สถานีสะพานใหม่
สถานีสะพานใหม่ (อังกฤษ: Saphan Mai Station, รหัส N20) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีแรกที่เข้าสู่พื้นที่ของกองทัพอากาศและท่าอากาศยานดอนเมืองฝั่งถนนพหลโยธิน เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ที่ตั้งแก้ไข
ถนนพหลโยธิน บริเวณด้านหน้าตลาดยิ่งเจริญพลาซ่า ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
สถานีสะพานใหม่ ในอดีตเคยถูกกำหนดให้เป็นสถานีปลายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการก่อสร้างงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต–สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ รวมเป็นระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ด้านทิศใต้ของท่าอากาศยานดอนเมือง ต่อมาคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553 ได้รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ที่มีมติเห็นชอบในหลักการของการต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จากช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ เป็น หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และยกเลิกศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณด้านทิศใต้ของสนามบินดอนเมือง โดยให้มีศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณตำบลคูคตแทน[1]
แผนผังของสถานีแก้ไข
U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า สถานีคูคต | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, ตลาดยิ่งเจริญพลาซ่า |
รายละเอียดของสถานีแก้ไข
รูปแบบของสถานีแก้ไข
เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา มีประตูกั้นชานชาลาแบบ Half Height Platform Screen Doors ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด[2]
สัญลักษณ์ของสถานีแก้ไข
ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ
ทางเข้า-ออกแก้ไข
ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้าได้แก่
- 1, 3 ตลาดยิ่งเจริญพลาซ่า แอท เอ็น 20
- 2 ชุมชนตลาดสะพานใหม่-ดอนเมือง
- 4 ซอยพหลโยธิน 52
เวลาให้บริการแก้ไข
ปลายทาง | ขบวนรถ | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสุขุมวิท | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
เคหะฯ | เต็มระยะ | 05.23 | 23.31 | |||
ปลายทางสำโรง | - | 23.53 | ||||
ปลายทางห้าแยกลาดพร้าว | - | 00.08 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
คูคต | เต็มระยะ | 05.33 | 00.43 |
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทางแก้ไข
ถนนพหลโยธิน รถขสมก. สาย 34 39 114 185 503 520 522 543 รถเอกชน สาย 1-5 (39) 356 รถทอ. มินิบัส สาย 34 สองแถวสาย 1009 1096
ถนนพหลโยธิน | |||
---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ |
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) | |||
34 | รังสิต | หัวลำโพง | |
39 | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | |
39 | ตลาดไท | ||
114 | แยกลำลูกกา | MRT-ท่าเรือพระนั่งเกล้า | |
185 | รังสิต | คลองเตย | |
503 | สนามหลวง | ||
520 | มีนบุรี | ตลาดไท | |
522 | รังสิต | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | |
543 | บางเขน | ลำลูกกา คลอง 7 | |
รถเอกชนร่วมบริการ | |||
34 | ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ใช้รถมินิบัสในการให้บริการ |
1-5 (39) | รังสิต | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ใช้รถเมล์ไฟฟ้าในการให้บริการ |
1009 | สะพานใหม่ | มีนบุรี | |
ตลาดวงศกร | |||
1009 (เพิ่มสิน) | ให้บริการในรูปแบบสองแถว | ||
1009 (วัดเกาะ) | ตลาดออเงิน | ||
1009 (วัชรพล) | ห้าแยกวัชรพล | ||
1096 | ตลาดถนอมมิตร | ||
รามอินทรา กม.2 | |||
ทอ. | วงกลมสะพานใหม่ | ดอนเมือง | รถบริการทั้งวนซ้ายและขวา |
รถชานเมือง | |||
356 | วงกลมปากเกร็ด | สะพานใหม่ | รถบริการทั้งวนซ้ายและขวา |
สถานที่สำคัญใกล้เคียงแก้ไข
- ตลาดยิ่งเจริญ
- ยิ่งเจริญ สแควร์ (กำลังก่อสร้าง)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ
- มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตสะพานใหม่
- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขา ดอนเมือง
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
- ↑ "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2020-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
{{cite conference}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|booktitle=
ถูกละเว้น แนะนำ (|book-title=
) (help)
สถานีใกล้เคียงแก้ไข
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช มุ่งหน้า สถานีคูคต |
สายสุขุมวิท | สถานีสายหยุด มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ |