สถานีหัวหมาก (อังกฤษ: Hua Mak station) เป็นสถานีรถไฟทางไกลสายตะวันออก, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์, รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ในพื้นที่แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร

สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีหัวหมาก

แก้
หัวหมาก
A4

Hua Mak
   
 
ชานชาลาแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′17″N 100°38′44″E / 13.73806°N 100.64556°E / 13.73806; 100.64556
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการเอเชีย เอรา วัน
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง4
การเชื่อมต่อ  หัวหมาก
  หัวหมาก
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ที่จอดรถมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีA4
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ23 สิงหาคม พ.ศ. 2553; 14 ปีก่อน (2553-08-23)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า   รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีต่อไป
รามคำแหง
มุ่งหน้า พญาไท
สายซิตี้ บ้านทับช้าง
มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ
สถานีก่อนหน้า   การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
สุขุมวิท 71 สายตะวันออก บ้านทับช้าง
ที่ตั้ง
 

สถานีหัวหมาก (รหัส: A4) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์แบบยกระดับในเส้นทางสายซิตี้ มีปลายทางที่สถานีพญาไทถึงสถานีสุวรรณภูมิ

ที่ตั้ง

แก้

อยู่บนแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ (จุดบรรจบถนนศรีนครินทร์ ถนนพระราม 9 และถนนมอเตอร์เวย์) ห่างจากทางแยกพัฒนาการ (จุดบรรจบถนนศรีนครินทร์และถนนพัฒนาการ) มาทางทิศเหนือประมาณ 400 เมตร ในพื้นที่แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยสถานีรถไฟฟ้าแห่งนี้จะคร่อมคลองหัวหมาก ฝั่งตะวันออกของถนนศรีนครินทร์ ขณะที่สถานีรถไฟหัวหมากจะอยู่ฝั่งตะวันตกของถนน[1]

สำหรับสถานีหัวหมากและสถานีรามคำแหงมีระยะห่างกันประมาณ 4 กิโลเมตร ส่วนสถานีหัวหมากถึงสถานีบ้านทับช้างมีระยะห่างกันประมาณ 5.7 กิโลเมตร

รายละเอียด

แก้

ทางเข้า–ออก

แก้
  • 1 ถนนกำแพงเพชร 7, สถานีรถไฟหัวหมาก,  

แผนผัง

แก้
U3
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายซิตี้ มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ราง เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2 สายซิตี้ มุ่งหน้า พญาไท
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ลานจอดรถยนต์

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายซิตี้
ชานชาลาที่ 1
A1 สุวรรณภูมิ จันทร์–ศุกร์ 05:42 00:12
เสาร์–อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:41 00:20
ชานชาลาที่ 2
A8 พญาไท จันทร์–ศุกร์ 05:43 00:15
เสาร์–อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:44 00:22

สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง สถานีหัวหมาก

แก้
หัวหมาก
YL11

Hua Mak
   
 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′10″N 100°38′28″E / 13.7361233°N 100.6411484°E / 13.7361233; 100.6411484
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการอีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล (อีบีเอ็ม)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ  หัวหมาก
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีYL11
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ03 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี)[2]
ชื่อเดิมพัฒนาการ
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า   รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ศรีกรีฑา
มุ่งหน้า ลาดพร้าว
สายสีเหลือง กลันตัน
มุ่งหน้า สำโรง
ที่ตั้ง
 

สถานีหัวหมาก (รหัส: YL11) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีเหลือง ยกระดับเหนือถนนศรีนครินทร์ใกล้กับทางแยกพัฒนาการ ในพื้นที่เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร[3]

ที่ตั้ง

แก้

สถานีหัวหมากตั้งอยู่เหนือถนนศรีนครินทร์ ระหว่างปากซอยศรีนครินทร์ 16 กับปากซอยศรีนครินทร์ 19 (จินดาอนันต์) ในพื้นที่แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร เดิมใช้ชื่อว่า "สถานีพัฒนาการ" ตามชื่อทางแยกที่อยู่ใกล้เคียง แต่ต่อมากรมการขนส่งทางรางได้มีการประชุมและมีมติเปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีหัวหมาก" ตามชื่อสถานีของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง[4][5]

รายละเอียด

แก้

ทางเข้า–ออก

แก้

ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่[6]

  • 1 คอนโดมิเนียมเดอะ ริช พระราม 9–ศรีนครินทร์ และริช พาร์ค, ริช วอล์ก ไลฟ์สไตล์ มอลล์, โรงแรมเซย์น กรุงเทพ, มัสยิดดาริสลาม,  , ป้ายรถประจำทางไปสวนหลวง (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)
  • 2 ศูนย์การค้าคาซ่า โอ ลูอาร์ (ลิฟต์)
  • 3 ซอยศรีนครินทร์ 16, อาคารพีเอสไอ, บจก. มิตซูยะ (ลิฟต์)   หัวหมาก ป้ายรถประจำทางสถานีหัวหมาก
  • 4 ซอยศรีนครินทร์ 12, โชว์รูมรถยนต์มือสองแพนด้าสปีด,   สถานีรถไฟหัวหมาก, ป้ายรถประจำทางไปบางกะปิ (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)

แผนผัง

แก้
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสีเหลือง มุ่งหน้า สำโรง (กลันตัน)
ชานชาลา 2 สายสีเหลือง มุ่งหน้า ลาดพร้าว (ศรีกรีฑา)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ถนนศรีนครินทร์

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีเหลือง
ชานชาลาที่ 1
YL23 สำโรง เต็มระยะ 05:51 00:21
ชานชาลาที่ 2
YL01 ลาดพร้าว เต็มระยะ 05:41 00:26

สถานีรถไฟทางไกล สถานีหัวหมาก

แก้

สถานีรถไฟหัวหมาก (รหัส: 3010; หม.) เป็นสถานีรถไฟชั้นที่ 1 ของรถไฟทางไกลของการรถไฟแห่งประเทศไทยในเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ในพื้นที่ถนนกำแพงเพชร 7 แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร อีกทั้งเป็นช่วงเริ่มต้นระบบทางสามไปจนถึงสถานีชุมทางฉะเชิงเทราด้วย

สถานีรถไฟหัวหมากเดิมชื่อ บ้านหัวหมาก เปิดให้บริการวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2450[7] แต่เดิมตัวสถานีเป็นอาคารไม้ ต่อมาได้มีการรื้อถอนเมื่อมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และได้มีการสร้างอาคารสถานีใหม่ฝั่งทิศใต้ของชานชาลาเมื่อ พ.ศ. 2548 ปัจจุบันหัวหมากได้กลายเป็นหนึ่งในสถานีชานเมืองที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดของสายตะวันออก

สถานที่ใกล้เคียง

แก้

รถโดยสารประจำทาง

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
145 (3-18) 3 (กปด.33)   อู่แพรกษาบ่อดิน   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง ขสมก. รถบริการตลอดคืน
145 (3-18) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
145 (3-18)   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) งดให้บริการชั่วคราว
ใช้รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) ให้บริการทดแทน
145 (3-18)   เมกาบางนา รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
206 ม.เกษตรศาสตร์ รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
206 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
207 (3-21) 2 (กปด.32) มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
519   อู่สวนสยาม เซ็นทรัลพระราม 3 รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
519 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน
3-26E 3 (กปด.33) สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
3-26E   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) งดให้บริการชั่วคราว
ใช้รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดงให้บริการทดแทน

รถเอกชน

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
11 (3-3)   สวนหลวง ร.9   บีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.เอ็กซา โลจิสติกส์
(เครือไทยสมายล์บัส)
550 (S5)   แฮปปี้แลนด์   ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บจก.ราชาโร้ด
(เครือไทยสมายล์บัส)
3-27     ท่าน้ำปู่เจ้าสมิงพราย สวนสยาม บจก.ไทยสมายล์บัส
3-53     เออาร์แอลหัวหมาก เสาชิงช้า
ถนนศรีนครินทร์
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
รถประจำทางหมวด 4
1013 (7) พระโขนง แม็กซ์แวลูพัฒนาการ ให้บริการรูปแบบรถสองแถว
1013 (9) พาราไดซ์พาร์ค แม็กซ์แวลูพัฒนาการ
1013 (10) มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 เออาร์แอลหัวหมาก
1013 (11) เมกาบางนา เออาร์แอลหัวหมาก
1314 (1) มีนบุรี เออาร์แอลหัวหมาก

ถนนศรีนครินทร์ รถขสมก. สาย 11, 145, 206, 207, 519 รถเอกชน สาย 3-21 (207), 133, R26E, สาย 3-53

รถสองแถว รถไฟฟ้าหัวหมาก–มีนบุรี, สองแถว ประเวศ–รามคำแหง 2, สองแถว เมกา–ซีคอนสแควร์

อ้างอิง

แก้
  1. "High-Speed Rail Linked 3 Airport Project, Thailand". Railway Technology (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut tries out Bangkok's new monorail". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  3. "3 มิ.ย.นี้ เปิดทดลองรถไฟฟ้า "สีเหลือง" 13 สถานี "สำโรง-หัวหมาก"".
  4. "เช็กเลย!รถไฟฟ้าเปลี่ยนชื่อสถานี 17 แห่ง อะไรบ้าง".
  5. "รฟม. ขยายเส้นทางเปิดทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน นี้ เป็นต้นไป จากสถานีภาวนา ถึง สถานีสำโรง ระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น." www.mrta.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  6. "อัพเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566". The List.
  7. "เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๖๙". จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จศ.๑๒๖๙.