สถานีอุดมสุข (อังกฤษ: Udom Suk station; รหัส: E12) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิทบริเวณทางแยกอุดมสุข ในพื้นที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีที่ 3 ของโครงการส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทช่วงอ่อนนุช–แบริ่ง จำนวน 5 สถานี

อุดมสุข
E12

Udom Suk
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสุขุมวิท เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°40′49.14″N 100°36′34.77″E / 13.6803167°N 100.6096583°E / 13.6803167; 100.6096583
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีE12
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ12 สิงหาคม พ.ศ. 2554; 13 ปีก่อน (2554-08-12)
ผู้โดยสาร
25642,976,679
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ปุณณวิถี
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท บางนา
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง

แก้

ถนนสุขุมวิท ระหว่างซอยสุขุมวิท 101/3 กับถนนอุดมสุข ทางทิศเหนือของทางแยกอุดมสุขและทางแยกบางนา ในพื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

แผนผังของสถานี

แก้
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (บางนา)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (ปุณณวิถี)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-5, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า,
ทางเดินลอยฟ้าไป 66 ทาวเวอร์ แบงค็อกมอลล์ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค และสถานีบางนา
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ป้ายรถ Shuttle Bus ไปศูนย์การค้าเมกาบางนา, วันอุดมสุข
ถนนอุดมสุข (สุขุมวิท 103), ซอยสุขุมวิท 101/4, 66/1

โครงการในอนาคต

แก้

สถานีอุดมสุขจะมีการต่อขยายสถานีเพิ่มเติม เพื่อรองรับส่วนต่อขยายสายบางนา - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้านทิศใต้ได้ในอนาคต โดยปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ก่อสร้างตอม่อรูปตัวยูคว่ำตั้งแต่แยกบางนาจนถึงซอยสุขุมวิท 70/2 รวมถึงวางรางสับหลีกก่อนเข้าสถานีอุดมสุข และรางแยกบริเวณด้านหน้าคอนโดมิเนียมเดอะสกาย สุขุมวิท และพื้นที่ก่อสร้างศูนย์การค้า Bangkok Mall เพื่อเตรียมรับการก่อสร้างเส้นทางนี้เป็นการเพิ่มเติม

แผนงานเบื้องต้น รถไฟฟ้าสายนี้จะนับเป็นสายที่ 3 ของโครงการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติฯ หรือรถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบัน มีจุดเริ่มต้นจากสถานีอุดมสุข เลี้ยวเข้าถนนบางนา-ตราด จากนั้นวิ่งต่อไปบริเวณช่องว่างระหว่างถนนบางนา-ตราดและทางคู่ขนานถนนบางนา-ตราดไปจนถึงกิโลเมตรที่ 14 จะมีสถานีแยกทางระหว่างไปสิ้นสุดที่หน้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กับเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเทพรัตน-สุวรรณภูมิ ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเกริก และสิ้นสุดที่อาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นอันสิ้นสุดเส้นทาง

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่ได้เป็นไปตามแผนเนื่องจากขีดจำกัดของอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน จึงมีการเร่งการก่อสร้างในส่วนของอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 บริเวณปลายอาคารเทียบอากาศยาน A เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารเพิ่มเติม ส่วนการพัฒนาอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ ปัจจุบันได้มีการออกแบบใหม่ทั้งหมด โดยเพิ่มส่วนของสถานีและชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้าสายนี้บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ ในขณะที่ตัวโครงการมีข้อกังขาระหว่างกรุงเทพมหานครและกรมทางหลวงชนบทในเรื่องของการใช้พื้นที่ถนนเทพรัตนในการก่อสร้างโครงการ รวมถึงยังมีการศึกษาในการเปลี่ยนสถานีปลายทางจากอุดมสุขเป็นสถานีแห่งใหม่บริเวณด้านหน้าสำนักงานเขตบางนาและศาลจังหวัดพระโขนง และการศึกษาในการต่อขยายไปยังสถานีแม่น้ำ และยกระดับเป็นเส้นทางรถไฟฟ้ารางหนัก เพื่อลดภาระของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแทน

รูปแบบของสถานี

แก้

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

สัญลักษณ์ของสถานี

แก้

ใช้สีเขียวตกแต่งเสาและรั้วบนชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายทางเข้าและบริเวณทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่า เป็นสถานีด้านตะวันออก

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้
  • ลิฟต์ สำหรับผู้พิการ ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา จากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่ง
  • รถชัตเติลบัสร่วมให้บริการของเอกชน โดยรับผู้โดยสารจากป้ายรถประจำทางหน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ใต้ทางออกที่ 5 ไปยังสถานที่ดังนี้
  • ทางเดินลอยฟ้าระหว่างสถานีอุดมสุข-ไบเทคบุรี-สถานีบางนา ข้ามแยกบางนา

ทางเข้า-ออก

แก้
ซูเปอร์สกายวอล์ก แยกบางนา
 
  สถานีอุดมสุข
 
โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 2
 
 
 
ซอยสุขุมวิท 103/1
 
 
 
แบงค็อก มอลล์, ชาเทรียมซิตี้
 
 
 
ท่ารถตู้ร่วมให้บริการ แยกบางนา
 
 
 
  สถานีบางนา
 
 
ตลาดแยกบางนา
 
 
ป้ายรถประจำทาง (ทางด่วน)
 
 
เดอะคอสท์ วิลเลจ
 
 
 
 
ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
 
 
  สถานีบางนา
  • 1 ซิตี้โฮม สุขุมวิท, ไอดีโอ มิกซ์ สุขุมวิท 103
  • 2 ปั๊มน้ำมันเชลล์ (ลิฟต์) , ซอยสุขุมวิท 66
  • 3 ถนนอุดมสุข, ตลาดอุดมสุขพัฒนา (บันไดเลื่อน)
  • 4 ไอดีโอ บลูโคฟ สุขุมวิท, โชว์รูมรถยนต์ฮอนด้า, ซอยสุขุมวิท 66/1 (พูนสิน) (บันไดเลื่อน)
  • 5 ตลาดอุดมสุข, วัน อุดมสุข (ลิฟต์)
  • 6 ซูเปอร์สกายวอล์กไป สถานีบางนา, โรงพยาบาลผู้สูงอายุกล้วยน้ำไท 2, ท่ารถตู้แยกบางนา
  • 7 อาคาร 66 ทาวเวอร์, คลาวด์ 11, ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) (ทางเดินเชื่อมสะพานลอย)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณหน้าปากซอยสุขุมวิท 66 และ ทางออก 4 หน้าป้ายรถประจำทาง

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[1]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.51 00.24
E15 สำโรง 00.36
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.21 23.39
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 23.53

รถโดยสารประจำทาง

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ


สีแดง : เขตการเดินรถที่ 3

รถเอกชน

สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)

  ถนนสุขุมวิท

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 (1)   อู่ปู่เจ้าสมิงพราย/อู่ช้างเอราวัณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก. มีรถให้บริการตลอดคืน
อู่เมกาบางนา BTS อุดมสุข/ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
23 (1) เทเวศร์/ประตูนํ้า
23 (3-5) (1)   อู่ปู่เจ้าสมิงพราย/อู่ช้างเอราวัณ เทเวศร์
25 (3)   อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้าง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

มีรถให้บริการทางด่วน
มีรถให้บริการตลอดคืน
45 (1)   อู่ปู่เจ้าสมิงพราย ท่านํ้าสี่พระยา 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง มีรถให้บริการทางด่วน (ให้บริการเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน)
180 (3)   อู่เมกาบางนา   อู่สาธุประดิษฐ์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
508 (1)   อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ท่าราชวรดิษฐ์ มีรถให้บริการทางด่วน
511   (2)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บรมราชชนนี) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 (3-1)   ปากน้ำ สะพานพระพุทธยอดฟ้า รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส มีรถให้บริการตลอดคืน
2E (3-2)   ท่านํ้าปู่เจ้าสมิงพราย สะพานพระพุทธยอดฟ้า -
25 (3-6)   โรงเรียนปทุมคงคาสมุทรปราการ   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส ส่วนใหญ่หมดระยะแยกบางนา

38 (3-8)  

  อู่ไทยสมายล์บัส (สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง 2) อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
46 (3-10)   อู่รามคำแหง 2 ท่านํ้าสี่พระยา รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีส้ม บจก.สิทธิชาญชัย

46 (3-10)

รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
98 อุดมสุข อโศก รถโดยสารประจำทางสีครีม-น้ำเงิน บริษัท สหศรีสุพรรณยานยนต์ จำกัด

132 (3-14)  

BTS อุดมสุข เคหะบางพลี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส

139 (3-16E)

BTS อุดมสุข เคหะบางพลี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า บจก.ไพศาลสามัคคีขนส่ง
507 (3-13)     อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
513 (3-23E)     อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ)   ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
552 (3-25E)   ปากน้ำ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
3-32     อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) สวนสยาม รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
  • ถนนสุขุมวิท รถ ขสมก. สาย 2 23 25 45 132 180 508 511 รถเอกชน สาย 3-1 (2), 3-2E (2), 3-6 (25), 38, 3-8 (38), 3-10 (46), 3-11 (48), 3-13 (507), 98, 3-14 (132), 3-16E (139)
  • ถนนอุดมสุข รถเอกชน สาย 3-11 (48)
  • รถบริการรับส่ง
    • บีทีเอสอุดมสุข-เมกาบางนา
    • บีทีเอสอุดมสุข-เซ็นทรัล บางนา-โตโยต้า อะไลฟ์

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้
  • ตลาดอุดมสุข
  • วัน อุดมสุข
  • โรงพยาบาลผู้สูงอายุกล้วยน้ำไท 2
  • อาคาร 66 ทาวเวอร์

อ้างอิง

แก้
  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.