ถนนศุภกิจ

ทางหลวงท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ถนนศุภกิจ หรือ ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0002 เป็นทางหลวงท้องถิ่นภายใต้ความดูแลของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เชื่อมระหว่างถนนชุมพลกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3200 โดยตลอดทั้งสายทางตั้งอยู่ในตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0002
ถนนศุภกิจ
แผนที่
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว1.06 กิโลเมตร (0.66 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก สะพานเสริมวิเศษ ใน อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
ปลายทางทิศตะววันออก ทล.3200 ใน อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ประวัติ แก้

ถนนศุภกิจปรากฎขึ้นครั้งแรกในเอกสารของทางราชการเมื่อปี พ.ศ. 2478 โดยมีจุดเริ่มต้นเส้นทางตั้งแต่บริเวณสะพานข้ามคลองท่าไข่ ทอดไปทางทิศตะวันออกและสิ้นสุดลงบริเวณคลองบ้านใหม่ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อไปยังอำเภอบางน้ำเปรี้ยว (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3200) รวมถึงยังไม่มีทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก[1] โดยที่มาของชื่อถนนศุภกิจนั้นยังไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าตั้งขึ้นมาเนื่องในโอกาสใด

 
เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวเด่นบนถนนศุภกิจ

ในปี พ.ศ. 2495 ถนนศุภกิจถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในฐานะถนนสายหลักในตัวเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และมีการขยายตัวของเมืองออกมาตั้งถิ่นฐานตามแนวเส้นทางถนนในรูปแบบตามแนวยาว (Road Linear Settlement) ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 จากภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผ่นที่ทหาร ได้มีการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3200 ขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่ออำเภอเมืองฉะเชิงเทรากับอำเภอบางน้ำเปรี้ยว[2] และถนนศุภกิจได้ถูกระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3200 ตามแผนที่แนบท้ายการเปลี่ยนแปลงแนวเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราในปี พ.ศ. 2516[3] และมีการเรียกชื่อสายทางว่า แยกทางหลวงหมายเลข 315 (ฉะเชิงเทรา) - บางน้ำเปรี้ยว ในปี พ.ศ. 2544 จึงสันนิษฐานว่าหมายรวมไปถึงถนนศุภกิจและถนนชุมพลจนบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304[4] และปรับกลับมาใช้ชื่อสายทาง ฉะเชิงเทรา–บางน้ำเปรี้ยว อีกครั้งในปี พ.ศ. 2564 จึงคาดว่าไม่ได้รวมถนนทั้งสองสายในเขตเทศบาลเมืองเข้าเป็นส่วนหนึ่งแล้ว[5]

ปัจจุบันถนนศุภกิจทั้งหมด อยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา[6] ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3200 โดยมีแนวเขตดูแลบรรจบกันบริเวณสะพานข้ามคลองบ้านใหม่ตามข้อมูลในระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวงของกรมทางหลวง[7] บางครั้งก็มีการเรียกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3200 ในช่วงเริ่มต้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของถนนศุภกิจเช่นกัน[8]

รายละเอียดของเส้นทาง แก้

ถนนศุภกิจ เป็นทางหลวงท้องถิ่น ชั้น 2 (ในเขตเมือง) มีระยะทาง 1.06 กิโลเมตร ขนาด 4 ช่องจราจร ผิวจราจรแบบคอนกรีตอัดแรง ความกว้าง 12.00 เมตร ตัดผ่านพื้นที่โซนเมืองที่เป็นพื้นที่การค้าดั่งเดิม และที่อยู่อาศัยความหนาแน่นปานกลางถึงหนาแน่นมาก ประกอบไปด้วยชุมชนวรรณยิ่ง 1–2 ชุมชนตรอกข้าวหลาม และชุมชนตลาดบ้านใหม่[6] ซึ่งจากการศึกษาในปี พ.ศ. 2549 ระบุว่าแนวถนนศุภกิจเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีปัญหาการจรารจติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนคือช่วงเช้าและช่วงเย็น เนื่องจากข้อจำกัดของเส้นทางทั้งช่องจราจรและเป็นเส้นทางเดียวจากตัวเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราที่ใช้มุ่งไปยังอำเภอบางน้ำเปรี้ยว[2]

ถนนศุภกิจ เริ่มต้นจากเชิงสะพานเสริมวิเศษซึ่งต่อเนื่องจากถนนชุมพล ผ่านแหล่งชุมชนเก่า ศาสนสถาน สมาคม และโรงเรียนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และสิ้นสุดบริเวณสะพานข้ามคลองบ้านใหม่ซึ่งบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3200[7] ซึ่งจุดเด่นคือมีมูลนิธิ สมาคม หรือศาสนสถานของคนไทยเชื้อสายจีนมากมายตลอดสายทาง เช่น มูลนิธิสว่างศรัทธาธรรมสถาน (อาคารเดิม)[9] มูลนิธิรุ่งเรืองธรรม[10] สมาคมสงเคราะห์การกุศลฉะเชิงเทรา[11] ศาลเจ้าแซ่โง้ว[12] และวัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)[13]

รายชื่อทางแยก แก้

เนื่องจากถนนศุภกิจ เป็นทางหลวงท้องถิ่นระยะสั้นในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ทำให้มีทางแยกในลักษณะสายซอยย่อยจำนวนมาก จึงขอแสดงเพียงรายชื่อทางแยกที่สามารถเชื่อมต่อไปยังถนนหลักเส้นอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้

รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 2-0002 (ถนนศุภกิจ) ทิศทาง: ชุมพล–ทล.3200
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ถนนศุภกิจ ชุมพล–ทล.3200
ฉะเชิงเทรา 0+000 เชื่อมต่อจาก:   สะพานเสริมวิเศษ ถนนชุมพล
ไม่มี ถนนเกื้อกูล ไปบรรจบถนนวรรณยิ่ง
ซอยศุภกิจ 1 ไปบรรจบถนนนรกิจ ไม่มี
ไม่มี ถนนวรรณยิ่ง ไปวัดแหลมใต้ บรรจบถนนสรรค์ประศาสน์
ถนนนรกิจ ไปวัดประตูน้ำท่าไข่ บรรจบ   ถนนมหาจักรพรรดิ์ ไม่มี
1+060 ซอยศุภกิจ 5 ไปวัดเทพนิมิตร ไม่มี
ตรงไป:   ทล.3200 ไปอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา พุทธศักราช ๒๔๗๘. เล่ม ๕๒ ก, ๑๐ ธ.ค. ๒๔๗๘. หน้า ๑๖๔๕
  2. 2.0 2.1 2.2 สยาม ค้าสุวรรณ. (2549) การพัฒนาพื้นที่เขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,:ม.ป.ท.
  3. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ๒๕๑๖. เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๐ ก. ๓๑ ธ.ค. ๒๕๑๖. หน้า ๙๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงพิเศษ ทางหลวงสัมปทาน และทางหลวงแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๔. เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง. ๑๘ ธ.ค. ๒๕๔๔. หน้า ๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงพิเศษ ทางหลวงสัมปทาน และทางหลวงแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๔. เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง. ๑ ก.ค. ๒๕๖๔. หน้า ๑
  6. 6.0 6.1 "แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา" (PDF). www.tbmccs.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 "ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง". roadnet2.doh.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-13. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
  8. "วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)". thai.tourismthailand.org (ภาษาอังกฤษ).
  9. "มูลนิธิสว่างศรัทธาธรรมสถาน". thailandtourismdirectory.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. ฉะเชิงเทรา (2016-08-27). "รุ่งเรืองธรรมฉะเชิงเทรา » ฉะเชิงเทรา". ฉะเชิงเทรา.
  11. "กอ.รมน.จังหวัดฉะเชิงเทรา มอบอุปกรณ์การแพทย์ป้องกันโควิด-19 ให้หน่วยกู้ภัยฉะเชิงเทราและกู้ภัยบางคล้า". สยามรัฐ. 2021-09-15.
  12. Gplace. "ศาลเจ้าแซ่โง้ว, ศาล". Gplace.
  13. "วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)". thai.tourismthailand.org (ภาษาอังกฤษ).