วัดเทพนิมิตร (จังหวัดฉะเชิงเทรา)

วัดในจังหวัดฉะเชิงเทรา

วัดเทพนิมิตร เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ทั้งหมด 25 ไร่เศษ

วัดเทพนิมิตร
แผนที่
ที่ตั้งตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดเทพนิมิตรสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2411 โดยท่านพระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโก) นามสกุล (ตงติ๊ด) จากวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ได้ธุดงค์ผ่านมา ญาติโยมเกิดความศรัทธา อุบาสิกาอิ่ม อุบาสิกาขำ อุบาสิกาหนู อุบาสิกาแมว อุบาสิกาอิน อุบาสิกาง่วน และคนอื่น ๆ ได้ซื้อที่ดินจากอุบาสิกาเล็ก เป็นราคา 3 ชั่ง (250 บาท) ส่วนอุบาสิกาเล็ก เจ้าของที่ดินช่วยออก 20 บาท พร้อมยกเหย้าเรือนถวายเพื่อสร้างวัด ท่านอ่อน เทวนิโภ เมื่อได้รับถวายที่ดินได้ลงมือสร้างกุฎิสงฆ์เป็นที่พัก ปลูกเป็นหมู่กุฎิล้อมหอฉัน มีที่สวดมนต์อยู่ตรงกลางปลูกตามแนวริมคลองบ้านใหม่ ต่อมาสร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง กว้าง 5 วา ยาว 7 วา 2 ศอก มุงด้วยกระเบื้องมอญมีศาลาเล็กด้านหน้า 2 หลัง แต่ศาลาเล็ก กว้าง 3 วา 3 ศอก ยาว 7 วา ส่วนมากใช้ไม้สักมุงกระเบื้องมอญ[1]สร้างแล้วเสร็จราว พ.ศ. 2421–2422 ตั้งชื่อวัดว่า "วัดเทพนิมิตร" มีพระท้วมปกครองวัด ชื่อของวัดมาจากกการก่อสร้างเสร็จโดยเร็วเปรียบประหนึ่งว่า มีเทวดามาช่วยสร้างให้ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2479

ปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวบ้านเรียก หลวงพ่อโต เป็นพระประธานประจําอุโบสถ พระครูศิริปัญญามุนี(อ่อน เทวนิโภ) ได้มาจากวัดแห่งหนึ่งทางจังหวัดราชบุรี เนื้อทองสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ปางสมาธิ สังฆาฏิ จีวร ลายดอกพิกุล และมีพระนอนกระจก สร้างโดยท่านพระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโภ) ราว พ.ศ. 2419 วัดยังได้รับพระราชทานพระรูปหล่อรัชกาลที่ 8 รูปหนึ่ง เป็นทองแดงลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 44 ซม. เมื่อ พ.ศ. 2480 ซึ่งปัจจุบันพระบรมรูปหล่อนี้ประดิษฐานไว้ด้านหน้าอุโบสถ[2]

อ้างอิง แก้

  1. "วัดเทพนิมิตร จังหวัดฉะเชิงเทรา".
  2. "วัดเทพนิมิตร". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.