ท่าเรือ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพาณิชย์ทางทะเลซึ่งอาจมีท่าเทียบเรือตั้งแต่หนึ่งแห่งขึ้นไปที่เรือสามารถเทียบเพื่อบรรจุและปล่อยผู้โดยสารและสินค้า ปกติท่าเรือตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทะเลหรือชะวากทะเล แต่ท่าเรือบางแห่ง เช่น ฮัมบวร์คหรือแมนเชสเตอร์ ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ซึ่งเรือจากทะเลสามารถเข้าถึงได้โดยทางแม่น้ำหรือคลอง เนื่องจากท่าเรือทำหน้าที่เป็นท่าขาเข้าของผู้อพยพกับทหารในช่วงสงคราม ทำให้ท่าเรือหลายแห่งมีการเปลี่ยนแปลงทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมอย่างมากตลอดทั้งประวัติศาสตร์[1]

ท่าเรือซีแอตเทิล

ท่าเรือมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก โดยร้อยละ 70 ของการค้าสินค้าทั่วโลกโดยมูลค่าผ่านท่าเรือ[2] ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ที่อยู่อาศัยบริเวณท่าเรือมักมีประชากรหนาแน่น ซึ่งจัดเตรียมแรงงานไว้ทำงานและจัดการสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ ปัจจุบัน การพัฒนาท่าเรือที่เติบโตเร็วสุดอยู่ในทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นทวีปที่มีท่าเรือใหญ่สุดและวุ่นวายที่สุดของโลกอันดับต้น ๆ เช่น สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้และหนิงโป-โจวชานของจีน ใน ค.ศ. 2020 ท่าเรือที่วุ่นวายที่สุดในโลกคือท่าเรือเฮลซิงกิในประเทศฟินแลนด์[3] ถึงกระนั้น มีท่าเรือขนาดเล็กจำนวนมากที่มีไว้เพื่อการท่องเที่ยวท้องถิ่นหรืออุตสาหกรรมปลา

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Caves, R. W. (2004). Encyclopedia of the City. Routledge. pp. 528. ISBN 9780415252256.
  2. Asariotis, Regina; Benamara, Hassiba; Mohos-Naray, Viktoria (December 2017). Port Industry Survey on Climate Change Impacts and Adaptation (PDF) (Report). UN Conference on Trade and Development.
  3. "Maritime ports freight and passenger statistics" (PDF). Eurostat. สืบค้นเมื่อ 18 June 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้