สถานีสนามเป้า
สถานีสนามเป้า (อังกฤษ: Sanam Pao Station, รหัส N4) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับ ในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร บริเวณค่ายทหารและสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ศูนย์ข่าววิทยุกองทัพบก ย่านสนามเป้า
สนามเป้า N4 Sanam Pao | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||
ชานชาลาสถานีสนามเป้า | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°46′21.44″N 100°32′31.53″E / 13.7726222°N 100.5420917°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°46′21.44″N 100°32′31.53″E / 13.7726222°N 100.5420917°E | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ราง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | N4 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 556,138 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||
![]() |
ที่ตั้ง แก้
ถนนพหลโยธิน บริเวณด้านหน้ากองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ด้านทิศใต้ของซอยพหลโยธิน 3 (ลือชา 2) ในพื้นที่แขวงพญาไท แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
แผนผังสถานี แก้
U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (อารีย์) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล ม.2 รอ.) กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม.พัน 1 รอ.) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5,ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก,โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย, ศูนย์ข่าววิทยุกองทัพบก, โรงพยาบาลพญาไท 2, เอส เอ็ม ทาวเวอร์ |
รูปแบบของสถานี แก้
เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา
ทางเข้า-ออก แก้
- 1 โรงพยาบาลพญาไท 2, เอส เอ็ม ทาวเวอร์, โชว์รูมรถยนต์ฮอนด้า, เอส ซี ซุปเปอร์ คาร์, ธนาคารกรุงเทพ สาขาสนามเป้า,ธนาคารกสิกรไทย สาขาสนามเป้า, อาคารยาคูลท์, ป้ายรถประจำทางไปหมอชิต (บันไดเลื่อน)
- 2 กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5,ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก,โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย,ศูนย์ข่าววิทยุกองทัพบก ป้ายรถประจำทางไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
- 3 เซเว่นอิเลฟเว่น, ซอยพหลโยธิน 3 (ซอยลือชา 2), กิฟฟารีน, บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.), ป้ายรถประจำทางไปหมอชิต
- 4 ซอยพหลโยธิน 2 (ซอยกาญจนาคม), อาคารแสงโสม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสนามเป้า, อาคารวิเศษศิริ, บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน), โชว์รูมรถยนต์โตโยต้า (ลิฟต์)
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 หน้าเอส ซี ซุปเปอร์ คาร์ และ ทางออก 3 หน้าเซเว่นอีเลฟเว่น
เวลาให้บริการ แก้
ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[1] | |||
ชานชาลาที่ 1 | |||
E23 | เคหะฯ | 05.20 | 23.51 |
E15 | สำโรง | – | 00.05 |
ชานชาลาที่ 2 | |||
N24 | คูคต | 05.51 | 00.10 |
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | – | 00.24 |
การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น แก้
รถโดยสารประจำทาง แก้
ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า สะพานควาย รถขสมก. สาย 26 29 39 54 59 63 77 97 204 502 503 509 510 A2 รถเอกชน สาย 8 27 29 39 74 97 157
ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถขสมก. สาย 26 29 39 54 59 63 77 97 204 502 503 509 510 A2 B2 รถเอกชน สาย 8 27 29 39 74 97 157
ถนนพหลโยธิน | ||||
---|---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ | |
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) | ||||
26 | มีนบุรี | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | เส้นทางผ่านถนนพหลโยธิน-รามอินทรา | |
29 | รังสิต | หัวลำโพง | เส้นทางผ่านถนนวิภาวดีรังสิต | |
34 | รังสิต | หัวลำโพง | เส้นทางผ่านถนนพหลโยธิน | |
39 | ตลาดไท | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | เส้นทางผ่านถนนพหลโยธิน | |
54 | ประตูน้ำ | ห้วยขวาง | เส้นทางวิ่งเป็นวงกลม | |
59 | รังสิต | สนามหลวง | ||
63 | นนทบุรี | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ||
77 | เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) | ||
97 | กระทรวงสาธารณสุข | โรงพยาบาลสงฆ์ | ||
204 | ห้วยขวาง | ท่าน้ำราชวงศ์ | เฉพาะรถธรรมดา | |
502 | มีนบุรี | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | เส้นทางผ่านถนนลาดพร้าว-เสรีไทย | |
503 | รังสิต | สนามหลวง | เส้นทางผ่านถนนพหลโยธิน | |
509 | พุทธมณฑลสาย 2 | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) | ||
510 | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | เส้นทางผ่านถนนวิภาวดีรังสิต | |
A2 | ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | เส้นทางขึ้นโทลล์เวย์ | |
รถเอกชนร่วมบริการ | ||||
8 | แฮปปี้แลนด์ | สะพานพุทธ | เฉพาะรถธรรมดา | |
8 | เคหะร่มเกล้า | สะพานพุทธ | เฉพาะรถปรับอากาศ | |
27 | มีนบุรี | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | เส้นทางผ่านถนนลาดพร้าว-เสรีไทย | |
28 | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) | ||
29 | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) | หัวลำโพง | เส้นทางผ่านถนนวิภาวดีรังสิต | |
38 | สถาบันราชภัฎจันทรเกษม | มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา | ||
39 | บางขันธ์ | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ||
74 | คลองเตย | ห้วยขวาง | ||
97 | ท่าน้ำนนทบุรี | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ||
108 | เดอะมอลล์ท่าพระ | รัชโยธิน | ||
157 | อ้อมใหญ่ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) | ||
177 | บางบัวทอง | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | วงกลม |
รถโดยสารอื่น ๆ แก้
- รถรับส่ง (shuttle bus) ระหว่างสถานีสนามเป้า - ศาลาว่าการ กทม. 2 ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00 - 20.00 น.
สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้
- กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล ม.2 รอ.) และกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม.พัน 1 รอ.)
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
- โรงพยาบาลพญาไท 2
- สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (อาคารยาคูลท์)
- สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) (อาคารยาคูลท์)
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) (อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์)
- บรรษัท บริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.)
- ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก
- โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
- ศูนย์ข่าววิทยุกองทัพบก
- บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาคารพญาไท มหาวิทยาลัยศรีปทุม (อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์)
- หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร (อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์)
- โรงแรมวิคสาม แบงค์กอก พหลโยธินซอยสาม
- The Seasons Mall
- อาคารสำนักงาน
เหตุการณ์ แก้
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 นางสาวดวงใจ จันทะนันท์ อายุ 24 ปี ได้กระโดดลงมาจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสนามเป้าระหว่างมีการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่งผลให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา[2]
อ้างอิง แก้
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-21. สืบค้นเมื่อ 2011-05-02.