โรงพยาบาลสมิติเวช

บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจด้านการรักษาพยาบาลซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน ภายใต้ชื่อ โรงพยาบาลสมิติเวช เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) โดยให้บริการแก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตลอด 24 ชั่วโมง ในระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) และมีบริการรักษาพยาบาลแบบไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (Out Patient Clinic)[1] เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2522 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ในซอยสุขุมวิท 49 จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2552 ร้อยละ 40 ของคนไข้เป็นชาวต่างชาติ[2] และจากข้อมูลปี 2560 โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ทั้งสองแห่งสร้างรายได้ประมาณ 8,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งร้อยละ 46 มาจากลูกค้านานาชาติ และร้อยละ 54 เป็นลูกค้าชาวไทย และเกือบร้อยละ 20 เป็นชาวญี่ปุ่น[3] นอกจากนี้ยังให้บริการรักษาพยาบาลแบบไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มี 2 แห่ง คือ สมิติเวชสุวรรณภูมิ คลินิกเวชกรรม และสมิติเวชดอนเมือง คลินิกเวชกรรม[4]

สมิติเวช
ชื่อทางการค้า
โรงพยาบาลสมิติเวช
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
ก่อนหน้าบริษัท สุขุมวิทเวชกิจ จำกัด (พ.ศ. 2519)
ก่อตั้ง4 มิถุนายน พ.ศ. 2522; 45 ปีก่อน (2522-06-04)
ผู้ก่อตั้งบัญชา ล่ำซำ
สำนักงานใหญ่133 ซอยสุขุมวิท 49 (กลาง) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
บริการกิจกรรมโรงพยาบาล
เจ้าของกรุงเทพดุสิตเวชการ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
เว็บไซต์www.samitivejhospitals.com

บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในนาม บริษัท สุขุมวิท เวชกิจ จำกัด โดยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตั้งชื่อโรงพยาบาลว่า โรงพยาบาลสมิติเวช ที่มีความหมายว่า "ที่รวมแห่งแพทย์" บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปี 2532 และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2535 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สมิติเวช จำกัด จากนั้นแปรเปลี่ยนมาเป็นบริษัทมหาชนเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2536 ในปี 2536 นี้เองที่ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งที่สอง ที่ชื่อ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ จนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 โรงพยาบาลสมิติเวชแห่งแรก ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท[4]ดร. สมชัย ฤชุพันธุ์ เป็น ประธานกรรมการ นายแพทย์ ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ

สาขา

แก้

ปัจจุบันมี 9 สาขาดังนี้[5]

  • โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ขนาด 311 เตียง
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ขนาด 400 เตียง
  • โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช มี 2 สาขาตั้งอยู่ภายในอาณาเขตเดียวกับโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิทและโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา ขนาด 184 เตียง
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี ขนาด 150 เตียง
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี ขนาด 260 เตียง
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ขนาด 59 เดียง ตั้งอยู่ย่านเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์
  • โรงพยาบาลญี่ปุ่น สมิติเวช (Samitivej Japanese Regional Hospital) ขนาด 30 เตียง รองรับชาวญี่ปุ่นเป็นหลัก[6][7]
  • สมิติเวช วังจันทร์ วัลเลย์ คลินิกเวชกรรม

ในต่างประเทศมีคลินิกสมิติเวช 2 แห่งในกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า คือ

  • คลินิกในโรงพยาบาลปารามี (Samitivej Parami Clinic)
  • คลินิกสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

อ้างอิง

แก้
  1. บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. Reisman, David A. Health Tourism: Social Welfare Through International Trade. Edward Elgar Publishing, January 1, 2010. ISBN 1849805539, 9781849805537. p. 177.
  3. สมิติเวชสร้างชื่อให้การแพทย์ไทย คว้ารางวัลติด 1 ใน 10 โรงพยาบาลยอดเยี่ยมระดับโลก
  4. 4.0 4.1 รายงานประจำปี 2560 บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน)
  5. ข้อมูลเกี่ยวกับโรงพยาบาลสมิติเวช
  6. สมิติเวชฯเปิดโรงพยาบาลแห่งใหม่ รองรับลูกค้าญี่ปุ่น
  7. “สมิติเวช” ทุ่มงบฯก้อนโต รับดีมานด์…อีอีซีบูม