เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
เมืองฉะเชิงเทรา เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าเมืองทั้งตำบล
![]() | |
สมญา: เมืองแปดริ้ว | |
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°41′25″N 101°04′13″E / 13.69028°N 101.07028°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°41′25″N 101°04′13″E / 13.69028°N 101.07028°E | |
จังหวัด | ฉะเชิงเทรา |
อำเภอ | เมืองฉะเชิงเทรา |
ตำบล | หน้าเมือง |
จัดตั้ง | เป็นสุขาภิบาล พ.ศ. 2474 |
ยกฐานะ | เป็นเทศบาลเมือง พ.ศ. 2478 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | นายกลยุทธ ฉายแสง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.76 ตร.กม. (4.93 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 39,233 คน |
• ความหนาแน่น | 3,074.69 คน/ตร.กม. (7,963.4 คน/ตร.ไมล์) |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1 ถนนจุลละนันทน์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
ประวัติแก้ไข
เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเมืองฉะเชิงเทรา จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 โดยให้ยกฐานะตำบลหน้าเมือง ที่ตั้งอำเภอเมืองขึ้นเป็น "สุขาภิบาลเมืองฉะเชิงเทรา มณฑลปราจีน"[2] มีกรรมการสุขาภิบาลชุดแรก ประกอบด้วย พระยาสิทธิสินสาทร ข้าหลวงประจำจังหวัดในสมัยนั้นเป็นประธาน นายอำเภอและกรรมการอื่นอีกรวม 8 ท่าน เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น "เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา"[3] มีเนื้อที่ 5.52 ตารางกิโลเมตร โดยมีพระยาพิพัฒน์ภูมิพิเศษ เป็นนายกเทศมนตรี มีสมาชิกสภาเทศบาลชุดเริ่มการ จำนวน 39 ท่าน และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลจากเดิมออกไปอีก รวมเป็นเนื้อที่เขตเทศบาลทั้งหมดในปัจจุบัน 12.76 ตารางกิโลเมตร[4]
สถานที่ท่องเที่ยวแก้ไข
วัดโสธรวรารามวรวิหารแก้ไข
วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ถนนเทพคุณากร แต่เดิมมีชื่อว่า วัดหงษ์ ได้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีหลวงพ่อพุทธโสธรซึ่งเป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งออกแบบพิเศษเฉพาะรัชกาลที่ 9 โดยมีลักษณะเป็นอาคารมีหลังคาแบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย มีความกว้าง 44.50 เมตร ความยาว 123.50 เมตร และตรงส่วนกลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูงถึง 85 เมตร ยอดมณฑปนั้นมีลักษณะเป็นฉัตร 5 ชั้น มีความสูง 4.90 เมตร และยอดฉัตรเป็นทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม เมื่อก่อสร้างเสร็จจะเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดในโลก
ตลาดบ้านใหม่แก้ไข
ตลาดบ้านใหม่ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจภายในเมืองฉะเชิงเทรา เป็นตลาดริมแม่น้ำบางปะกงมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5[ต้องการอ้างอิง] สมัยก่อนมีชาวจีนหลายเชื้อสาย ทั้งจีนฮกเกี้ยน จีนแต้จิ๋ว และจีนแคะ อาศัยอยู่จำนวนมาก เนื่องจากถนนหนทางยังมีไม่ทั่วถึงมากนัก การเดินทางของผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยในสวนจึงจำเป็นต้องพึ่งพาแม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ตลอดทั้งวันจะเห็นเรือพาย เรือแจว และเรือโดยสารประจำทางแล่นขวักไขว่ไปมา ผู้คนที่อาศัยอยู่ในสวนฝั่งตรงข้ามจะพายเรือข้ามฝั่งมาขึ้นที่ท่าเรือหรือโป๊ะของร้านค้าและอาศัยฝากเรือ ผู้คนที่อยู่ไกลออกไปก็มักนั่งเรือประจำทางมายังตลาดบ้านใหม่เพื่อจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตลาดแห่งนี้ เดิมที่นี่เคยมีโรงสี โรงรำ ร้านค้าข้าว ค้ารำ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำและขนส่งสินค้าทางน้ำ ปัจจุบันไม่มีโรงสีและโรงรำต่าง ๆ แล้ว
ปัจจุบันที่นี่เป็นแหล่งการค้าขายของที่ระลึก ของเล่นโบราณ ไอศกรีมโบราณ และอื่น ๆ เป็นย่านชุมชนค้าขายของเก่า โดยเฉพาะอาหาร เช่น อาหารจีน อาหารไทย และอาหารประจำจังหวัด ร้านขายก๋วยเตี๋ยวแบบโบราณ ร้านกาแฟโบราณ เป็นต้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวแปดริ้วและต่างจังหวัด
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 48 ตอนที่ 38 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474
- ↑ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 1645 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2478
- ↑ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 90 ตอนที่ 180 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2516