โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทสหศึกษา เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกองทัพอากาศ ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย Rittiyawannalai School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ฤ.ว. (RW) |
ประเภท | โรงเรียนของรัฐ |
คำขวัญ | บาลี: ปญฺา นรานํ รตนํ (ปัญญาเป็นแก้วอันประเสริฐของคนดี) |
สถาปนา | 18 กันยายน พ.ศ. 2490 |
ผู้ก่อตั้ง | หลวงเทวฤทธิ์พันลึก (กาพย์ ทัตตานนท์) |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 |
หน่วยงานทางการศึกษา | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ผู้อำนวยการ | ธัญวิชญ์ ไตรรัตน์ |
วิทยาเขต | โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ประถม โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ |
สี | สีฟ้า – สีเหลือง |
เพลง | มาร์ชฤทธิยะวรรณาลัย |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ก่อตั้งโดย พลอากาศโท หลวงเทวฤทธิ์พันลึก อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ คนที่ 3 และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดทำการสอนได้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2490 ภายในหน่วยที่ตั้งของกองทัพอากาศ สถานที่ตั้งเดิมอยู่บริเวณช่องทางกองบินน้อยที่ 6 (บน.6) มีอาคารเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว 6 ห้องมีชั้น เรียนตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปี พ.ศ. 2491 ขยายมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพิ่มขึ้น และโรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนประเภท "โรงเรียนดี" จากกระทรวงฯ เป็นต้นมา จึงได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นตามลำดับจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
- พ.ศ. 2494 ย้ายโรงเรียนจากบริเวณที่ตั้งเดิม มาตั้งใหม่ที่บริเวณด้านหลังโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และในปีนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล
- พ.ศ. 2495 เปิดสอนแผนกอนุบาล จึงมีชั้นเรียนตั้งแต่อนุบาลปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
- พ.ศ. 2502 - 2503 ได้ขยายชั้นเรียนระดับเตรียมอุดมศึกษาขึ้น ทั้ง 2 แผนกคือ วิทยาศาสตร์และศิลปะ มีอาคารเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น 4 หลัง
- พ.ศ. 2508 ตั้งกองลูกเสืออากาศขึ้นซึ่งเป็นโรงเรียนแรกในประเทศไทยและในทวีปเอเชีย โดยการสนับสนุนของ อาจารย์เพทาย อมาตยกุล กับ จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พ.ศ. 2511 สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้นทันสมัย ณ ที่ตั้งใหม่ใกล้โรงเรียนนายเรืออากาศ ทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 แบ่งส่วนบริหารโรงเรียนเป็น แผนกอนุบาล แผนกประถมศึกษา และแผนกมัธยมศึกษา เปิดเรียนตั้งแต่อนุบาลชั้นปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนกวิทยาศาสตร์และศิลปะ
- พ.ศ. 2520 กองทัพอากาศได้เสนอโอนกิจการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยระดับมัธยมศึกษาให้กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการลงนามข้อตกลงและมอบโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการยินดีรับมอบทั้งกิจการ อาคาร สถานที่ วัสดุ และบุคลากร และได้มีการลงนามตามข้อตกลงอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
ทำเนียบผู้บริหาร
แก้ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
---|---|---|---|
1 | ขุนอักษรสิทธิ์ | พ.ศ. 2490 | พ.ศ. 2493 |
2 | นายท้วน แก้วกร | พ.ศ. 2493 | พ.ศ. 2494 |
3 | นายประสิทธิ์ พิมล | พ.ศ. 2494 | พ.ศ. 2495 |
4 | เรืออากาศตรี สุชาติ งามถิ่น | พ.ศ. 2495 | พ.ศ. 2498 |
5 | เรืออากาศเอก ณรงค์ ศรเกษตริน | พ.ศ. 2498 | พ.ศ. 2499 |
6 | เรืออากาศเอก ณรงค์ ศรเกษตริน (สมัยที่ 2) | พ.ศ. 2499 | พ.ศ. 2504 |
7 | นาวาอากาศตรี พิมล จักรทอง | พ.ศ. 2504 | พ.ศ. 2508 |
8 | นาวาอากาศตรี สนิท นามเรืองศรี | พ.ศ. 2508 | พ.ศ. 2514 |
9 | นาวาอากาศโท พรหม ไชยลาภ | พ.ศ. 2514 | พ.ศ. 2517 |
10 | นางสุนันท์ อยู่คงดี | พ.ศ. 2517 | พ.ศ. 2518 |
11 | นาวาอากาศโท สำเนียง อินทรสุวรรณ | พ.ศ. 2518 | พ.ศ. 2520 |
12 | นาวาอากาศเอก ปกรณ์ เติมทอง | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2521 |
13 | นายดุสิต พุนพอน | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2521 |
14 | นายประทีป สุขวารี | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2524 |
15 | นายสมชาย นพเจริญกุล | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2524 |
16 | นายไพบูลย์ ภู่พงษ์พันธ์ | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2527 |
17 | นายเทพ เที่ยงตรง | พ.ศ. 2527 | พ.ศ. 2530 |
18 | นายอนันต์ บุญส่ง | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2534 |
19 | นายสงพงษ์ รุจิรวรรธน์ | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2535 |
20 | นายสนิทพงศ์ นวลมณี | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2539 |
21 | นายวิวัฒน์ พวงมะลิต | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2542 |
22 | นายอุดร บุญถาวร | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2544 |
23 | นางลัดดา พร้อมมูล | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2547 |
24 | ดร.เกษม สดงาม | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2551 |
25 | นายเฉลิมชัย จันทรมิตรี | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2556 |
26 | ดร.วิสิทธิ์ ใจเถิง | พ.ศ. 2556 | พ.ศ. 2561 |
27 | ดร.สุมนา ธิกุลวงษ์ | พ.ศ. 2561 | 2567 |
28 | นายธัญวิชญ์ ไตรรัตน์ | พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน |
แผนการเรียน
แก้มัธยมศึกษาตอนต้น
แก้- วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Gifted)
- STEM
- เตรียมทหาร
- English Program (EP)
- ห้องเรียนปกติ (ทั่วไป)
มัธยมศึกษาตอนปลาย
แก้- วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Gifted)
- วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (SM)
- คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ (ME)
- ภาษาอังกฤษ-ภาษาอังกฤษ (EE)
- ภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น (EJ)
- ภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน (ECH)
- ภาษาไทย-สังคมศึกษา (TS)
- ธุรกิจ-เทคโนโลยี (BT) /ภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส (EF)
- International Program (IP)
คณะสี
แก้- คณะเชียงแสน (สีเหลือง)
- คณะสุโขทัย (สีชมพู)
- คณะอู่ทอง (สีเขียว)
- คณะอยุธยา (สีแสด)
- คณะรัตนโกสินทร์ (สีม่วง)
รายชื่อศิษย์เก่าทีมีชื่อเสียง
แก้- สราวุฒิ มาตรทอง (อ้น) : ดารานักแสดงช่อง 3
- ชัยวัฒน์ ทองแสง (ต๊อบ) : ดาราภาพยนตร์ นายแบบ
- ประถมาภรณ์ รัตนภักดี (อ้อม) : นักแสดงสังกัดช่อง 7
- วรินทร จตุรภุช (สต๊อป) : ศิลปินเดอะสตาร์ ค่าย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- ภูริวัชร์ ธีระชาติ (ถังเบียร์) : แชมป์ AF 10
- เนติเจน เนติรัตนไพบูลย์ (สไปรท์) : ยูทูเบอร์ ช่อง SpriteDer SPD
- ณัฐธิชา นามวงษ์ (เก๋ไก๋) : นักแสดง , ยูทูเบอร์ ช่อง Kaykai Salaider
- รชยา ทัพพ์คุณานนต์ (มินมิน) : สมาชิก BNK48 รุ่น 2
- พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว (สารวัตรศิว) : ศิษย์เก่า โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 51, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 67, อดีตสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 1 กองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจทางหลวง ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (เสียชีวิตแล้ว)
โรงเรียนอื่น ๆ ในเครือ
แก้- โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย
- โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ประถม
- โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒
อ้างอิง
แก้- คู่มือ นักเรียน ผู้ปกครองโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (ปีการศึกษา 2551)[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
- คู่มือนักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยประจำปีการศึกษา 2566[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
- หนังสืออนุสรณ์ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ปีการศึกษา 2553[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2006-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน