สถานีบางบัว (อังกฤษ: Bang Bua station; รหัส: N15) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธินในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563[1][2]

บางบัว
N15

Bang Bua
สถานีบางบัว มุมมองจากทิศทางมุ่งหน้าถนนพหลโยธินฝั่งขาเข้า
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°51′22″N 100°35′07″E / 13.8561°N 100.5852°E / 13.8561; 100.5852
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีN15
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 มิถุนายน พ.ศ. 2563; 3 ปีก่อน (2563-06-05)
ชื่อเดิมศรีปทุม
ผู้โดยสาร
2564619,258
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
กรมทหารราบที่ 11
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท กรมป่าไม้
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง แก้

ถนนพหลโยธิน บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยศรีปทุมและโรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตวิทยาคาร) ใกล้กับทางแยกบางบัว ในพื้นที่แขวงลาดยาวและแขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

การตั้งชื่อสถานี แก้

ในแผนงานแรกสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สถานะก่อนกรมการขนส่งทางราง) ได้กำหนดชื่อสถานีแห่งนี้ว่า สถานีบางบัว เนื่องจากที่ตั้งสถานีตั้งอยู่ในย่านชุมชนบางบัว และใกล้แยกบางบัว ซอยบางบัว (พหลโยธิน 49) โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตวิทยาคาร) และวัดบางบัว อันเป็นโรงเรียนและวัดเก่าแก่ในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามในคราวการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2556 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น สถานีศรีปทุม ตามข้อเสนอจากทางคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ได้มีการยื่นเรื่องร้องขอให้พิจารณาใช้ชื่อสถานีว่า ศรีปทุม แทน บางบัว ด้วยชื่อดังกล่าว เป็นนามพระราชทานโดย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่พระราชทานนาม ศรีปทุม ให้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัยศรีปทุมแทน วิทยาลัยไทยสุริยะ ที่ใช้มาตั้งแต่เดิม โดยมีความหมายว่า "ดอกบัว" เช่นเดียวกับคำว่าบางบัว[3] ภายหลังประชาชนที่อาศัยในย่านดังกล่าวเกิดการคัดค้านการใช้ชื่อสถานีอย่างหนัก จึงได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยัง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร รวมถึง กรุงเทพธนาคม และบีทีเอสซี เพื่อให้มีการพิจารณาเปลี่ยนชื่อสถานีกลับเป็น บางบัว ตามเดิม ด้วยเหตุที่ว่า ย่านที่ตั้งสถานีมีชื่อย่านว่าบางบัว ประชาชนรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และการใช้ชื่อ "ศรีปทุม" อาจเป็นการโฆษณา หรือการประชาสัมพันธ์ให้กับมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน หาใช่มหาวิทยาลัยรัฐบาลเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ถูกนำไปใช้เป็นชื่อสถานี รวมถึงอาจเข้าข่ายความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงสถานที่ด้วยเหตุผลเดียวกับที่ รฟม. เปลี่ยนชื่อสถานีหอวัง เป็นสถานีห้าแยกลาดพร้าว ด้วยเช่นกัน[4]

ภายหลังจากที่ได้รับการร้องเรียน รฟม. ได้ออกแถลงการณ์ว่าสาเหตุที่ รฟม. ตัดสินใจใช้ชื่อว่า "ศรีปทุม" เนื่องมาจากเป็นนามพระราชทาน ย่อมมีศักดิ์สูงกว่าชื่อย่านที่ประชาชนรู้จักกันโดยทั่วไป และความหมายคือ "ดอกบัว" ย่อมมีความหมายที่พ้องต้องกันกับย่านบางบัวอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม รฟม. ยินดีรับข้อร้องเรียนไปพิจารณาเพื่อกำหนดเป็นชื่อสถานีจริงก่อนเปิดให้บริการต่อไป[5] ซึ่งภายหลังจากที่ รฟม. ได้โอนโครงการให้กรุงเทพมหานครไปดำเนินการ ประชาชนย่านบางบัวจึงได้ร้องเรียนไปที่กรุงเทพมหานคร และกรุงเทพธนาคมอีกครั้ง ทั้งสองหน่วยงานจึงรับเรื่องพิจารณา และร้องขอให้ รฟม. อย่าเพิ่งดำเนินการติดตั้งป้ายชื่อสถานีจนกว่าจะได้รับการยืนยันจากทาง กทม. และบีทีเอสซีที่เป็นผู้ให้บริการ

ต่อมา กรุงเทพมหานคร ได้ยืนยันใช้ชื่อ "บางบัว" เป็นชื่อสถานีตามแผนงานเดิมของ สนข. เนื่องจากเหตุผลของฝั่งประชาชนฟังขึ้น รวมถึงมีการทำประชาพิจารณ์กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เห็นควรให้ใช้ชื่อสถานีว่า "บางบัว" กรุงเทพมหานครจึงได้แจ้งยืนยันต่อกรมการขนส่งทางรางว่าได้กำหนดให้สถานีดังกล่าวมีชื่อสถานีอย่างเป็นทางการว่า สถานีบางบัว ในที่สุด[6]

แผนผังของสถานี แก้

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (กรมป่าไม้)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (กรมทหารราบที่ 11)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก , ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, ซอยพหลโยธิน 49 (ซอยบางบัว), โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตวิทยาคาร), มหาวิทยาลัยศรีปทุม

รายละเอียดของสถานี แก้

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด[7]

สัญลักษณ์ของสถานี แก้

ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ

ทางเข้า-ออก แก้

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้าเชื่อมสะพานลอยเดิม ได้แก่

  • 1 โชว์รูมรถยนต์ฮอนด้า (ลิฟต์)
  • 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม (บันไดเลื่อน)
  • 3 คอนโดมิเนียม เซียล่า ศรีปทุม, โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร), ซอยพหลโยธิน 49/1, บิวทีค คลินิก (Beautique clinic) (บันไดเลื่อน)
  • 4 ซอยพหลโยธิน 46, วัดบางบัว (ลิฟต์)
  • ทางเดินยกระดับ ถนนผลาสินธุ์, กรมทางหลวงชนบท, สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางเขน

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยศรีปทุม และทางออก 3 บริเวณหน้าโรงเรียนบางบัว

อนึ่ง ทางเดินยกระดับช่วงแยกซอยพหลโยธิน 49/1 ลดระดับความสูงจากระดับปกติลงมาประมาณ 3 เมตรเนื่องจากกรุงเทพมหานครมีโครงการจะสร้างสะพานรถข้ามแยกดังกล่าวในอนาคต[8]

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[9]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.32 23.32
E15 สำโรง 23.47
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.17
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.24 00.29

การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
26 2 (กปด.12)   อู่มีนบุรี   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
26   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
34 1 (กปด.31)   อู่รังสิต   สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
39 1 (กปด.21)   ตลาดไท   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
1-8 (59) 1 (กปด.31)   อู่รังสิต สนามหลวง รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
1-8 (59) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
107 1 (กปด.11)   อู่บางเขน คลองเตย รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านดินแดง ลงด่านท่าเรือคลองเตย)
107 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
107 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
114 แยกลำลูกกา MRT พระนั่งเกล้า รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
114 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
1-14E (129)   อู่บางเขน สำโรง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านดินแดง ลงด่านบางนา)
1-14E (129) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
185 1 (กปด.31)   อู่รังสิต คลองเตย รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
503 สนามหลวง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
1-22E (522)   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) รถบริการทางด่วน (ขาไป ขึ้นด่านงามวงศ์วาน ลงด่านพระราม 6 (คลองประปา)
ขากลับ ขึ้นด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ลงด่านงามวงศ์วาน)
1-22E (522)   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
543ก 1 (กปด.11)   อู่บางเขน   ท่าน้ำนนทบุรี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

รถเอกชน แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
34 (1-3)   บางเขน   สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
39 (1-5)   รังสิต   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บจก.หลีกภัยขนส่ง
(เครือไทยสมายล์บัส)
126 (1-13) คลองตัน ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
126 (1-13)   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
524 (1-23)   หลักสี่   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.บางกอกยูเนี่ยนเซอร์วิส 524
(เครือไทยสมายล์บัส)
1-32E   บางเขน ตลาดพลู บจก.ไทยสมายล์บัส รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านประชาอุทิศ ลงด่านสุรวงศ์)
มีรถให้บริการน้อย
  • ถนนพหลโยธิน รถขสมก. สาย 26 34 39 59 107 114 129 185 503 522 543(ท่าน้ำนนท์) รถเอกชน สาย 39 51 126 524 มินิบัส สาย 34 39

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

อ้างอิง แก้

  1. "BTS เปิดให้บริการเพิ่ม 4 สถานี จากกรมป่าไม้ -วัดพระศรีมหาธาตุฯ". Manager Online. 5 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-05.
  2. "5 มิ.ย.63 BTS เปิดวิ่งฟรี 4 สถานี ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต". Thairath. 4 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-04.
  3. "รฟม. แจงเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้าบางบัว เป็น ศรีปทุม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-01. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  4. โวย รฟม. เปลี่ยนชื่อสถานี "บางบัว" เป็น "ศรีปทุม" เอื้อเอกชน
  5. ชื่อสถานีรถไฟฟ้าสำคัญไฉน ชวนให้คิดใช้หลักเกณฑ์ใด
  6. เปิดไม่ถึงเดือนรถไฟฟ้า “ลาดพร้าว-ม.เกษตร” คนนั่งทะลุแสนเที่ยว/วัน-สายสีน้ำเงินเตาปูน-ท่าพระไม่ถึงหมื่น
  7. "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต–สะพานใหม่–ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่–ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2019-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  8. "อยู่ร่วมกัน! สกายวอล์ก BTS "สถานีบางบัว" สร้างลดระดับรับสะพานข้าม กทม". ประชาชาติธุรกิจ. 2020-02-14. สืบค้นเมื่อ 2020-06-07. ทั้งนี้จากการสอบถามไปยังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไขข้อข้องใจว่าเป็นการปรับแบบก่อสร้างเพื่อรองรับสะพานข้ามแยกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่จะสร้างในอนาคต
  9. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.