ท่าเรือแหลมฉบัง

ท่าเรือน้ำลึกในจังหวัดชลบุรี
(เปลี่ยนทางจาก ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง)

ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นท่าเรือน้ำลึกหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา และ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี อยู่ภายใต้การดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทยในเรื่องการบริหารท่าเรือโดยรวม และมีเอกชนรับผิดชอบในเรื่องปฏิบัติการ เปิดดำเนินการท่าเทียบเรือ B1 เป็นท่าแรกเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2534 โดยท่าเรือแหลมฉบังได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากรัฐบาลในการเป็นท่าเรือหลักของประเทศแทนท่าเรือกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539[2] ในปี พ.ศ. 2551 มีปริมาณขนถ่ายสินค้าทั้งสิ้น 4,629,244.70 เมตริกตัน[3] มีปริมาณเรือเทียบท่ากว่า 8,118 ลำ

ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
Laem Chabang Port
ที่ตั้ง
ประเทศประเทศไทย
ที่ตั้งเทศบาลนครแหลมฉบัง
จังหวัดชลบุรี
รายละเอียด
เจ้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ชนิดอ่าวธรรมชาติ / ประดิษฐ์
ขนาดอ่าว21.06 กม.2 (8.1 ตารางไมล์)
พื้นที่ของที่ดิน10.4 กม.2 (4 ตารางไมล์)
สถิติ
คาร์โกต่อปี (ตัน)80 ล้าน ตัน (FY2017)[1]
ปริมาตรคอนเทนเนอร์ต่อปี7.7 ล้าน TEUs (FY2017)
เว็บไซต์
laemchabangport.com

บริเวณโดยรอบท่าเรือแหลมฉบังได้รับการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจแหลมฉบัง ซึ่งมีการพัฒนาที่พักอาศัย สาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่ง นิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนศูนย์ราชการ เพื่อการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคต

ท่าเรือแหลมฉบังยังเป็นท่าเรือที่นำนักท่องเที่ยวไทยเดินทางโดยเรือสำราญไปต่างประเทศ เส้นทางเดินเรือสำราญ อาทิ ท่าเรือแหลมฉบังไปประเทศกัมพูชา แวะเกาะฟู้โกว๊ก เข้าเกาะสมุย สิ้นสุดที่ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือแหลมฉบังแวะเกาะสมุยสิ้นสุดที่ประเทศสิงคโปร์ ท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังท่าเรือฟูมาย เมืองนครโฮจิมินห์ ไปยังเมืองดานัง เมืองเซินเจิ้น และสิ้นสุดที่ฮ่องกง

ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศรับจากประเทศสิงคโปร์เพียงประเทศเดียว โดยมีเส้นทางเรือสำราญ ประเทศสิงคโปร์แวะเกาะเรดัง (มาเลเซีย) และเกาะสมุย สิ้นสุดที่ท่าเรือแหลมฉบัง

ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือเดียวที่บริการนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยไปประเทศสิงคโปร์และมีเส้นทางเดินเรือจากสิงคโปร์มาประเทศไทย

ลำดับเหตุการณ์ แก้

  • พ.ศ. 2504 รัฐบาลว่าจ้างบริษัทศึกษาความเป็นไปได้โครงการโดยสรุปพื้นที่บริเวณแหลมฉบังเหมาะสมต่อการพัฒนาท่าเรือแห่งใหม่
  • พ.ศ. 2509–2512 มีการก่อสร้างท่าเรือสัตหีบเพื่อประโยชน์ทางการทหารของสหรัฐ
  • พ.ศ. 2515 ท่าเรือสัตหีบโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2516 ครมเห็นชอบในหลักการสร้างท่าเรือพาณิชย์ที่แหลมฉบัง แต่เนื่องจากเศรษฐกิจผันผวนจึงมีมติให้ใช้ท่าเรือสัตหีบเพื่อบรรเทาความคับคั่งของท่าเรือกรุงเทพไปก่อน
  • พ.ศ. 2521 รัฐบาลได้ตรา พ.ร.บ. เวนคืนที่ดินประมาณ 6,340 ไร่ เพื่อใช้ก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ที่แหลมฉบัง
  • พ.ศ. 2526 ครม. มีมติให้กระทรวงคมนาคมเจรจาขอรับเงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อใช้สำรวจออกแบบควบคุมและก่อสร้างโครงการและให้กระทรวงการคลังหาแหล่งเงินสมทบ
  • พ.ศ. 2527–2529 การท่าเรือแห่งประเทศไทยว่าจ้างกลุ่มบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม
  • พ.ศ. 2530–2534 การท่าเรือแห่งประเทศไทยลงนามสัญญาก่อสร้าง วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2530 กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 48 เดือนและเริ่มก่อสร้างในเดือนธันวาคม 2530
  • พ.ศ. 2534 ท่าเรือแหลมฉบังก่อสร้างโครงการขั้นที่ 1 แล้วเสร็จและจะเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือท่าแรกคือท่า B1 เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2534

ข้อมูลท่าเทียบเรือ แก้

ท่าเทียบเรือ A แก้

  • ท่าเทียบเรือ A0 ดำเนินงานโดย บริษัท แอล ซี เอ็ม ที จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือเอนกประสงค์
  • ท่าเทียบเรือ A1 ดำเนินงานโดย บริษัท เอ็น วาย เค ออโต้ โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือโดยสารและท่าเทียบเรือรถยนต์
  • ท่าเทียบเรือ A2 ดำเนินงานโดย บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือเอนกประสงค์
  • ท่าเทียบเรือ A3 ดำเนินงานโดย บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรืออเนกประสงค์
  • ท่าเทียบเรือ A4 ดำเนินงานโดย บริษัท อ่าวไทยคลังสินค้า จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป ประเภทเทกอง
  • ท่าเทียบเรือ A5 ดำเนินงานโดย บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือ Ro/Ro

ท่าเทียบเรือ B แก้

  • ท่าเทียบเรือ B1 ดำเนินงานโดย บริษัท แอลซีบี คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล 1 จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า
  • ท่าเทียบเรือ B2 ดำเนินงานโดย บริษัท เอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า
  • ท่าเทียบเรือ B3 ดำเนินงานโดย บริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า
  • ท่าเทียบเรือ B4 ดำเนินงานโดย บริษัท ที ไอ พี เอส จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า
  • ท่าเทียบเรือ B5 ดำเนินงานโดย บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า

ท่าเทียบเรือ C แก้

  • ท่าเทียบเรือ C0 ดำเนินงานโดย บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล โร-โร เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือ Ro/Ro, เรือสินค้าทั่วไปและเรือสินค้าทั่วไปที่มีตู้สินค้าบรรทุกมาเที่ยวละไม่เกิน 50 TEU
  • ท่าเทียบเรือ C1 ดำเนินงานโดย บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า
  • ท่าเทียบเรือ C2 ดำเนินงานโดย บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า
  • ท่าเทียบเรือ C3 ดำเนินงานโดย บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า

ท่าเทียบเรือ D แก้

  • ท่าเทียบเรือ D1 ดำเนินงานโดย บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า
  • ท่าเทียบเรือ D2 ดำเนินงานโดย บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า
  • ท่าเทียบเรือ D3 ดำเนินงานโดย บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด - เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้า

ผู้ประกอบการอื่น แก้

  • คลังสินค้าอันตราย ดำเงินงานโดย บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (JWD InfoLogistics Public Company Limited)
  • อู่ต่อและซ่อมเรือ ดำเนินงานโดย บริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ด แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด

สถานีรถไฟ แก้

สถานีรถไฟท่าเรือแหลมฉบัง เป็นสถานีรถไฟชั้นพิเศษ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เส้นทางแยกออกมาจากสถานีรถไฟชุมทางศรีราชา มีระยะทางห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ 140.85 กิโลเมตร

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PAT-FY2017
  2. ข้อมูลทั่วไปท่าเรือแหลมฉบัง เก็บถาวร 2010-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ท่าเรือแหลมฉบัง (สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2553)
  3. สถิติผลการดำเนินงาน ท่าเรือแหลมฉบัง ปีงบประมาณ : 2548 - 2552 เก็บถาวร 2010-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ท่าเรือแหลมฉบัง (สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2553)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้