สถานีเสนาร่วม

สถานีรถไฟฟ้าในอนาคตของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท

สถานีเสนาร่วม (อังกฤษ: Sena Ruam Station, รหัส N6) เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ยังไม่ได้เริ่มการก่อสร้าง ในเส้นทางสายสุขุมวิท มีการกำหนดตำแหน่งสถานีซึ่งจะยกระดับเหนือถนนพหลโยธิน ปากซอยพหลโยธิน 9 (ซอยสีฟ้า) ในพื้นที่เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

เสนาร่วม
N6

Sena Ruam
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)
สาย
ราง2
ข้อมูลอื่น
สถานะสถานีในอนาคต
คาดว่าเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2569
รหัสสถานีN6
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2575
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
สะพานควาย
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท
สถานีในอนาคต
อารีย์
มุ่งหน้า เคหะฯ
     สายสุขุมวิทไม่หยุดรับที่นี่

ที่ตั้ง แก้

โครงการกำหนดที่ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน บริเวณปากซอยพหลโยธิน 9 (ซอยสีฟ้า) ด้านหน้าโรงพยาบาลประสานมิตร อาคารอีเอสวี และอาคารเอไอเอส ทาวเวอร์ 2 ในพื้นที่ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

ประวัติโครงการ แก้

ตั้งแต่แรกเริ่ม สถานีเสนาร่วมเป็นเพียงหนึ่งในสองโครงการศึกษาการเพิ่มสถานีในอนาคต เพื่อรองรับกับประชาชนที่จะมาใช้บริการที่โรงพยาบาลประสานมิตร ตลอดจนชุมชนใกล้เคียง แต่เนื่องจากในช่วงก่อสร้างโครงการบีทีเอสซีไม่ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของย่าน จึงได้จัดเตรียมตอม่อแบบพิเศษที่รองรับการก่อสร้างสถานีในอนาคตแทนการก่อสร้างตัวสถานี และเก็บรหัสสถานีไว้สำหรับการเก็บค่าโดยสาร ต่อมาได้มีการประเมินโอกาสในการเติบโตเป็นระยะ ซึ่งผลจากการประเมินปรากฏว่าไม่คุ้มทุนเช่นเดียวกับสถานีศึกษาวิทยาในระยะแรก บีทีเอสซีจึงยกเลิกโครงการสถานีและเก็บรหัสสถานีไว้เพื่อคิดค่าโดยสารตามระยะทางตามเดิม[1] อย่างไรก็ดีในคราวการเจรจาสัญญาสัมปทานฉบับใหม่เมื่อ พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานครได้ยื่นข้อเสนอให้บีทีเอสซีทบทวนการก่อสร้างสถานีเสนาร่วมอีกหนึ่งแห่ง จากที่บีทีเอสซีกำลังก่อสร้างสถานีศึกษาวิทยาในขณะนั้น (สถานีเซนต์หลุยส์ในปัจจุบัน) เมื่อบีทีเอสซีได้ศึกษาและพบว่าปัจจุบันย่านดังกล่าวมีการเติบโตไปไกลกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งการเติบโตของย่านธุรกิจถนนพหลโยธิน อาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านค้าร้านอาหารระดับสูง คอนโดมิเนียม ตลอดจนมีโครงการใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บีทีเอสซีฟื้นฟูแผนการก่อสร้างสถานีขึ้นอีกครั้ง เพื่อรองรับการเติบโตของย่านดังกล่าว[2] ปัจจุบันโครงการได้พักดำเนินการไม่มีกำหนดเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับสัญญาสัมปทานส่วนหลักใกล้หมด โดยบีทีเอสซีจะโอนถ่ายงานออกแบบที่สำเร็จให้กรุงเทพมหานคร (หรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับโอนโครงการจากรัฐบาล) เพื่อนำไปดำเนินการจริงต่อไป

แผนผังสถานี แก้

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (อารีย์)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (สะพานควาย)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ซอยพหลโยธิน 9 (ซอยสีฟ้า), ซอยพหลโยธิน 11 (ซอยเสนาร่วม), สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ, โรงพยาบาลประสานมิตร

รูปแบบสถานี แก้

โครงสร้างสถานีเสนาร่วม จะมีรูปแบบสถานีคล้ายสถานีส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท มีลิฟต์รับรองผู้พิการทั้งหมด 4 ตัว บันไดเลื่อน ฝั่งละ 2 ตัว ชานชาลาเป็นแบบ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ตัวสถานีประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา มีประตูกั้นชานชาลาแบบ Half Height Screen Doors ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

สิ่งอำนวยความสะดวก แก้

  • ลิฟต์ สำหรับผู้พิการหรือผู้สูงอายุ ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและจากชั้นขายบัตรโดยสารไปชั้นชานชาลาทั้ง 2 ฝั่ง

อ้างอิง แก้

  1. 27 สิงหาคม 2561. กทม.แจงบีทีเอสเก็บเงินเพิ่ม 2 สถานีกำลังก่อสร้าง เหตุระยะทางยาวกว่าปกติ เก็บถาวร 2020-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. กรมประชาสัมพันธ์, สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563
  2. 26 สิงหาคม 2563. Next Station!! สถานีรถไฟฟ้า “ศึกษาวิทยา”. ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์, สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563