สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kasetsart University Station, รหัส N13) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับ ในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ฝั่งตะวันออก ในพื้นที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ N13 Kasetsart University | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||
![]() สถานีฯ มองจากป้ายรถเมล์หน้ามหาวิทยาลัย ถนนพหลโยธิน | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°50′31″N 100°34′36″E / 13.84194°N 100.57667°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°50′31″N 100°34′36″E / 13.84194°N 100.57667°E | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ราง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | N13 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[1] | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 1,609,302 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||
![]() |
สถานีมีปริมาณผู้โดยสารสูงสุดในช่วงงานเกษตรแฟร์ประจำปีที่จัดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีรายงานว่ามีผู้โดยสารผ่านสถานีทั้งสิ้น 676,571 คน ระหว่างวันที่ 3-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[2]
ที่ตั้ง แก้ไข
บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ฝั่งตะวันออก ในพื้นที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ชื่อสถานี แก้ไข
เดิมทีสถานีแห่งนี้ใช้ชื่อในแผนงานว่า สถานีเกษตร ตามชื่อทางแยกใกล้กับสถานีคือแยกเกษตร และชื่อในระหว่างการก่อสร้างว่า สถานีเกษตรศาสตร์ ตามชื่อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่นเดียวกับการตั้งชื่อสถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหงของ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ว่า สถานีรามคำแหง แต่ในช่วงก่อนเปิดให้บริการ บีทีเอสซี และกรุงเทพมหานคร ได้แก้ไขชื่อสถานีครั้งสุดท้ายเป็น สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการแจ้งยืนยันกับกรมการขนส่งทางราง เพื่อสื่อถึงสัญลักษณ์ใหญ่ของพื้นที่นั่นคือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อนึ่ง ชื่อสถานีเกษตรศาสตร์ ที่ไม่ได้ถูกใช้งาน ปัจจุบันได้ถูกกำหนดให้เป็นชื่อสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ที่จะตั้งภายในบริเวณประตู 1 ฝั่งถนนงามวงศ์วาน ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แผนผังของสถานี แก้ไข
U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (เสนานิคม) | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (กรมป่าไม้) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ธนาคารออมสิน สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรมส่งเสริมการเกษตร, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานใหญ่ |
อนึ่ง หลังชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้าและเย็น วันจันทร์-ศุกร์ จะมีรถไฟฟ้าบางขบวน ให้บริการถึงสถานีนี้เป็นสถานีสุดท้าย โดยหลังจากส่งผู้โดยสารออกจากขบวนรถแล้ว รถไฟฟ้าจะทำการสับรางบริเวณรางหลีกปลายสถานี (Pocket Track) เพื่อกลับทิศทางของขบวนรถ หรือจอดพักเพื่อเตรียมให้บริการต่อไปในช่วงเย็น ในบางขบวนที่มีการกลับทิศทางขบวนรถแล้ว รถไฟฟ้าขบวนดังกล่าวจะตีรถเปล่า ไม่หยุดรับส่งผู้โดยสาร ตั้งแต่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-สถานีห้าแยกลาดพร้าว เพื่อนำขบวนรถเข้าจัดเก็บ ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต หรือบางขบวนอาจจะกลับให้บริการต่อในเส้นทางเต็มระยะตั้งแต่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-สถานีเคหะฯ เพื่อมุ่งหน้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงเคหะฯ แทน
รายละเอียดของสถานี แก้ไข
รูปแบบของสถานี แก้ไข
เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา มีประตูกั้นชานชาลาแบบ Half Height Platform Screen Doors ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด[3]
สัญลักษณ์ของสถานี แก้ไข
ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ
ทางเข้า-ออก แก้ไข
ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ ได้แก่
- 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน (บันไดเลื่อน)
- 2 สำนักงานชุมสายโทรศัพท์บางเขน, ถนนประเสริฐมนูกิจ, ซอยพหลโยธิน 38 (บันไดเลื่อน)
- 3 กรมส่งเสริมการเกษตร, โรงพยาบาลสัตวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ลิฟต์)
- 4 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่บางเขน, ศูนย์โตโยต้า กรุงไทย, โรงแรมมารวยการ์เด้น (ลิฟต์)
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออกที่ 2 บริเวณด้านหน้าสำนักงานชุมสายโทรศัพท์บางเขน และทางออกที่ 3 บริเวณด้านหน้ากรมส่งเสริมการเกษตร
เวลาให้บริการ แก้ไข
ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[4] | |||
ชานชาลาที่ 1 | |||
E23 | เคหะฯ | 05.35 | 23.36 |
E15 | สำโรง | – | 23.50 |
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | – | 00.21 |
ชานชาลาที่ 2 | |||
N24 | คูคต | 05.21 | 00.26 |
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง แก้ไข
ถนนพหลโยธิน รถขสมก. สาย 26 34 39 59 107 114 129 185 503 522 543(ท่าน้ำนนท์) รถเอกชน สาย 126 524 1-3 (34) 1-5(39)
ถนน ประเสริฐมนูกิจ รถขสมก. สาย 178 รถเอกชน สาย 1-62
ถนน งามวงศ์วาน รถขสมก. สาย 24 63 206 522 รถเอกชน สาย 104 545 1-62
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้ไข
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- กรมส่งเสริมการเกษตร
- โรงพยาบาลสัตว์เกษตร
- กรมยุทธโยธาทหารบก
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่ บางเขน
การเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าในอนาคต แก้ไข
- รถไฟฟ้าสายน้ำตาล เชื่อมต่อที่สถานีแยกเกษตร โดยผ่านสะพานเชื่อมตามแนวซอยพหลโยธิน 38 ระยะทางประมาณ 200 เมตร
ระเบียงภาพ แก้ไข
-
ถนนพหลโยธินบริเวณสถานีฝั่งหน้ามหาวิทยาลัย
-
ถนนพหลโยธินบริเวณสถานีฝั่งกรมส่งเสริมการเกษตร
-
ทางออกหมายเลข 1
-
บันไดเลื่อนทางออกหมายเลข 1
-
ธนาคารออมสิน ใกล้ทางออกหมายเลข 1
-
ทางเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใกล้ทางออกหมายเลข 1
-
ป้ายรถโดยสารประจำทางหน้ามหาวิทยาลัย ใกล้ทางออกหมายเลข 1
-
ทางออกหมายเลข 3
-
กรมส่งเสริมการเกษตร
-
ลิฟต์โดยสารชินเดล่อร์ รุ่น 5500 แบบไม่มีห้องเครื่อง(MRL) บริเวณทางออกหมายเลข 3
-
ชั้นออกบัตรโดยสาร
-
ซุ้มตู้โทรศัพท์ในสถานี
-
ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร
-
ชั้นชานชาลา
-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มองจากชานชาลา
-
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่
-
กรมส่งเสริมการเกษตร
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ เปิดเพิ่มรถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 สถานี นั่งฟรี 1 เดือน เริ่ม 4 ธ.ค.นี้
- ↑ "เกษตรแฟร์ทำยอด! คนใช้รถไฟ-รถไฟฟ้าสูงสุดรอบ 3 ปี".
- ↑ "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2019-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-01-29.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.