เทศบาลเมืองพนัสนิคม

เทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย

เทศบาลเมืองพนัสนิคม เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นเทศบาลขนาดกลางมีเนื้อที่ครอบคลุมตำบลพนัสนิคมทั้งตำบล มีพื้นที่ 2.76 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 10,567 คน[1] อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 87 กิโลเมตร ห่างจากเมืองชลบุรี 22 กิโลเมตร ห่างจากเมืองฉะเชิงเทรา 28 กิโลเมตร

เทศบาลเมืองพนัสนิคม
ย่านการค้าเมืองพนัสนิคม
ย่านการค้าเมืองพนัสนิคม
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองพนัสนิคม
ตรา
คำขวัญ: 
พระพนัสบดีคู่บ้าน จักสานคู่เมือง ลือเลื่องบุญกลางบ้าน ตำนานพระรถ-เมรี ศักดิ์ศรีเมืองสะอาด เก่งกาจการทายโจ๊ก
ทม.พนัสนิคมตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ทม.พนัสนิคม
ทม.พนัสนิคม
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองพนัสนิคม
พิกัด: 13°27′04.5″N 101°10′38.5″E / 13.451250°N 101.177361°E / 13.451250; 101.177361
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอพนัสนิคม
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวิจัย อัมราลิขิต
พื้นที่
 • ทั้งหมด2.76 ตร.กม. (1.07 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด10,567 คน
 • ความหนาแน่น3,828.62 คน/ตร.กม. (9,916.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04200601
ที่อยู่
สำนักงาน
เทศบาลเมืองพนัสนิคม ถนนเมืองเก่า ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 20140
โทรศัพท์0 3846 1144 ต่อ 102
เว็บไซต์www.phanatnikhomcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

ในเมืองพนัสนิคม พบโบราณสถานเมืองเก่าสมัยทวารวดี มีอายุราว 1,500 ปี อยู่ในตำบลหน้าพระธาตุ ชาวบ้านมักเรียกพนัสนิคมว่าเมือเก่า ต่อมาเรียกสมัยหลังว่าเมืองพระรถ (ชื่อสมมุติจากรถเสนชาดกในปัญญาสชาดก เป็นที่แพร่หลายในชาวลาว) อายุอยู่ในราวหลัง พ.ศ. 1000 เมืองโบราณยุคทวารวดีที่พนัสนิคมนี้ได้ลดความสำคัญลงและในที่สุดรกร้างไปราวหลัง พ.ศ. 1500 เพราะเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนไป แล้วมีบ้านเมืองแห่งใหม่ใกล้ทะเลเติบโตมีความสำคัญแทนที่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการสถาปนาเมืองพนัสนิคมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 เป็นเมืองชั้นจัตวา สังกัดกรมท่า

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบการปกครองสิ่งใหม่เป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงโปรดเกล้าให้เมืองพนัสนิคมเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองชลบุรี มณฑลปราจีน เมื่อปี พ.ศ. 2447

เทศบาลเมืองพนัสนิคมถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 14 มีนาคม พ.ศ. 2480 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลวัดโบสถ์ และตำบลวัดหลวง อำเภอพนัสนิคม
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลกุฏโง้ง อำเภอพนัสนิคม
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลนาวังหิน และตำบลบ้านช้าง อำเภอพนัสนิคม
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลกุฎโง้ง อำเภอพนัสนิคม

สัญลักษณ์

แก้

ตราประจำเทศบาล

แก้

ตราประจำเทศบาลเมืองพนัสนิคมเป็นพระรูปพระรถเสนทรงม้า เพราะท้องที่นี้เดิมเรียกว่าเมืองพระรถ อันปรากฏหลักฐานโบราณสถาน พระธาตุเจดีย์ ซากกำแพง คูเมืองโบราณ พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผา รางหิน เป็นต้น ทำให้ชาวลาวอาสาปากน้ำ(ลาวนครพนม)ผู้บุกเบิกเมืองพนัสนิคมเชื่อได้ว่าเมืองร้างแห่งนี้เป็นเมืองพระรถ ตามเรื่องรถเสนชาดกในปัญญาสชาดก โดยเมืองพนัสนิคมจัดตั้งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทราในปี พ.ศ. 2371 และพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน พนัศนิคม) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิศาล (บางเอกสารเขียน อินพิศาล) ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน ศรีวิชัย) อุปฮาดเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน อินทรอาษา, อินทราษา) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) ลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม ประมาณ 2 พันคน นำโดยท้าวไชย อุปฮาดเมืองนครพนม บุตรชายชองพระบรมราฃา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมองค์ใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน จึงได้ไปอยู่เมืองพนัสนิคม

ใน พ.ศ. 2372 พระอินทอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม ได้ไปเกลี้ยกล่อมครอบครัวลาวเมืองนครพนมมาอยู่ที่เมืองพนัสนิคมอีกจำนวนหนึ่ง ด้วยเหตุที่เมืองพนัสนิคมชาวเมืองพนัสนิคมมีความเชื่อว่าเดิมคือ เมืองพระรถ เทศบาลจึงกำหนดตราเป็นพระรูปพระรถเสนทรงม้า

คำขวัญ

แก้

"พระพนัสบดีคู่บ้าน จักสานคู่เมือง ลือเลื่องบุญกลางบ้าน ตำนานพระรถ-เมรี ศักดิ์ศรีเมืองสะอาด เก่งกาจการทายโจ๊ก"

ประชากร

แก้

เมืองพนัสนิคมมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 12,000 คนเศษ ซึ่งประกอบไปด้วยชน 3 เชื้อชาติ คือชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยเชื้อสายลาว

ศาสนา

แก้
หอพระพนัสบดี

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายหินยาน และมหายาน นอกเหนือจากนั้นนับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม พนัสนิคมมี พระพนัสบดี เป็นพระคู่บ้าน คู่เมือง เป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากหินดำปางเสด็จจากดาวดึงส์ ประทับอยู่บนหลังสัตว์รูปร่างคล้ายนก มีปากคล้ายครุฑ มีเขาคล้ายโค และมีปีกคล้ายหงส์ เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) ประดิษฐานอยู่บนวิหารตรงข้ามสำนักงานเทศบาล

การประกอบอาชีพ

แก้

ชาวพนัสนิคมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพาณิชยกรรม และหัตถกรรมที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับชาวพนัสนิคมเป็นอย่างมากคือ "การจักสาน" เครื่องจักสานพนัสนิคมเป็นผลิตผลจากการใช้ไม้ไผ่มาเป็นวัสดุในการจัดทำ สามารถสร้างสรรค์เป็นรูปทรงและขนาดต่างๆ ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น กระเป๋า ตะกร้า ฝาชี เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ ฯลฯ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองพนัสนิคม". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้