สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา

สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 บนทางรถไฟสายตะวันออกของการรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา เป็นจุดรับส่งผู้โดยสาร ถึง สถานีรถไฟอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และสถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมทั้งยังเป็น 1 ใน 10 ของสถานีรถไฟขนาดใหญ่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นสถานีที่ขบวนรถไฟสินค้าที่มาจากสายชายฝั่งทะเลตะวันออกต้องแวะ เพื่อเปลี่ยนเส้นทางไปยังอีกช่วง

ชุมทางฉะเชิงเทรา
Chachoengsao Railway Station.JPG
อาคารสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนมหาจักรพรรดิ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สายรถไฟทางไกลสายตะวันออก
ชานชาลาระดับดิน
รางรางขนาด 1 เมตร
จำนวน 9 ทาง
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี3023 - ไทย: ฉท; อังกฤษ: CCS

ประวัติแก้ไข

สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราสร้างราวปี พ.ศ. 2470 แต่เดิมชื่อว่าสถานีเมืองแปดริ้ว ต่อมา พ.ศ. 2496 ได้ย้ายมายังที่ตั้งในปัจจุบัน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา ประมาณปี พ.ศ. 2528 หลังจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงฉะเชิงเทรา-สัตหีบ ของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้แล้วเสร็จ

สถานที่ท่องเที่ยวแก้ไข

สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราถูกใช้เป็นจุดเชื่อมต่อในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แนะนำการเดินทางด้วยรถไฟจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดฉะเชิงเทรา ในรูปแบบของวันเดย์ทริป[1] เนื่องจากตลอดสองข้างทางมีทิวทัศน์และธรรมชาติจากพื้นที่เกษตรกรรมตลอดสองฝั่งทางรถไฟ รวมถึงในตัวสถานียังมีการจัดแสดงหัวขบวนรถจักรไอน้ำ หมายเลข 182 อยู่บริเวณหน้าสถานี และสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับขนส่งมวลชนต่าง ๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทราโดยใช้การเดินทางด้วยรถสองแถวประจำทางเป็นหลัก[1] มีสถานที่แนะนำดังนี้

ทางคู่เลี่ยงเมืองแก้ไข

 
แผนผังโครงการก่อสร้างทางเลี่ยงย่านสถานีฉะเชิงเทรา

โครงการทางคู่เลี่ยงเมืองแก้ไข

โครงการทางคู่เลี่ยงเมือง (อังกฤษ: Chord Line) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างทางคู่ เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย โดยจะมีการก่อสร้างทางเลี่ยงย่านสถานีฉะเชิงเทรา เพื่อให้รถที่มาจากชุมทางคลองสิบเก้าสามารถวิ่งลัดไปท่าเรือแหลมฉบังได้ทันที โดยไม่ต้องเข้ามาในย่านสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา เพื่อลดเวลาในการขนส่งสินค้า

ปัจจุบันการก่อสร้างดังกล่าวได้เสร็จสิ้นแล้ว และเปิดให้บริการในการเชื่อมต่อเส้นทาง ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา - ชุมทางคลอง สิบเก้า - ชุมทางแก่งคอย เมื่อช่วงเดือนกันยายนของปี พ.ศ. 2562[2] ระยะทางรวมกว่า 106 กิโลเมตร[3]

ตารางเวลาการเดินรถแก้ไข

เที่ยวขึ้นแก้ไข

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางฉะเชิงเทรา ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ275 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 05.55 07.36 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 11.17
ร997 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.45 08.00 บ้านพลูตาหลวง 09.50 เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
ธ285 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.55 08.56 ชุมทางฉะเชิงเทรา 08.56 บชส.76-เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
ธ283 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.55 08.56 บ้านพลูตาหลวง 11.20 เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์
ธ281 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.00 09.30 กบินทร์บุรี 11.35
ช367 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10:10 11.45 ชุมทางฉะเชิงเทรา 11:30 บชส.76-มีเดินทุกวัน
ช389 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12:10 13.30 ชุมทางฉะเชิงเทรา 13:30
ธ279 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 13.05 14.20 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 17.27
ธ277 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 15.25 16.43 กบินทร์บุรี 18.20
ช391 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16:35 18.30 ชุมทางฉะเชิงเทรา 17:55
ช371 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17:40 19.20 ปราจีนบุรี 20:55 บชส.76-มีเดินทุกวัน
ธ383 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.25 20.00 ชุมทางฉะเชิงเทรา 20.00
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

เที่ยวล่องแก้ไข

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางฉะเชิงเทรา ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช384 ชุมทางฉะเชิงเทรา 05:45 05.45 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 07:45 บชส.76-มีเดินทุกวัน
ช372 ปราจีนบุรี 05:00 06.19 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08:15 บชส.76-มีเดินทุกวัน
ช388 ชุมทางฉะเชิงเทรา 07:05 07.05 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08:35 กซข.74-มีเดินทุกวัน
ธ278 กบินทร์บุรี 06.30 08.31 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.15
ธ280 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 06:58 10.22 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12:05
ช368 ชุมทางฉะเชิงเทรา 12:35 12.35 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14:10 บชส.76-มีเดินทุกวัน
ช390 ชุมทางฉะเชิงเทรา 14:05 14.05 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 15:25 ดีเซลราง
ธ282 กบินทร์บุรี 13:25 15.34 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17:15
ธ286 ชุมทางฉะเชิงเทรา 16:20 16.20 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18:25 เดินเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
ธ284 บ้านพลูตาหลวง 13.35 16.20 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.15 เฉพาะวันจันทร์-วันศุกร์
ร998 บ้านพลูตาหลวง 15.50 17.30 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.55 เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
ธ276 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 13:53 18.00 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 19:40
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

  1. 1.0 1.1 เพื่อนร่วมทาง (2020-11-26). "1 วัน นั่งรถไฟไปเที่ยวฉะเชิงเทรา". TAT Contact Center.
  2. admin (2019-09-11). "การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมเปิดโครงการรถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เดือนกันยายนนี้". Logistics Manager.
  3. "STATUS ล่าสุด รถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน (มีนาคม 2565) - การรถไฟแห่งประเทศไทย". www.railway.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)