สถานีช้างเอราวัณ
สถานีช้างเอราวัณ (อังกฤษ: Chang Erawan station; รหัส: E17) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิทส่วนต่อขยายแบริ่ง–สมุทรปราการ ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิทในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ[1] ตัวสถานีอยู่บริเวณสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 ใกล้กับพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ อันเป็นช่วงปลายของจุดสูงสุดของโครงการที่ความสูง 28 เมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561[2][3]
ช้างเอราวัณ E17 Chang Erawan | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนสุขุมวิท อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | E17 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | ||||||||||
ชื่อเดิม | พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 820,701 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
ที่ตั้ง
แก้ถนนสุขุมวิท บริเวณซอยสุขุมวิท ซอย 7 (อุดมเดช) ด้านทิศใต้ของสามแยกจุดบรรจบถนนทางรถไฟสายเก่าและทางแยกต่างระดับสุขุมวิท ถนนกาญจนาภิเษก ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
เดิมทีสถานีแห่งนี้ใช้ชื่อในแผนงานและในระหว่างการก่อสร้างว่า สถานีพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตามชื่อของพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณอันเป็นสัญลักษณ์เด่นของพื้นที่ตั้งสถานี ก่อนที่ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา จะมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินการแก้ไขชื่อสถานีในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้างเป็น สถานีเอราวัณ เพื่อให้ชื่อสถานีมีความเหมาะสม ซึ่งต่อมาบีทีเอสซีและกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการแก้ไขชื่อสถานีอีกครั้งเป็น สถานีช้างเอราวัณ ในปัจจุบัน
แผนผังของสถานี
แก้U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (โรงเรียนนายเรือ) | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (ปู่เจ้า) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก , ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ |
รูปแบบของสถานี
แก้เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน ชั้นชานชาลากว้าง 17.75 เมตร ยาว 150 เมตร ชั้นจำหน่ายตั๋วกว้าง 19.55 เมตร ยาว 120 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง
ทางเข้า-ออก
แก้- 1 ซอยสุขุมวิท ซอย 7 (อุดมเดช), พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ, สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสมุทรปราการ จำกัด
- 2 สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสมุทรปราการ, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
- 3 ซอยสุขุมวิท ซอย 13 (โรงนมตรามะลิ), โรงงานนมตรามะลิ, โรงเรียนพร้านีลวัชระ (บันไดเลื่อน)
- 4 เดอะ ทรัสต์ คอนโด แอท บีทีเอส เอราวัณ, อู่สากลการาจ, เจริญ มอเตอร์แอร์ (บันไดเลื่อน)
- 5 ซอยสุขุมวิท ซอย 11 (ลิฟต์)
- 6 ซอยสุขุมวิท ซอย 2 (ลิฟต์)
จุดรวมพล อยู่ที่ ทางออก 2 บริเวณห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.บี. เรดิเอเตอร์ เซอร์วิส และ ทางออก 4 บริเวณเดอะ ทรัสต์ คอนโด แอท บีทีเอส เอราวัณ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิ่งอำนวยความสะดวก
แก้- ลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
เวลาให้บริการ
แก้ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[4] | |||
ชานชาลาที่ 1 | |||
E23 | เคหะฯ | 05.19 | 00.35 |
ชานชาลาที่ 2 | |||
N24 | คูคต | 05.27 | 23.27 |
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | – | 23.42 |
E15 | สำโรง | – | 00.12 |
สัญลักษณ์ของสถานี
แก้เดิมกำหนดให้ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปช้างสามเศียร สื่อถึงสถานที่สำคัญใกล้บริเวณสถานี คือพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ[5][6] แต่ปัจจุบันเน้นใช้สีเขียวอ่อน ตกแต่งรั้วและเสา บริเวณสถานี ชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายบอกทางและทางเข้าออกสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีด้านตะวันออก
รถโดยสารประจำทาง
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
สีแดง : เขตการเดินรถที่ 3
สีแดง : เขตการเดินรถที่ 5
รถเอกชน
สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)
ถนนสุขุมวิท
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
20 (เสริม) (1) | ท่านํ้าพระสมุทรเจดีย์ | ตลาดปากน้ำ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ขสมก. | 1.รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางครุ ลงทางด่วนด่านปากน้ำ)
2.รถบรรเทาเรือข้ามฟากปากน้ำ ให้บริการชั่วคราว |
25 (3) | ปากน้ำ (อู่บ่อดิน) | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
รถทางล่าง ใช้ป้ายหน้ารถสีนํ้าเงิน 2.มีรถบริการตลอดคืน ให้บริการวันสุดท้าย 24 กรกฎาคม 2567 | |
โรงเรียนปทุมคงคาสมุทรปราการ | ช้างสามเศียร | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | เส้นทางเสริม ใช้ป้ายหน้ารถสีขาว
ส่วนใหญ่หมดระยะตลาดปากนํ้า ให้บริการวันสุดท้าย 24 กรกฎาคม 2567 | ||
102 (3-12E) (2) | ปากน้ำ (อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ) | อู่สาธุประดิษฐ์ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านท่าเรือ) | |
142 (3-17E) (2) | อู่แสมดำ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | |||
508 (1) | ตลาดปากน้ำ | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | รถทางล่าง ใช้ป้ายหน้ารถสีนํ้าเงิน
รถบริการทางด่วน ใช้ป้ายหน้ารถสีเหลือง 1.มีรถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านประตูน้ำ) มีให้บริการตั้งแต่ 05.00 น. - 18.00 น. | |
511 (3-22E) (2) | ปากน้ำ (อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บรมราชชนนี) | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | รถทางล่าง ใช้ป้ายหน้ารถสีนํ้าเงิน
รถบริการทางด่วน ใช้ป้ายหน้ารถสีเหลือง 1.มีรถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขุมวิท 62 ลงทางด่วนด่านประตูน้ำ) มีให้บริการตั้งแต่ 04.00 น. - 21.00 น. | |
536 (3-24E) (2) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | ||||
3-7E (25E) (3) | ปากน้ำ (อู่บ่อดิน) | สนามหลวง (ทางด่วน) | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
รถบริการทางด่วน ใช้ป้ายหน้ารถ สีเหลือง
1.รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านสะพานสว่าง มีให้บริการตั้งแต่ 06.00 น. - 18.00 น. |
รถเอกชน
แก้สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
2 (3-1) | ปากน้ำ | สะพานพระพุทธยอดฟ้า | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | บจก.ไทยสมายล์บัส | มีรถให้บริการตลอดคืน |
25 (3-6) | โรงเรียนปทุมคงคาสมุทรปราการ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) | บจก.สาย 25 ร่วมใจ (เครือไทยสมายล์บัส) |
ส่วนใหญ่หมดระยะแยกบางนา | |
507 (3-13) | อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) | บจก.สมาร์ทบัส (เครือไทยสมายล์บัส) |
||
513 (3-23E) | ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ | บจก.ไทยสมายล์บัส | |||
552 (3-25E) | ปากน้ำ | นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง | |||
3-32 | อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) | สวนสยาม |
รถหมวด 3
แก้สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
365 | ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ | บางปะกง | รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว | บจก.สันติมิตรขนส่ง | |
365 (เสริม) | สําโรง | ตลาดบางโฉลง | รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว | บจก.สันติมิตรขนส่ง | |
1141 | ปากน้ำ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 (วิทยาเขตบางนา) | รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว | บจก.เทียนทอง ขนส่ง |
- ถนนสุขุมวิท รถขสมก. สาย 25 102 142 508 511 536 รถเอกชน สาย 365 1141
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
แก้- พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน
- วัดบางด้วนใน
- วัดไตรสามัคคี และโรงเรียนวัดไตรสามัคคี
- สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสมุทรปราการ
- สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
- โรงเรียนพร้านีลวัชระ
อ้างอิง
แก้- ↑ "Green Line route opens Dec 6". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
- ↑ "BTS Green Line's nine new stations to Samut Prakan now open to public". bk.asia-city.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-12-07. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
- ↑ "BTS skytrain extension to open Thursday, free rides through new stations for 4 months | Coconuts". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-20. สืบค้นเมื่อ 2023-07-26.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
- ↑ เอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชน ครั้งที่ 2 งานออกแบบรายละเอียดโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 ณ โรงแรมแกรนด์ อินคำ จ.สมุทรปราการ
- ↑ สัญลักษณ์ประจำสถานี ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ , สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562