เมกาซิตี้ บางนา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เมกาซิตี้ บางนา เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมจำนวน 400 ไร่บริเวณหัวมุมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทางแยกต่างระดับวัดสลุด ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนกาญจนาภิเษกกับถนนเทพรัตน ช่วงกิโลเมตรที่ 8 ในพื้นที่ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ บริหารงานโดย บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (เดิมคือ บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)), บริษัท อิคาโน่ เอเชีย แอนด์ เม็กซิโก จำกัด และบริษัท ไทย กริยา จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 49:49:2 ตามลำดับ
ที่ตั้ง | 39 หมู่ที่ 6 ถนนเทพรัตน 19 ถนนกาญจนาภิเษก ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
---|---|
พิกัด | 13°38′55″N 100°40′47″E / 13.648608°N 100.679807°E |
เปิดให้บริการ | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (เมกาบางนา) | (อิเกีย)
ผู้บริหารงาน | บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด โดย
|
เจ้าของ | บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำกัด |
พื้นที่ชั้นขายปลีก | 201,491 ตารางเมตร (พื้นที่ให้เช่า) 577,500 ตารางเมตร (ทั้งโครงการ) |
จำนวนชั้น | 3 ชั้น (รวมชั้นพื้นดิน) (อาคารเมกาบางนาและอาคารฟู้ดวอล์คพลาซา) 4 ชั้น (รวมชั้นพื้นดิน) (อาคารจอดรถของฟู้ดวอล์คพลาซาและอาคารอิเกีย) |
ที่จอดรถ | 11,700 คัน อาคารเมกาบางนา 5,000 คัน อาคารฟู้ดวอล์คพลาซา 1,200 คัน อาคารจอดรถอิเกีย 2,000 คัน นอกอาคาร 2,500 คัน |
เว็บไซต์ | www |
โครงการประกอบไปด้วยศูนย์การค้าขนาดใหญ่ โรงเรียน สำนักงาน โรงแรม สวนสนุกในร่ม สวนสาธารณะ และอาคารที่พักอาศัย
การจัดสรรพื้นที่
แก้โครงการเมกาซิตี้ บางนา ประกอบไปด้วยอาคารใช้สอยหลายส่วนบนพื้นที่ทั้งหมด 400 ไร่ แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
อาคารเมกาบางนา
แก้อาคารเมกาบางนา หรือศูนย์การค้าเมกาบางนาเดิม เป็นอาคารศูนย์การค้าแนวราบขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดสามชั้นรวมชั้นพื้นดิน ยกเว้นอาคารอิเกียที่มีพื้นที่ใช้สอยสี่ชั้น และอาคารจอดรถอิเกียที่มีพื้นที่ใช้สอยเจ็ดชั้น รวมถึงเป็นอาคารที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทั่วทั้งชั้นดาดฟ้าอาคารรวมถึงส่วนของอาคารเมกาสมาร์ทคิดส์ รวมพื้นที่ 62,000 ตารางเมตร[1] โดยดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ ในเครือดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้ดำเนินการลงทุนและก่อสร้างให้ทั้งหมด[2] นับเป็นอาคารอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในอาคารแบ่งพื้นที่ภายในออกเป็น 6 โซน โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้
- เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท เมกาบางนา
- ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์
- เพาเวอร์บาย
- บีทูเอส ธิงค์สเปซ
- ออฟฟิศเมท
- ซูเปอร์สปอร์ต
- บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า
- อิเกีย สาขาแรกของประเทศไทย
- สปอตส์เวิลด์
- ศูนย์อาหารฟู้ดพาทิโอ
- สถานออกกำลังกาย ฟิตเนส เฟิร์สท์
- โรงภาพยนตร์เมกา ซีนีเพล็กซ์ ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 15 โรงภาพยนตร์ ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์เลเซอร์ ระบบ 4DX และระบบแอลจี มิราคลาส ที่ใช้จอรูปแบบแอลอีดีพร้อมระบบเสียงดอลบี แอทมอส อย่างละ 1 โรง รวมถึงมีโรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก 1 โรง[3] และโรงภาพยนตร์สำหรับ Pet Parents แห่งแรกในประเทศไทยอีก 1 โรง ถือเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปร่วมรับชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ได้
- บลูโอ ริทึ่ม แอนด์ โบว์ล
- ซับซีโร่ ไอซ์ สเก็ต
อาคารเมกาสมาร์ทคิดส์
แก้อาคารเมกาสมาร์ทคิดส์ เป็นอาคารศูนย์การค้าขนาดกลาง มีพื้นที่ใช้สอยสามชั้น รวมชั้นพื้นดิน โดยเป็นการสร้างต่อขยายจากอาคารโฮมโปรเพิ่มเติมออกมาเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรสำหรับเด็ก โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้
- โฮมโปร
- เดอะเพาเวอร์ บาย โฮมโปร
- ไบค์ เอ็กซ์เพรส
- มายยิม ฟิตเนส
- สวนสนุก เมกา ฮาร์เบอร์แลนด์
- สวนสาธารณะ เมกาพาร์ค
อาคารฟู้ดวอล์คพลาซา
แก้อาคารฟู้ดวอล์คพลาซา เป็นอาคารศูนย์การค้าแบบเปิดขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 3 ชั้น และเชื่อมต่อกับอาคารจอดรถ 7 ชั้น ตัวอาคารออกแบบในลักษณะทางเดินลาดเอียงผสมทางเลื่อน เช่นเดียวกับอาคารฮีลิกซ์ควอเทียร์หรืออาคาร A ของศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ตลอดทางเดินมีผู้เช่าส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร อาคารแห่งนี้เป็นการขยายเพิ่มเติมจากโซนฟู้ดวอล์คเดิมที่อยู่ด้านหน้าของศูนย์การค้า และมีพื้นที่สำคัญดังต่อไปนี้
- ท็อปส์
- สตาร์บัคส์ รีเซิฟ คอนเซปท์สโตร์
ส่วนประกอบอื่น ๆ
แก้ภายในโครงการเมกาซิตี้ บางนา นอกจากอาคารศูนย์การค้าทั้งสองอาคารแล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- เมกา เทอร์มินัล จุดให้บริการขนส่งสาธารณะ
- เซเว่น อีเลฟเว่น
- คัดสรร เบเกอรี่ แอนด์ คอฟฟี่ โดยเซเว่น
- เซเว่น อีเลฟเว่น
- อาคารสำนักงาน เมกา ออฟฟิศเศส (โครงการ)
- โรงแรมจำนวน 3 อาคาร (โครงการ)
- ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้ ศูนย์กีฬาท็อปกอล์ฟแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4]
- อู่เมกาบางนา กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 3 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[5]
- อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย เอ สเปซ เมกา และ เอ สเปซ เมกา 2 โดย เรียลแอสเสท
- อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย นาวว์ เมกา โดย อารียา พรอพเพอร์ตี้ (กำลังก่อสร้าง)
- โรงเรียนนานาชาติดิษยะศริน กรุงเทพ (ดี-เพร็พ) แผนกอนุบาลและประถมศึกษา[6]
รอบศูนย์การค้า
แก้- ไทวัสดุ x บีเอ็นบีโฮม บางนา (บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด สำนักงานใหญ่)
- ดับบลิวเอชเอ ทาวเวอร์
- โลตัส สาขาบางนา
- โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
อ้างอิง
แก้- ↑ "เมกาบางนา ขยายแผงโซลาร์เซลล์อีก 62,000 ตรม". mgronline.com. 2023-07-29.
- ↑ Chaiyachot, Waranya (2022-05-23). "WHAUP คว้างานโซลาร์รูฟเมกาบางนา 10 MW มูลค่า 245 ลบ.จ่อเซ็นอีก 3 โครงการ : อินโฟเควสท์". สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ 10 คำตอบทำไม เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ต้องทำ “โรงหนังเด็ก” แห่งแรกในไทย
- ↑ "ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้ แหล่งรวมกีฬา-บันเทิงครบวงจร เปิด 17 ส.ค.นี้". thansettakij. 2022-07-05.
- ↑ "กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 3 อู่เมกาบางนา | องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ". www.bmta.co.th.
- ↑ "สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก". D-PREP International School.