พระพนัสบดี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระพนัสบดี พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี(พระพนัสบดี)ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแล้ว โดยสันนิษฐานว่าพระพนัสบดีองค์จริงนั้น สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี และพระพนัสบดีองค์จำลอง ประดิษฐาน ณ หอพระพระพนัสบดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามในประเทศไทยองค์หนึ่ง
พระพนัสบดี | |
---|---|
![]() | |
ชื่อเต็ม | พระพนัสบดี |
ชื่อสามัญ | พระพนัสบดี |
ประเภท | พระพุทธรูป |
ศิลปะ | ปางประทานพร ศิลปะทวารวดี หมวดพระพนัสบดี |
ความสูง | 45 เซนติเมตร |
วัสดุ | ศิลาดินดำเนื้อละเอียด |
สถานที่ประดิษฐาน | กรมศิลปากร และ พระพนัสบดีจำลอง ประดิษฐาน ณ หอพระพนัสบดี ถนนเมืองเก่า ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี |
ความสำคัญ | พระพุทธรูปสำคัญ ของ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี |
![]() |
ประวัติแก้ไข
พ.ศ. 2474 ได้มีผู้ขุดพบพระพุทธรูป "พระพนัสบดี" ในบริเวณตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นพระพุทธรูปจำหลักจากศิลาดำเนื้อละเอียด นักโบราณคดีกำหนดว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี พระพุทธรูปที่มีลักษณะเช่นพระพนัสบดีนี้ มีอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครหลายองค์ ทุกองค์งามสู้พระพนัสบดีองค์ที่ขุดพบนี้ไม่ได้ พระพนัสบดีมีพุทธลักษณะแปลกกว่าพระพุทธรูปอื่น ๆ คือ เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนบนดอกบัว ยกพระหัตถ์ทั้งสองเสมอพระอุระ จีบพระองคุลีพระหัตถ์ทั้งสอง เช่น พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา บนฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองมีลายธรรมจักร เบื้องพระปฤษฎางค์มีประภามณฑล ประทับยืนบนสัตว์พาหนะที่แปลกพิเศษกว่าสัตว์ทังหลาย เป็นภาพสัตว์ที่เกิดจากจินตนาการประติมากรผู้สร้างพระพุทธรูป คือ นำโค ครุฑ หงส์ มารวมเป็นสัตว์ตัวเดียวกัน สัตว์นั้นหน้าเป็นครุฑ เขาเป็นโค ปีกเป็นหงส์ โค ครุฑ หงส์ เป็นพาหนะของเทพเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวรทรงโค พระนารายณ์ทรงครุฑ พระพรหมทรงหงส์ เมื่อรวมเข้ากันจึงเป็นสัตว์พิเศษที่มีเขาเป็นโค มีจะงอยปากเป็นครุฑ และมีปีกเป็นหงส์ ผู้สร้างอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าอาศัยศาสนาพราหมณ์เป็นพาหนะ ในการประกาศพระศาสนา หรือหมายถึงพระพุทธเจ้าทรงชัยชนะแล้วซึ่งศาสนาพราหมณ์ก็ได้ พระพนัสบดีที่ขุดพบนี้ สูง 45 เซนติเมตร ครั้งเมื่อพระยาพิพิธอำพลเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
พระพนัสบดีองค์จำลอง สร้างเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2517 ส่วนองค์จริงกรมศิลปากรเก็บรักษาไว้เมื่อ ปี พ.ศ. 2474 พระพนัสบดีเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีอายุ 1,200-1,300 ปี แกะสลักจากศิลาดำเนื้อละเอียด เหมือนนกที่มีลักษณะกึ่งครุฑ กึ่งนกเค้าในท่าประทานพร กลางฝามือมีลวดลายคล้ายธรรมจักร นักโบราณคดียืนยันว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ประทับยืนบนหลังสัตว์ประหลาดที่สร้างขึ้นจากจินตนาการ รูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปนโต แก้มเป็นกระพุ้ง จะงอยปากใหญ่งุ้มแข็งแรง ปลายจะงอยปากจากบนลงล่าง มีรูทะลุคล้ายกับจะแขวนกระดิ่งได้ มีเขาทั้งคู่บิดเป็นเกลียวงอเข้าหากันคล้ายเขาโคตั้งอยู่เหนือตา ที่โคนเขามีหูสองหูอย่างหูโค มีปีสองข้างใหญ่สั้นที่กำลังกางออก ขาทั้งสองข้างพับแนบทรวงอกยกเชิดขึ้นอย่างขาของครุฑที่กำลังเหินลม
หอพระ พระพนัสบดีแก้ไข
โดยตั้งอยู่ ณ หอพระ กลางสระน้ำในเขต เทศบาลเมืองพนัสนิคม ภายในประดิษฐานพระพนัสบดีองค์จำลอง
ประเพณีแก้ไข
ประเพณีสรงน้ำประจำปี
ประกาศกรมศิลปากรแก้ไข
- พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี(โบราณวัตถุ) กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3684 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
อ้างอิงแก้ไข
- เมืองพระรถ เก็บถาวร 2008-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
บทความเกี่ยวกับพระพุทธรูป เทวรูป และรูปเคารพนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา |