สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (อังกฤษ: Bhumibol Adulyadej Hospital Station, รหัส N21) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธิน ในพื้นที่แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563[1][2][3]
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช N21 Bhumibol Adulyadej Hospital | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||
![]() | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนพหลโยธิน เขตดอนเมือง และเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°54′39″N 100°37′03″E / 13.9108°N 100.6174°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°54′39″N 100°37′03″E / 13.9108°N 100.6174°E | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ราง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | N21 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 321,744 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||
![]() |
ที่ตั้ง แก้
ถนนพหลโยธิน บริเวณด้านหน้ากรมแพทย์ทหารอากาศ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และฐานทัพอากาศดอนเมือง ในพื้นที่แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
แผนผังของสถานี แก้
U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (สะพานใหม่) | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า ทางเดินเชื่อมอาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลภูมิพลอดลุยเดช |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, กรมแพทย์ทหารอากาศ, โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช, สนามกีฬากองทัพอากาศ จันทรุเบกษา |
รายละเอียดของสถานี แก้
รูปแบบของสถานี แก้
เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา มีประตูกั้นชานชาลาแบบ Half Height Platform Screen Doors ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด[4]
อนึ่งตัวสถานีมีแผงกั้นระดับสายตาทั้งสถานี ตลอดจนทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า และบันไดระดับถนน และทางวิ่งฝั่งซ้าย (มุ่งหน้าสถานีปลายทางคูคต) มีแผงกั้นระดับสายตาตลอดทางเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของกองทัพอากาศไทย
สัญลักษณ์ของสถานี แก้
ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ
ทางเข้า-ออก แก้
ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้าได้แก่
- 1 ฐานทัพอากาศดอนเมือง (ช่องทางกองทัพอากาศ 5)
- 2 โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (ทางเชื่อมเข้าอาคารผู้ป่วยนอก)
- 3 ป้ายรถประจำทาง มุ่งหน้ากรมทหารอากาศโยธิน รักษาพระองค์, หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (ช่องทางกองทัพอากาศ 4)
- 4 สมาคมเวชศาสตร์การบินแห่งประเทศไทย, กรมแพทย์ทหารอากาศ
- 5 ฐานทัพอากาศดอนเมือง (ช่องทางกองทัพอากาศ 5 เวชยันตรังสฤษฏ์), ซอยเวชยันตรังสฤษฏ์ (ทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า)
- 6 หอประชุมกองทัพอากาศ (ทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า)
เวลาให้บริการ แก้
ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[5] | |||
ชานชาลาที่ 1 | |||
E23 | เคหะฯ | 05.21 | 23.21 |
E15 | สำโรง | – | 23.36 |
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | – | 00.06 |
ชานชาลาที่ 2 | |||
N24 | คูคต | 05.35 | 00.41 |
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง แก้
ถนนพหลโยธิน รถขสมก. สาย 34 39 114 185 503 520 522 543 รถเอกชน สาย 39 1009 รถทอ. มินิบัส สาย 34 39 รถชานเมือง สาย 356
ถนนพหลโยธิน | |||
---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ |
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) | |||
34 | รังสิต | หัวลำโพง | |
39 | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | |
39 | ตลาดไท | ||
114 | แยกลำลูกกา | MRT-ท่าเรือพระนั่งเกล้า | |
185 | รังสิต | คลองเตย | |
503 | สนามหลวง | ||
520 | มีนบุรี | ตลาดไท | |
522 | รังสิต | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | |
543 | บางเขน | ลำลูกกา คลอง 7 | |
รถเอกชนร่วมบริการ | |||
34 | ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ใช้รถมินิบัสในการให้บริการ |
1-5 (39) | รังสิต | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ใช้รถเมล์ไฟฟ้าในการให้บริการ |
1009 | สะพานใหม่ | ตลาดวงศกร | |
ทอ. | วงกลมสะพานใหม่ | ดอนเมือง | รถบริการทั้งวนซ้ายและขวา |
รถชานเมือง | |||
356 | วงกลมปากเกร็ด | สะพานใหม่ | รถบริการทั้งวนซ้ายและขวา |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้
- ฐานทัพอากาศดอนเมือง (กองทัพอากาศไทย)
- กรมแพทย์ทหารอากาศ
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
- วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
- สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ
- กองเวชศาสตร์ป้องกัน
- โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
อ้างอิง แก้
- ↑ "บีทีเอส เตรียมความพร้อมเปิด 7 สถานีใหม่ สายสีเขียวช่วง หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต". Bangkok Biz News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-15.
- ↑ "ประยุทธ์ กดปุ่มเปิด "รถไฟฟ้าสีเขียว-สีทอง" คูคต-ไอคอนสยาม ยังนั่งฟรี". Prachachat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-16.
- ↑ "BTS" เปิดส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และรถไฟฟ้าสายสีทอง ดีเดย์วันที่ 16 ธันวาคม 63". Komchadluek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-15.
- ↑ "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2020-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.