ปัญญาสชาดก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ปัญญาสชาดก เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องเอกที่พระเถระนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวปรัมปราที่เป็นนิทานพื้นถิ่นแพร่หลายในยุคนั้น แล้วนำมารจนาเป็นชาดกขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2000 - 2200 โดยเขียนไว้ด้วยภาษาบาลี มีทั้งคำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและบทคาถาหรือบทร้อยกรองทั้งสิ้น 50 ชาดก
โครงสร้างของปัญญาสชาดกมีลักษณะเลียนแบบนิบาตชาดกหรืออรรถกถาชาดกที่พระสงฆ์ชาวลังกาประพันธ์ไว้ อันประกอบด้วย ปัจจุบันวัตถุ อดีตนิทาน บทคาถาภาษิต และสโมธานหรือประชุมชาดก
เนื้อเรื่อง
แก้เนื้อหาสาระของปัญญาสชาดกเป็นการพรรณนาถึงเรื่องราวเกี่ยวกับจริยวัตรของตัวละครเอกในเรื่อง คือ พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งได้มีปณิธานมุ่งมั่นในการบำเพ็ญบารมีในชาติต่าง ๆ อย่างมั่นคง ไม่ย่อท้อต่อความยากเข็ญและอุปสรรคนานาชนิด โดยปรารถนาสูงสุดเพียงได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเท่านั้น ซึ่งท้ายที่สุดของแต่ละชาติ พระโพธิสัตว์จะสามารถลุถึงสัมมาสัมโพธิญาณด้วยบารมีที่ถึงพร้อมตามแต่ละชาติ
ชื่อชาดกของปัญญาสชาดก
แก้ปฐมภาค
แก้มี 50 ชาดก
- สมุททโฆสชาดก
- สุธนชาดก
- สุธนุชาดก
- รัตนปโชตชาดก
- สิริวิบุลกิตติชาดก
- วิบุลราชชาดก
- สิริจุฑามณชาดก
- จันทราชชาด
- สุภมิตตชาดก
- สิริธรชาดก
- ทุลกบัณฑิตชาดก
- อาทิตชาดก
- ทุกัมมานิกชาดก
- มหาสุรเสนชาดก
- สุวรรณกุมารชาดก
- กนกวรรณราชชาดก
- วิริยบัณฑิตชาดก
- ธรรมโสณฑกชาดก
- สุทัสนชาดก
- วัฏฏังคุลีราชชาดก
- โปราณกบิลราชชาดก
- ธรรมิกบัณฑิตราชชาดก
- จาคทานชาดก
- ธรรมราชชาดก
- นรชีวชาดก
- สุรูปชาดก
- มหาปทุมชาดก
- ภัณฑาคารชาดก
- พหลาคาวีชาดก
- เสตบัณฑิตชาดก
- ปุปผชาดก
- พาราณสิราชชาดก
- พรหมโฆสราชชาดก
- เทวรุกขกุมารชาดก
- สลภชาดก
- สิทธิสารชาดก
- นรชีวกฐินทานชาดก
- อติเทวราชชาดก
- ปาจิตตกุมารชาดก
- สรรพสิทธิชาดก
- สังขปัตตชาดก
- จันทเสนชาดก
- สุวรรณกัจฉปชาดก
- สิโสรชาดก
- วรวงสชาดก
- อรินทมชาดก
- รถเสนชาดก
- สุวรรณสิรสาชาดก
- วนาวนชาดก
- พากุลชาดก
ปัจฉิมภาค
แก้มี 11 ชาดก
- โสนันทชาดก
- สีหนาทชาดก
- สุวรรณสังขชาดก
- สุรัพภชาดก
- สุวรรณกัจฉปชาดก
- เทวันธชาดก
- สุบินชาดก
- สุวรรณวงศชาดก
- วรนุชชาดก
- สิรสาชาดก
- จันทคาธชาดก
ชาดกแทรก
แก้มี 3 ชาดก