้แสดงความกังวลและความกังวลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา[36][37] องค์การสิทธิมนุษยชนสากลเรียกร้องให้สหประชาชาติกดดันรัฐบาลกัมพูชา[38]

คลังภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Political deadlock broken". The Phnom Penh Post. 22 July 2014. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
  2. Sokchea, Meas. "CNRP's Sunday 'tsunami'". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  3. 3.0 3.1 "Military vows to protect government, election results". The Cambodia Herald. 6 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2014. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  4. "Guards beaten senseless". The Phnom Penh Post. 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  5. 5.0 5.1 "Cambodia rejects call for poll fraud inquiry". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  6. "Four Killed as Riot Police Fire on Demonstrators". VOA Khmer. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  7. 7.0 7.1 Reaksmey, Hul (6 January 2014). "Vietnamese Shop Near Protest Site Looted by Demonstrators". The Cambodia Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  8. "Cambodia opposition boycott opening of parliament". BBC News. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  9. Dara, Mech (23 December 2013). "CNRP Holds Biggest Demonstration in Decades". The Cambodia Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-06. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  10. 10.0 10.1 "Cambodia Authorities Raid Protest Camp, Ban Further Demonstrations". VOA Khmer. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  11. Marks, Simon. "Ruling party reels after Cambodia vote". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  12. "Cambodia opposition claims massive poll fraud". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  13. Fuller, Thomas (29 July 2013). "Cambodian Opposition Rejects Election Results". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  14. Thul, Prak Chan. "Cambodian opposition boycotts parliament, Hun Sen remains PM". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  15. "Cambodia: Ruling Party Orchestrated Vote Fraud". Human Rights Watch. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  16. 16.0 16.1 "Cambodian Opposition Party Defies Authorities With More Protests". Radio Free Asia. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  17. "Workers, Police Clash, Leaving 3 Dead in Cambodia". VOA Khmer.
  18. Sokha, Cheang. "Crackdown turns deadly". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  19. Soenthrith, Saing (6 January 2014). "Five Killed During Protest Confirmed as Garment Workers". The Cambodia Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-12. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  20. "Cambodia garment workers killed in clashes with police". BBC News. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  21. 21.0 21.1 Quinlan, Daniel (4 January 2014). "Democracy unraveling". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  22. Kunthear, Mom. "Exodus follows violent clash". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  23. เขมรนองเลือด!ตร.แจกลูกปืน[ลิงก์เสีย], ไทยโพสต์, 7-1-2014
  24. "Cambodian PM to Visit Vietnam Amid Political Tensions at Home". Radio Free Asia. 23 December 2013. สืบค้นเมื่อ 19 February 2014.
  25. White, Stuart (6 January 2014). "Leadership of CNRP digging in". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  26. "Cambodia lifts ban on demonstrations". Channel NewsAsia. 26 February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 27 February 2014.
  27. "វៀតណាមបដិសេធមិនសុំទោសរឿងបំភ្លៃប្រវត្តិសាស្ត្រខ្មែរកម្ពុជាក្រោម" (ภาษาเขมร). Radio Free Asia. 9 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
  28. Reaksmey, Heng (9 July 2014). "បាតុកម្មសុំឱ្យស្ថានទូតវៀតណាមសុំទោស រងការបង្ក្រាប" (ภาษาเขมร). Voice of America. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
  29. Meyn, Colin (6 January 2014). "Government Blasted for Eviction of Freedom Park". The Cambodia Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-11. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  30. "US State Department condemn violence on protestors in Cambodia (in Khmer)". VOA Khmer.
  31. "Cambodia: UN expert urges restraint as police fire on striking garment workers". UN News Centre. สืบค้นเมื่อ 6 January 2014.
  32. Sok Khemara (7 January 2014). "US House Foreign Affairs Chair Calls for Hun Sen To Step Down". VOA News. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
  33. Men Kimseng (21 January 2014). "Cambodian-Americans Protest Outside White House". VOA News. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
  34. "UN Rights Envoy to Visit Cambodia in Wake of Deadly Crackdown". Radio Free Asia. 2014-01-08. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
  35. Sok Khemara (29 January 2014). "Cambodia at UN to Defend Rights Record". VOA News. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
  36. Kong Sothanarith (30 January 2014). "International Community Wants Cambodia to Improve Rights Record". VOA Khmer.
  37. "International Community Criticize Human Rights in Cambodia". VOA Khmer. 29 January 2014.
  38. Kong Sothanarith (28 January 2014). "Human Rights Watch Condemns Weekend Cambodia Violence". VOA Khmer.