เทศบาลเมืองศรีราชา

เทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย

ศรีราชา เป็นตำบลและเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ริมชายฝั่งอ่าวไทยทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นเมืองเศรษฐกิจอีกเมืองหนึ่งของจังหวัดชลบุรี

เทศบาลเมืองศรีราชา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Sriracha
จากบนซ้ายไปล่างขวา: ภาพมุมสูงเมืองศรีราชา สวนสุรศักดิ์มนตรี สำนักงานเทศบาลเมืองศรีราชา ถนนสุขุมวิท และเกาะลอย
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองศรีราชา
ตรา
ทม.ศรีราชาตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ทม.ศรีราชา
ทม.ศรีราชา
ที่ตั้งเทศบาลเมืองศรีราชาในจังหวัดชลบุรี
พิกัด: 13°09′46″N 100°55′19″E / 13.16278°N 100.92194°E / 13.16278; 100.92194พิกัดภูมิศาสตร์: 13°09′46″N 100°55′19″E / 13.16278°N 100.92194°E / 13.16278; 100.92194
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอศรีราชา
จัดตั้งเป็นเทศบาลเมือง พ.ศ. 2538
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีฉัตรชัย ทิมกระจ่าง
พื้นที่
 • ทั้งหมด4.058 ตร.กม. (1.567 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด24,127 คน
 • ความหนาแน่น5,945.54 คน/ตร.กม. (15,398.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04200702
ที่อยู่
สำนักงาน
ถนนเจิมจอมพล ตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
เว็บไซต์srirachacity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

 
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี

เมืองศรีราชาแต่เดิมเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดชลบุรี ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการประมง ในปี พ.ศ. 2443 จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงเกษตรพาณิชยการ (กระทรวงเกษตราธิการ) ในขณะนั้นได้ลาออกจากราชการมาประกอบอาชีพทำป่าไม้ตำบลศรีราชา ซึ่งได้พัฒนาและสร้างความเจริญให้กับศรีราชา ทำให้เป็นชุมชนการค้าและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอบางพระมาตั้งที่ศรีราชา แต่ยังคงใช้ชื่ออำเภอบางพระตามเดิม และในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบางพระมาเป็นอำเภอศรีราชาตามที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ตำบลศรีราชาได้รับการยกฐานะให้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลศรีราชา ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งเทศบาลตำบลศรีราชา จังหวัดชลบุรี[2] โดยใช้บ้านพักของจอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นสำนักงาน และใช้บ้านพักนี้มาจนถึงปี พ.ศ. 2513 จึงได้ย้ายมาสร้างอาคารถาวรเป็นสำนักงานในสถานที่ปัจจุบัน และต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลศรีราชาเป็นเทศบาลเมืองศรีราชา[3]

ภูมิศาสตร์ แก้

เทศบาลเมืองศรีราชาครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีราชาทั้งตำบล ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทาง ประมาณ 116 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 4.058 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นดิน 2.153 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 1.905 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่เกาะลอย 0.112 ตารางกิโลเมตร ฝั่งทะเลยาวประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ่าวไทย

เมืองศรีราชาอยู่ติดชายฝั่งทะเล จึงทำให้อากาศเย็นสบายตลอดปี หน้าร้อนไม่ร้อนจัดและไม่หนาวมาก อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีมีค่าอยู่ในช่วง 39.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ในช่วง 17 องศาเซลเซียส ถึง 26.82 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ 39.6 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้จะอยู่ในช่วง 960.3 ถึง 1,577.2 มิลลิเมตร ฝนตกมากที่สุดวัดได้ถึง 1,577.2 มิลลิเมตร ส่วนฝนตกน้อยที่สุดวัดได้ 960.3 มิลลิเมตร

ประชากร แก้

ปัจจุบันคาดว่าประชากรในเขตเทศบาลเมืองศรีราชามีจำนวนไม่ต่ำกว่า 40,000 คน ในขณะที่สถิติของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองศรีราชา ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 มีจำนวน 24,127 คน[1]

อาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ในเมืองศรีราชาจะทำการค้าและการประมง เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอยู่เป็นอันมาก และการเป็นเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เช่น เกาะลอย สวนเต่า ชายทะเล มีนิคมอุตสาหกรรมล้อมรอบ และมีเขตที่อยู่อาศัยล้อมรอบเมือง เช่น บ้านจัดสรร ตึกแถว อาคารชุด โรงแรมขนาดใหญ่ มีผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 90 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในเขตเทศบาลมีวัด จำนวน 2 วัด มีผู้นับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีโบสถ์คริสต์ 1 แห่ง และนับถือศาสนาอื่นอีกร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยมีวัดจีน 1 แห่ง

การขนส่ง แก้

 
ถนนสุขุมวิทหน้าเซ็นทรัล ศรีราชา

ถนนภายในเขตเทศบาลเมืองศรีราชาประกอบด้วยถนนสายหลักจำนวน 8 สาย นอกนั้นเป็นถนนสายรองและซอยจำนวน 30 สาย ในด้านการจัดการขนส่งมวลชน มีการเดินรถโดยสารประจำทางแบบธรรมดา และแบบปรับอากาศ เส้นทางระหว่างศรีราชาไปยังกรุงเทพมหานคร

ส่วนการขนส่งทางราง สถานีรถไฟที่ใกล้ตัวเมืองศรีราชาที่สุดอยู่ที่ตำบลสุรศักดิ์ คือ สถานีชุมทางศรีราชา เป็นสถานีบนทางรถไฟสายตะวันออก สายชุมทางฉะเชิงเทรา–บ้านพลูตาหลวง จากสถานีนี้สามารถเดินทางต่อไปจนถึงแหลมฉบัง สัตหีบ และมาบตาพุด

วัฒนธรรมและประเพณี แก้

วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นที่ยึดถือกันในเมืองศรีราชา เช่น

  • งานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว
  • ประเพณีงานรดน้ำดำหัว ในวันสงกรานต์
  • ประเพณีวันเข้าพรรษา
  • ประเพณีตักบาตรเทโว
  • งานวันที่ระลึกคล้ายวันอสัญกรรมของท่านจอมพลมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งชาวเมืองศรีราชาถือว่าเป็นปูชนียบุคคลที่มีคุณค่าอันสูงสุดของชาวศรีราชา (วันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองศรีราชา". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลศรีราชา จังหวัดชลบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (36 ก): 412–415. 3 กรกฎาคม 2488.
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 45–48. 24 กันยายน 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 2019-04-24.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้