สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

สถานีรถโดยสารทางไกลสายใต้และตะวันตก

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี[2][3] หรือ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) หรือที่เรียกกันติดปากว่า สายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน) เป็นสถานีขนส่ง สำหรับรถโดยสารทางไกล สายใต้ และสายตะวันตกเป็นบางส่วน[4] เป็นสถานีขนส่งเอกชน สร้างและบริหารโดย บริษัท สิริโปรเจกต์ คอนสทรัคชั่น จำกัด โดยได้รับสัมปทานจาก บริษัท ขนส่ง จำกัด กระทรวงคมนาคม เป็นระยะเวลา 20 ปี[5]

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้)
ถนนบรมราชชนนี
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี),สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน), สายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน)
ที่ตั้งถนนบรมราชชนนี, แขวงฉิมพลี, เขตตลิ่งชัน, กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°46′52″N 100°25′30″E / 13.781178°N 100.425112°E / 13.781178; 100.425112
เจ้าของบริษัท สิริโปรเจกต์ คอนสทรัคชั่น จำกัด (สัมปทานจาก บริษัท ขนส่ง จำกัด)[1]
สายรถโดยสารประจำทางสายใต้, สายกลาง, สายตะวันตก
ป้ายรถโดยสารประจำทาง98 ชานชลา
ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทางบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
โครงสร้าง
ที่จอดรถมีให้บริการ
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีให้บริการ
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ1 ธันวาคม พ.ศ. 2550; 16 ปีก่อน (2550-12-01)[1]

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนบรมราชชนนีตัดกับถนนพุทธมณฑลสาย 1 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน ห่างจากสถานีเดิมไปทางตะวันตก (ออกเมือง) บนฝั่งซ้ายของถนนบรมราชชนนี เช่นเดียวกัน ประมาณ 5 กิโลเมตร

ประวัติ

แก้

แต่เดิมนั้น สถานีขนส่งผู้โดยสารสำหรับสายใต้นั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับแยกไฟฉาย ชื่อว่าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ไฟฉาย) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้ย้ายสถานีขนส่งสำหรับสายใต้ไปอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ก่อนที่จะย้ายไปทำการในพื้นที่ปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2537 เนื่องจากปัญหาของสภาพการจราจรที่หนาแน่น

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี มีเนื้อที่รวม 37 ไร่[6] แบ่งเป็นอาคารผู้โดยสารประมาณ 20 ไร่ และพื้นที่จอดรถประมาณ 10 ไร่ มูลค่ารวม 2,200 ล้านบาท และได้ลงทุนก่อสร้างตัวสถานีไม่รวมค่าที่ดินมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท[1] และเปิดให้บริการเดินรถสายใต้ทั้งหมด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปเปิดเดินรถในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และมีกำหนดเริ่มการเดินรถสายตะวันตกในวันที่ 15 พฤศจิกายน ของปีเดียวกัน

จากการเปิดเผยในปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ของสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี นั้นจะหมดสัมปทานจาก บขส. ลงในปี พ.ศ. 2568 ซึ่ง บขส. มีแนวคิดที่จะย้ายกับมาเดินรถยังพื้นที่เดิมคือสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) ซึ่งเป็นที่ดินของ บขส. เองและจะนำเสนอแผนพัฒนาที่ได้ว่าจ้างให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาเสนอต่อคณะอนุกรรมการได้พิจารณาและดำเนินการให้เสร็จพร้อมให้บริการก่อนหมดสัมปทานในปี พ.ศ. 2568[7] แต่มีกระแสคัดค้านจากภาคประชาชนเนื่องจากปัญหาการจราจรซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต บขส. จึงออกมาชี้แจงว่าการศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงแค่การศึกษาเท่านั้น[8]

 
อาคารผู้โดยสาร

ที่ตั้ง

แก้

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี ตั้งอยู่ในแขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลัก 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ รถโดยสารประจำทางท้องถิ่น (ขสมก.) และรถไฟฟ้าสายสีแดง[4]

สถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้เคียงคือ

การเดินทางจากสถานีรถไฟฟ้าไปยังสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี สามารถเดินทางได้ด้วยรถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ไปยังถนนบรมราชชนนีฝั่งขาออก สำหรับรถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ประกอบไปด้วย สาย 124, 170 (ปอ.), 183 (ปอ.), 524 (ปอ.), 539 (ปอ.) และ 66 (ปอ.)[4] สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่รายชื่อด้านล่าง

แผนผังและบริการ

แก้
 
ท่ารถตู้และรถมินิบัส

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี มีอาคารหลักสองส่วน คือ อาคารผู้โดยสาร และอาคารชานชาลา โดยมีทางเชื่อม (flyover) เชื่อมต่อกัน โดยอาคารผู้โดยสารแบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือ G, M, 1 และ 2 ประกอบไปด้ย[9]

  • ชั้น G ส่วนพื้นที่ส่วนหน้าเป็นส่วนของเอสซีพลาซ่า ประกอบไปด้วยร้านค้า ธนาคาร ชานชลาที่ 1-24 เคาท์เตอร์จำหน่ายตั๋วของรถโดยสารขนาดเล็กและรถตู้[9]
  • ชั้น M เป็นลานจอดรถในอาคาร และบริการรับฝากกระเป๋าโดยคิดราคาตามขนาดกระเป๋าและระยะเวลาในการฝาก เหมาะสำหรับนักเดินทางแบบแบคแพคเกอร์[9]
  • ชั้นที่ 1 เป็นช่องจำหน่ายตั๋วตรงกลาง จากผู้ให้บริการเดินรถที่ได้รับสัมปทานจาก บขส. เช่น สมบัติทัวร์ บางกอกบัสไลน์ เพื่อเดินทางไปยังภาคใต้ของประเทศไทย ล้อมรอบด้วยโซนพลาซ่า สามารถเดินทาางไปยังชานชาลที่ 25-98 ได้จากชั้นเดียวกันนี้[9]
  • ชั้นที่ 2 เป็นโซนพลาซ่า และศูนย์อาหารทั้งชั้น[4][9]

สำหรับฝั่งอาคารชานชาลา ชั้นบนเป็นที่ทำการส่วนบริการต่าง ๆ ของฝ่ายเดินรถ และห้องละหมาด ส่วนชั้นล่างเป็นชานชาลาผู้โดยสารขาออก

นอกจากนี้สถานีขนส่งแห่งนี้ ยังเป็นสถานีขนส่งที่มีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูง มีระบบการจัดการคล้ายท่าอากาศยาน กล่าวคือ ผู้ที่ไม่มีตั๋วโดยสาร จะไม่สามารถเข้าสู่เขตชานชาลาได้[9] และไม่มีข้อกังวลด้านผู้มีอิทธิพลมาเรียกรับผลประโยชน์อย่างสถานีขนส่งหมอชิต เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิดของเอกชน รวมถึงได้ประสานงานการดูแลความปลอดภัยและการจราจรกับตำรวจไว้แล้ว[1]

เอสซีพลาซ่า

แก้
 
บริเวณชานชาลา

เอสซีพลาซ่า เป็นศูนย์การค้าขนาดเล็กอยู่ในพื้นที่โซนพลาซ่าทั้ง 4 ชั้นของสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) มีเนื้อที่ประมาณ 35,000 ตารางเมตร[10] ประกอบด้วยศูนย์อาหาร, ร้านค้าย่อย, ธนาคาร, ร้านสะดวกซื้อ, บริการไปรษณีย์ โดยให้เป็นที่เดินจับจ่ายใช้สอยขณะรอเวลารถโดยสารเทียบท่า[10] นอกจากนี้บริเวณศูนย์อาหาร และที่พักผู้โดยสารในชั้นจำหน่ายตั๋ว มีการติดตั้งโทรทัศน์แขวนเพดานทั่วบริเวณ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้รอการโดยสาร

นอกจากนี้ในช่วงเย็นยังมีตลาดนัดให้บริการในช่วงเย็น ชื่อว่าสายใต้เซ็นเตอร์ เปิดให้บริการในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป[4]

เส้นทางเดินรถ

แก้
 
รถโดยสารประจำทางสายที่ 993 กรุงเทพฯ - สุราษฎร์ธานี

สามารถตรวจสอบเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และบริษัทที่ได้สัมปทานเดินรถร่วมบริการในแต่ละภูมิภาค

เส้นทางที่เป็นที่นิยม[4]
จากกรุงเทพ
ปลายทาง เวลา ราคา
หาดใหญ่ 16.10 – 17.00 น. 785 บาท
ภูเก็ต 06.45 – 18.00 น. 715 บาท
กระบี่ 17.30 – 18.40 น. 644 บาท
ระนอง 08.15 – 19.50 น. 491 บาท
สุราษฎร์ธานี 16.00 – 19.50 น. 558 บาท

ระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อกับสถานี

แก้
 
รถโดยสารประจำทางสาย 66 ที่ท่ารถเมล์ ภายในสถานีขนส่ง

ระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับสถานีโดยตรงมีเพียงรถโดยสารประจำทางที่ให้บริการรับส่งและเชื่อมต่อสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี กับขนส่งมวลชนอื่นและพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

สีแดง : เขตการเดินรถที่ 3
สีเหลือง : เขตการเดินรถที่ 6
สีนํ้าเงิน : เขตการเดินรถที่ 7

รถเอกชน

สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)

ท่ารถประจำทางเข้าเมือง ภายในสถานีขนส่ง

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด เส้นทาง เวลาเดินรถเที่ยวแรก (ต้นทาง) เวลาเดินรถเที่ยวแรก (สายใต้ใหม่) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (ต้นทาง) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (สายใต้ใหม่) ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
66 (3) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

66
ศูนย์ราชการ
พงษ์เพชร
เตาปูน
ศรีย่าน
เอ็มอาร์ที
เซ็นทรัลปิ่นเกล้า
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

04:20 น. 05:00 น. 22:00 น. 22:50 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
511   (2)   อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ

511
ปากน้ำ
สำโรง
อุดมสุข
พระโขนง
เอกมัย
อโศก
ราชประสงค์
ประตูน้ำ
อุรุพงษ์
ผ่านฟ้า
ปิ่นเกล้า
ตลิ่งชัน
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

04:20 น. 05:00 น. 22:00 น. 22:50 น. 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

มีรถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขุมวิท 62 ลงทางด่วนด่านประตูน้ำ)
มีให้บริการตั้งแต่ 04.00 น. - 21.00 น.

รถเอกชน

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
28 (4-38)     สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) ม.ราชภัฏจันทรเกษม รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
40 (4-39)     BTS เอกมัย
89 (4-47)   ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
507 (3-13)   สำโรง   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)
524 (1-23)     สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) หลักสี่ บจก.บางกอกยูเนี่ยนเซอร์วิส 524
(เครือไทยสมายล์บัส)

หน้าสถานีขนส่ง (ฝั่งถนนบรมราชชนนี)

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
79 (2)   อู่บรมราชชนนี ราชประสงค์ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) ขสมก.
  สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) 1.เส้นทางเสริมพิเศษ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง
ระหว่างสถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน
2.วิ่งเฉพาะฝั่งไปปิ่นเกล้าฝั่งเดียว
515 (3) เซ็นทรัล ศาลายา   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
516 (1) บัวทองเคหะ เทเวศร์ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
556 (1) วัดไร่ขิง   ARL มักกะสัน 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) ส่วนใหญ่ หมดระยะตลาดโบ๊เบ๊
4-70E (3) เซ็นทรัล ศาลายา   BTS หมอชิต 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านตลิ่งชัน ลงด่านกำแพงเพชร 2)

รถเอกชน

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
123 (4-50)   อ้อมใหญ่ สนามหลวง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
124 (4-51)   ศาลายา รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
124 (4-51) รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
146 (4-52)   บางแค ตลิ่งชัน รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม
149 (4-53)   พุทธมณฑลสาย 2   BTS เอกมัย
157 (4-54E)   อ้อมใหญ่   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถบริการทางด่วน (ขาไป ขึ้นด่านฉิมพลี ลงด่านพระราม 6 (คลองประปา)
ขากลับ ขึ้นด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ลงด่านฉิมพลี)
170 (4-49)   บรมราชชชนี (สน.คู่ขนานลอยฟ้า)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
515 (4-61)   เซ็นทรัล ศาลายา   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
539 (4-62)   อ้อมน้อย 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
หจก.บุญมงคลกาญจน์
4-67   ศาลายา กระทรวงพาณิชย์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ชั่วคราว

แก้

เนื่องจากอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ขยายขอบเขตมาถึงต่างระดับฉิมพลี ทำให้บริษัท ขนส่ง จำกัด แจ้งปิดสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) ถนนบรมราชชนนี โดยได้ย้ายการให้บริการไปยังโรงเบียร์ฮอลแลนด์ สาขาพระราม 2 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 2 ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ ติดกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 เป็นสถานีขนส่งชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ต่อมา ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สถานีขนส่งสายใต้เริ่มกลับมาทำการใหม่อีกครั้ง หลังจากสถานการณ์เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ[11]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "สถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่พร้อมเปิดให้บริการแล้ว". mgronline.com. 2007-05-22.
  2. รายงานประจำปี 2565 บริษัท ขนส่ง จำกัด (PDF). บริษัท ขนส่ง จำกัด. 2565. p. 165.
  3. "คมนาคมลงพื้นที่สถานีขนส่งฯ สายใต้ เช็คความพร้อมอำนวยความสะดวกประชาชนเดินทางกลับสงกรานต์". สยามรัฐ. 2023-04-12.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "สายใต้ใหม่ หรือ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ อยู่ที่ไหน เดินทางอย่างไร". www.thairath.co.th. 2023-03-08.
  5. "สถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่พร้อมเปิดให้บริการแล้ว". mgronline.com. 2007-05-22.
  6. "สิริโปรเจกต์ คอนสตรัคชั่น เชิญชมโครงการ สถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่ “ ทันสมัยสุดในเอเชีย". ryt9.com.
  7. "เตรียมย้าย 'สายใต้' กลับที่เก่า บขส.เปิดประมูล เล็งพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส 4.6 พันล้าน". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "บขส.โต้ข่าวย้าย "สายใต้ใหม่" กลับปิ่นเกล้า ยันแค่ผลศึกษาเท่านั้น". สยามรัฐ. 2020-09-21.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 newbotadmin (2018-02-21). "คู่มือแนะนำ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) l BusOnlineticket.co.th". BusOnlineTicket Thailand.
  10. 10.0 10.1 "SC Plaza ช่วยชาติ รุกหนุนธุรกิจ SMEs ทางเลือกใหม่สำหรับคนไทย". ryt9.com.
  11. น้ำท่วมพ่นพิษ ปิดขนส่งสายใต้ใหม่ ย้ายไปโรงเบียร์พระราม 2 ชั่วคราว

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°46′52″N 100°25′30″E / 13.781178°N 100.425112°E / 13.781178; 100.425112