อำเภอคลองใหญ่

อำเภอในจังหวัดตราด ประเทศไทย

คลองใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด เป็นอำเภอที่มีบริเวณที่มีแผ่นดินแคบที่สุดในประเทศไทย มีช่วงแผ่นดินเพียง 0.45 กิโลเมตร หรือ 450 เมตร และยังเป็นอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดในภาคตะวันออก (ไม่นับรวมอำเภอเมือง) กับเป็นอันดับ 4 จาก 63 อำเภอในภาคตะวันออก รองจากอำเภอเมืองชลบุรี อำเภอเมืองระยอง และอำเภอเมืองจันทบุรี

อำเภอคลองใหญ่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khlong Yai
คำขวัญ: 
ถิ่นประมง คงธรรมชาติ หาดทรายงามตา
การค้าชายแดน สุดแคว้นบูรพา
แผนที่จังหวัดตราด เน้นอำเภอคลองใหญ่
แผนที่จังหวัดตราด เน้นอำเภอคลองใหญ่
พิกัด: 11°46′36″N 102°53′12″E / 11.77667°N 102.88667°E / 11.77667; 102.88667
ประเทศ ไทย
จังหวัดตราด
พื้นที่
 • ทั้งหมด50.2 ตร.กม. (19.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด24,903 คน
 • ความหนาแน่น496.08 คน/ตร.กม. (1,284.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 23110
รหัสภูมิศาสตร์2302
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอคลองใหญ่ ถนนบำรุงสุข ตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 23110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

อำเภอคลองใหญ่เดิมอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดปัจจันตคีรีเขตร์ (ปัจจุบันคือจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเพื่อแบ่งเขตแดนคลองใหญ่จึงแยกออกจากปัจจันตคีรีเขตร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอคลองใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2455 และยกฐานะเป็น อำเภอคลองใหญ่[1] เมื่อ พ.ศ. 2502 อยู่ทางตะวันออกของจังหวัดตราด โดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอคลองใหญ่ยาวไปถึงหาดเล็กนั้นเป็นคนไทย และพูดไทยทั้งสิ้น โดยพบว่ายังมีคนไทยที่ยังพูดไทยได้ในชีวิตประจำวันหลงเหลืออยู่ในจังหวัดเกาะกงที่อยู่ถัดจากอำเภอคลองใหญ่นี้ ถึง 25% ที่ยังใช้ภาษาไทยอยู่ นับเป็นความทับซ้อนทางด้านภูมิศาสตร์ที่สามารถพบได้ทั่วไปตามพรมแดนระหว่างประเทศไทยและเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน

  • วันที่ - 2455 แยกพื้นที่ตำบลแหลมกลัด และตำบลคลองใหญ่ อำเภอบางพระ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอคลองใหญ่ และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบางพระ (อำเภอเมืองตราด)
  • วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 โอนพื้นที่ตำบลแหลมกลัด กิ่งอำเภอคลองใหญ่ ไปขึ้นกับอำเภอบางพระ (อำเภอเมืองตราด)[2]
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 โอนพื้นที่หมู่ 7 เกาะกูด เกาะไม้ซี้ (ในขณะนั้น) ของตำบลเกาะช้าง อำเภอแหลมงอบ มาตั้งเป็นหมู่ 8 ของตำบลคลองใหญ่ กิ่งอำเภอคลองใหญ่ อำเภอเมืองตราด[3]
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน 2491 โอนพื้นที่หมู่ 8 เกาะกูด (ในขณะนั้น) ของตำบลคลองใหญ่ กิ่งอำเภอคลองใหญ่ อำเภอเมืองตราด ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลเกาะช้าง อำเภอแหลมงอบ[4]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองใหญ่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองใหญ่[5]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน 2501 แบ่งการปกครองหมู่ที่ 1,2,3 (ในขณะนั้น) ของตำบลคลองใหญ่ ตั้งขึ้นเป็นตำบลไม้รูด และแบ่งการปกครองหมู่ที่ 6,7,8 (ในขณะนั้น) ของตำบลคลองใหญ่ ตั้งขึ้นเป็นตำบลหาดเล็ก[6]
  • วันที่ 10 มกราคม 2502 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอคลองใหญ่ อำเภอเมืองตราด เป็น อำเภอคลองใหญ่[1]
  • วันที่ 29 ตุลาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลหาดเล็ก ในท้องที่บางส่วนของหมู่ 1,2,5 ตำบลหาดเล็ก[7]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคลองใหญ่ และสุขาภิบาลหาดเล็ก เป็นเทศบาลตำบลคลองใหญ่ และเทศบาลตำบลหาดเล็ก ตามลำดับ[8] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลหาดเล็ก รวมกับเทศบาลตำบลหาดเล็ก[9]

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอคลองใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สุดของจังหวัด ห่างจากอำเภอเมืองตราด 74 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอคลองใหญ่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 20 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[10]
1. คลองใหญ่ Khlong Yai 9
14,358
2. ไม้รูด Mai Rut 6
5,255
3. หาดเล็ก Hat Lek 5
5,537

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอคลองใหญ่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลคลองใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองใหญ่
  • เทศบาลตำบลหาดเล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดเล็กทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองใหญ่ (นอกเขตเทศบาลตำบลคลองใหญ่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไม้รูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไม้รูดทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชุมพวง อำเภอเชียงยืน อำเภอแก้งคร้อ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอคอนสาร อำเภอเซกา อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่าน อำเภอขนอม อำเภอบ้านแพรก อำเภอกระทู้ และอำเภอคลองใหญ่ พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (113 ก): (ฉบับพิเศษ) 8-11. January 10, 1959. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ ในจังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2282. November 29, 1936.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ศรีสะเกษ ตราด สิงห์บุรี อ่างทอง เพชรบุรี และระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (9 ง): 254–257. February 18, 1947.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (65 ง): 3866. November 30, 1948.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคลองใหญ่ กิ่งอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 36-37. September 17, 1955.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงคำ และอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย กิ่งอำเภอคลองใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง กับอำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภออาจสามารถ อำเภอเสลภูมิ อำเภอโพนทอง และอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (98 ง): 2964–2977. November 25, 1958.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 5-6. October 29, 1993.
  8. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). July 6, 2004: 1–3. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.