รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง

รถไฟฟ้าโมโนเรลไร้คนขับสายแรกของประเทศไทย

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง หรือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ตลอดจนถึงพื้นที่ส่วนเหนือของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด โดยได้รับสัญญาสัมปทานในการดำเนินการตั้งแต่การก่อสร้างจนถึงการเปิดให้บริการจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินการในรูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล มีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่สถานีลาดพร้าว อันเป็นสถานีเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จากนั้นไปทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ก่อนมุ่งหน้าลงทิศใต้ตามแนวถนนศรีนครินทร์ แล้วเบนไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดเส้นทางที่สถานีสำโรง อันเป็นสถานีเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ระยะทางรวม 28.7 กิโลเมตร

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง
MRT (Bangkok) Yellow Logo 01.svg
Bombardier Innovia Monorail 300 YellowLine.jpg
รถไฟฟ้าขณะวิ่งทดสอบระบบ
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังก่อสร้าง
ทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (หัวหมาก-สำโรง)
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
ปลายทาง
จำนวนสถานี23
เว็บไซต์เว็บไซต์โครงการ
ธุรกิจระบบขนส่งมวลชน บีทีเอสกรุ๊ป
การดำเนินงาน
รูปแบบรางเดี่ยว
ระบบรถไฟฟ้ามหานคร
ผู้ดำเนินงานบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
(กลุ่มบีทีเอส)
(สัญญาสัมปทานโครงการสิ้นสุด พ.ศ. 2596)
ขบวนรถอัลสตอม อินโนเวีย โมโนเรล 300 (4 ตู้ต่อขบวน)
ประวัติ
แผนการเปิดพ.ศ. 2566 (เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ)
เปิดเมื่อ3 มิถุนายน พ.ศ. 2566 (ทดสอบการเดินรถเสมือนจริงระหว่าง หัวหมาก - สำโรง)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง28.7 กิโลเมตร
จำนวนทางวิ่ง2
ลักษณะทางวิ่งทางยกระดับ
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 km/h (50 mph)
แผนที่เส้นทาง

 สีน้ำเงิน  พหลโยธิน – รัชดาภิเษก
ลาดพร้าว MRT (Bangkok) logo.svg
ภาวนา
โชคชัย 4
ลาดพร้าว 71
 สีเทา  สังคมสงเคราะห์ – ศรีวรา
ลาดพร้าว 83 Bangkok MRT Grey line unofficial logo.png
มหาดไทย
ลาดพร้าว 101
บางกะปิ
 สีส้ม  รามคำแหง 34 – ศรีบูรพา
แยกลำสาลี MRT (Bangkok) Orange logo.svg
 สีน้ำตาล  สนามกีฬาคลองจั่น
ศรีกรีฑา
 สุวรรณภูมิ  รามคำแหง – ทับช้าง
 สีแดงอ่อน  รามคำแหง / รถไฟตอ.
หัวหมาก ARLbangkok.svg
กลันตัน
ศรีนุช
ศรีนครินทร์ 38
สวนหลวง ร.9
ศรีอุดม
ศูนย์ซ่อมบำรุงเทพรัตน-ศรีเอี่ยม
 สีเงิน  เทพรัตน 25 – เปรมฤทัย
ศรีเอี่ยม BSicon exTRAM.svg
ศรีลาซาล
ศรีแบริ่ง
ศรีด่าน
ศรีเทพา
ทิพวัล
สำโรง BTS-Logo.svg
 สุขุมวิท  แบริ่ง – ปู่เจ้า

เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2543 โดยเป็นการรวมเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองช่วงรัชโยธิน - ศรีเอี่ยม และสำโรง - ศรีสำโรง ให้เป็นเส้นทางเดียวกัน แต่ได้ถูกนำออกไปเมื่อครั้งปรับปรุงแผนแม่บทปี พ.ศ. 2547 และนำกลับมาอีกครั้งในการปรับปรุงแผนแม่บท พ.ศ. 2549 โดยพิจารณาแยกเส้นทางออกเป็นสองช่วง คือช่วงแรกให้เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวจนถึงพัฒนาการแล้วเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ารางหนักไปจนถึงสถานีสำโรง และใน พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับปรุงเส้นทางสายสีเหลืองให้เป็นรถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ก่อนปรับปรุงใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2553 โดยลดเส้นทางเหลือเพียงช่วงลาดพร้าว - สำโรง และให้ดำเนินการเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย[1]

ปัจจุบัน โครงการฯอยู่ในระหว่างการก่อสร้างตลอดจนถึงการทดสอบการเดินรถในบางช่วง โดยจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมทดสอบการเดินรถเสมือนจริงในสถานีบางส่วน ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จำนวน 13 สถานี ตั้งแต่สถานีหัวหมาก - สถานีสำโรง ระหว่างเวลา 09.00 - 20.00 น.[2]

ภาพรวมแก้ไข

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดินตลอดโครงการ ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด บริษัทร่วมค้าของกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ที่มี บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่ได้รับสัมปทานโครงการในการร่วมทุนก่อสร้างและดำเนินการเชิงพาณิชย์ หรือ PPP-Net Cost ภายในกรอบระยะเวลา 33 ปี 3 เดือน จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีแนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ ตลอดจนพื้นที่ส่วนเหนือของจังหวัดสมุทรปราการ เริ่มต้นเส้นทางจากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล วิ่งไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนลาดพร้าวจนถึงบริเวณแยกบางกะปิ แนวเส้นทางจะมุ่งลงใต้ตามแนวถนนศรีนครินทร์ และเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการหลังพ้นแยกศรีลาซาล จนถึงแยกศรีเทพา แนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาไปตามแนวถนนเทพารักษ์ ไปสิ้นสุดที่บริเวณปากทางแยกสำโรง อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รวมระยะทาง 28.7 กิโลเมตร

นอกจากนี้ยังมีการเสนอก่อสร้างเส้นทางส่วนต่อขยายจากแยกรัชดา-ลาดพร้าว ขึ้นไปตามแนวถนนรัชดาภิเษก และสิ้นสุดที่แยกรัชโยธิน รวมระยะทาง 2 กิโลเมตร จากผู้รับสัมปทาน แต่ไม่ได้มีการก่อสร้างจริงเนื่องจากเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) หลัง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้คัดค้านการเกิดขึ้นของส่วนต่อขยายด้วยเหตุผลว่าส่วนต่อขยายจะแย่งผู้โดยสารและรายได้ของสายเฉลิมรัชมงคลไป[3] และจากข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นลำดับสองของบริษัทดังกล่าว จึงต้องรักษาผลประโยชน์ของบริษัทดังกล่าวก่อนผลประโยชน์ของประชาชน

พื้นที่ที่เส้นทางผ่านแก้ไข

แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
จอมพล / จันทรเกษม จตุจักร กรุงเทพมหานคร
สามเสนนอก ห้วยขวาง
สะพานสอง / วังทองหลาง / คลองเจ้าคุณสิงห์ / พลับพลา วังทองหลาง
คลองจั่น / หัวหมาก บางกะปิ
พัฒนาการ / อ่อนนุช สวนหลวง
หนองบอน ประเวศ
บางนาเหนือ / บางนาใต้ บางนา
สำโรงเหนือ /เทพารักษ์ อ.เมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการ

แนวเส้นทางแก้ไข

 
ทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเหนือถนนลาดพร้าว ช่วงแยกลาดพร้าว 86 จุดตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม

แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นจากสถานีลาดพร้าว อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล บริเวณด้านหน้าอาคารจอดแล้วจร สถานีลาดพร้าว มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวถนนลาดพร้าว ข้ามทางพิเศษฉลองรัช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทาส่วนเหนือ ที่สถานีลาดพร้าว 83 จากนั้นมุ่งหน้าต่อจนถึงแยกบางกะปิโดยทางวิ่งจะซ้อนกับสะพานข้ามแยกบางกะปิจากนั้น แนวเส้นทางจะเบี่ยงลงทิศใต้ตามแนวถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มและรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ที่สถานีแยกลำสาลี จากนั้นมุ่งหน้าข้ามทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางรถไฟสายตะวันออก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเอราวัน สายซิตี้ และรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ที่สถานีหัวหมาก จากนั้นมุ่งหน้าลงใต้จนถึงแยกศรีเอี่ยม แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปใช้พื้นที่ของสำนักงานทางหลวงที่ 13 แขวงทางหลวงสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่สถานีศรีเอี่ยม ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังอาคารจอดแล้วจร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเงิน จากนั้นมุ่งหน้าลอดใต้ทางพิเศษบูรพาวิถีข้ามถนนเทพรัตน เพื่อเข้าสู่พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการจนถึงแยกศรีเทพา แนวเส้นทางจะเบี่ยงขวาเข้าถนนเทพารักษ์ เพื่อสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีสำโรง อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รวมระยะทาง 28.7 กิโลเมตร

รายชื่อสถานีแก้ไข

ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ
ลาดพร้าว YL01  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีลาดพร้าว พ.ศ. 2566
ภาวนา YL02
โชคชัย 4 YL03
ลาดพร้าว 71 YL04  สายสีเทา  สถานีลาดพร้าว 71 (โครงการ)
ลาดพร้าว 83 YL05
มหาดไทย YL06
ลาดพร้าว 101 YL07
บางกะปิ YL08
แยกลำสาลี YL09  สายสีส้ม  สถานีแยกลำสาลี (กำลังก่อสร้าง)
 สายสีน้ำตาล  สถานีแยกลำสาลี (โครงการ)
 เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่าเดอะมอลล์ บางกะปิ
ศรีกรีฑา YL10
หัวหมาก YL11  สายซิตี้  สถานีหัวหมาก
 สายนครวิถี  สถานีหัวหมาก (โครงการ)
กลันตัน YL12
ศรีนุช YL13
ศรีนครินทร์ 38 YL14
สวนหลวง ร.9 YL15
ศรีอุดม YL16
ศรีเอี่ยม YL17  สายสีเงิน  สถานีวัดศรีเอี่ยม (โครงการ)
ศรีลาซาล YL18
ศรีแบริ่ง YL19
ศรีด่าน YL20
ศรีเทพา YL21
ทิพวัล YL22
สำโรง YL23  สายสุขุมวิท  สถานีสำโรง

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นแก้ไข

เส้นทางคมนาคมทางรางแก้ไข

รถไฟฟ้ามหานครแก้ไข

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้ามหานคร ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีรถไฟฟ้ามหานคร หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
YL01 สถานีลาดพร้าว  สายเฉลิมรัชมงคล  : สถานีลาดพร้าว เชื่อมต่อโดยตรง
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต
YL09 แยกลำสาลี  สายสีส้ม  : สถานีแยกลำสาลี เชื่อมต่อโดยสกายวอล์ค
 สายสีน้ำตาล  : สถานีแยกลำสาลี

รถไฟฟ้าบีทีเอสแก้ไข

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
YL23 สถานีสำโรง  สายสุขุมวิท  : สถานีสำโรง เชื่อมต่อโดยสกายวอล์ค

รถไฟฟ้าชานเมืองแก้ไข

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมืองได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต
YL11 สถานีหัวหมาก   : สถานีหัวหมาก โครงการมีแผนก่อสร้างทางเดินยกระดับเชื่อมสถานี แต่เนื่องจากรอความชัดเจนเรื่องตำแหน่งสถานีสายสีแดงอ่อน จึงยังไม่มีการก่อสร้างทางเดินยกระดับ

รถไฟทางไกลแก้ไข

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟ สายตะวันออก ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีรถไฟทางไกล หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
YL11 สถานีหัวหมาก  สายตะวันออก  : สถานีหัวหมาก โครงการมีแผนก่อสร้างทางเดินยกระดับเชื่อมสถานี แต่เนื่องจากรอความชัดเจนเรื่องตำแหน่งสถานีสายสีแดงอ่อน จึงยังไม่มีการก่อสร้างทางเดินยกระดับ

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์แก้ไข

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
YL11 สถานีหัวหมาก  สายซิตี้  : สถานีหัวหมาก โครงการมีแผนก่อสร้างทางเดินยกระดับเชื่อมสถานี แต่เนื่องจากรอความชัดเจนเรื่องตำแหน่งสถานีสายสีแดงอ่อน จึงยังไม่มีการก่อสร้างทางเดินยกระดับ
อย่างไรก็ตาม บจ. เอเชีย เอรา วัน จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างทางเชื่อมยกระดับจากสถานีรถไฟฟ้าสายซิตี้ มาเชื่อมต่อสถานีสายสีเหลืองแทน

รถไฟฟ้าสายสีเทาแก้ไข

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าสายสีเทา ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีรถไฟฟ้าสายสีเทา หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต
YL05 สถานีลาดพร้าว 83  สายสีเทา  : สถานีลาดพร้าว 83 เชื่อมต่อโดยสกายวอล์ค
YL17 สถานีศรีเอี่ยม  สายสีเงิน  : สถานีวัดศรีเอี่ยม

เส้นทางคมนาคมทางน้ำแก้ไข

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเรือโดยสารต่างๆ ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ท่าเรือ หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
YL09 สถานีแยกลำสาลี  เรือโดยสารคลองแสนแสบ  : ท่าเดอะมอลล์บางกะปิ เชื่อมต่อโดยสกายวอล์ค

รูปแบบของโครงการแก้ไข

  • เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail)
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 17 เมตรตลอดทั้งโครงการ
  • คานรองรับทางวิ่ง (Guideway Beam) เป็นคอนกรีตหล่อสำเร็จ ควบคู่กับการใช้เหล็กหล่อในบางช่วง มีความกว้าง 69 เซนติเมตร สูง 2 เมตร มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) ความจุ 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) ต่อพ่วงได้ 4-7 คันต่อขบวน ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถแก้ไข

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางที่ถนนศรีนครินทร์ บริเวณด้านข้างโรงแรมเมเปิล ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับสถานีศรีเอี่ยม

สิ่งอำนวยความสะดวกแก้ไข

มีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณสถานีลาดพร้าว อันเป็นอาคารจอดแล้วจรที่ใช้งานร่วมกับสายเฉลิมรัชมงคล และบริเวณด้านหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงซึ่งติดกับสถานีศรีเอี่ยม สามารถจอดรถได้ประมาณ 2,800 คัน และจะมีร้านค้าเช่าบริเวณชั้นล่างของอาคาร

สถานีแก้ไข

มีสถานีทั้งหมด 23 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด

รูปแบบสถานี

ตัวสถานีมีความยาว 150 เมตร รองรับขบวนรถไฟฟ้าได้สูงสุด 7 ตู้ ต่อหนึ่งขบวน ใช้รูปแบบชานชาลาด้านข้างทั้งหมด มีประตูกั้นชานชาลาความสูง Half-height ทุกสถานี ตัวสถานีถูกออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคทั้งบนดินและใต้ดิน รวมถึงออกแบบให้รักษาสภาพผิวจราจรบนถนนให้ได้มากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และบริเวณพื้นที่ว่างในบางสถานี

ขบวนรถไฟฟ้าแก้ไข

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เลือกใช้รถไฟฟ้าโมโนเรลรุ่น อินโนเวีย โมโนเรล 300 จากอัลสตอม (บอมบาร์ดิเอร์ เดิม) ผลิตโดยซีอาร์อาร์ซี ผู่เจิ้น อัลสตอม ทรานสปอร์เทชัน ซิสเท็ม (CRRC-PATS) ในมณฑลอานฮุย ประเทศจีน ขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูง 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) จุผู้โดยสารสูงสุด 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) มีทั้งหมด 30 ขบวน 120 ตู้ รับไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ จากรางที่ 3 ที่ติดตั้งด้านข้างคานรองรับทางวิ่งเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ตัวยางล้อใช้ยางรุ่น เอ็กซ์ เมโทร จากมิชลิน ประเทศไทย สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ในอนาคตสามารถเพิ่มจำนวนตู้โดยสารเป็น 7 ตู้ต่อขบวน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ

ระบบในการเดินรถแก้ไข

ในการเดินรถไฟฟ้าได้นำระบบอาณัติสัญญาณ CITYFLO 650 ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการเดินรถโดยอัตโนมัติ เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ, สะดวกรวดเร็ว, ปลอดภัยสูงสุด และรองรับการเดินรถไฟฟ้าแบบไม่ใช่คนควบคุมขบวนรถ (Driverless Operation)

การให้บริการแก้ไข

การดำเนินการแก้ไข

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ใช้วิธีการมอบสัมปทานทั้งโครงการให้เป็นของเอกชนรายเดียวที่เสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลต่ำที่สุด โดยสัมปทานเป็นของ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (Eastern Bangkok Monorail; EBM) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เดิม) ระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็นระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (39 เดือน) และดำเนินการงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง 30 ปี โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบคือ ซิโน-ไทย เป็นผู้ดำเนินการงานโยธาทั้งหมดของโครงการ รวมถึงเป็นผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลจากอัลสตอม และได้จดสิทธิบัตรเป็นของบริษัทฯ ใน พ.ศ. 2562 ราช กรุ๊ป เป็นผู้สนับสนุนการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในโครงการ และบีทีเอส กรุ๊ป เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในโครงการสูงสุด เป็นผู้ติดตั้งงานระบบที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าแต่เพียงผู้เดียว โดยอีบีเอ็มใช้วิธีการว่าจ้างให้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี เป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทั้งระบบตลอดอายุสัญญา ในส่วนของการพัฒนาและบริหารพื้นที่บนสถานีและป้ายโฆษณาบนสถานีและบนตัวรถ เป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) ตลอดอายุสัญญาสัมปทานเช่นกัน

อัตราค่าโดยสารแก้ไข

อัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ใช้อัตราค่าโดยสารคิดตามระยะทาง และปรับปรุงอัตราค่าโดยสารตามดัชนีค่าครองชีพทุก ๆ 3 ปี นับจากวันที่ รฟม. มีประกาศบังคับใช้อัตราค่าโดยสาร โดยอัตราค่าโดยสารนับตั้งแต่วันที่เปิดให้บริการ จะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15-45 บาท คิดตามระยะทางที่เดินทางจริง และคิดอัตราค่าโดยสารจากทั้งฝั่งลาดพร้าวและฝั่งสำโรงไม่เท่ากัน กล่าวคือจากสถานีลาดพร้าวไปยังสถานีสำโรง อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท และจากสถานีสำโรงไปยังสถานีลาดพร้าว อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 20 บาท

กรณีเดินทางจากรถไฟฟ้ามหานครสายอื่น ๆ มาเชื่อมต่อกับสายสีเหลือง ภายใต้เงื่อนไขบัตรโดยสารแบบ EMV ใบเดียวกัน ผู้โดยสารจะได้รับการยกเว้นค่าแรกเข้าระบบ และจ่ายอัตราค่าโดยสารเพิ่มตามระยะทาง ทั้งนี้ไม่รวมรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ผู้โดยสารจากรถไฟฟ้าบีทีเอส เดินทางไปสายสีเหลือง จะยังต้องชำระค่าแรกเข้าทั้งสองสายตามปกติ

ส่วนต่อขยายแก้ไข

ในแผนระยะแรก รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง มีแผนเส้นทางเพียงแค่ รัชดาฯ-ลาดพร้าว-สำโรง และมีแผนเส้นทางส่วนต่อขยายจากสถานีสำโรง โดยวิ่งไปตามแนวถนนเทพารักษ์ และข้ามเขตไปยังฝั่งธนบุรีต่อไป แต่เนื่องจากนักวิชาการและประชาชนเล็งเห็นว่า ในส่วนสถานีรัชดาฯ-ลาดพร้าว ควรต่อขยายเส้นทางออกไปจนถึงรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทที่สถานีรัชโยธิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถเดินทางข้ามเขตจากสายสีเหลืองได้ทันที โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนสถานีซ้ำซ้อนที่สถานีพหลโยธิน หลังจากมีข้อติในเรื่องดังกล่าว การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ได้ออกแผนศึกษาเส้นทางด่วน และพบว่าเส้นทางดังกล่าวสามารถขยายเส้นทางออกไปได้ แต่ยังไม่มีความพร้อมและหลักประกันผู้โดยสาร จึงคงเส้นทาง รัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ไว้เป็นส่วนต่อขยายต่อไป

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้ยื่นข้อเสนอพิเศษในการก่อสร้างเส้นทาง รัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ไปพร้อมกับเส้นทางหลัก โดยให้ รฟม. พิจารณาพร้อมกับข้อเสนออื่นๆ ตามเอกสารที่ยื่นประมูลไป โดยโครงการดังกล่าวจะประกอบไปด้วยสองสถานีเพิ่มเติม คือ สถานีจันทรเกษม ตั้งอยู่ด้านหน้าศาลอาญากลางรัชดา ศาลแพ่งกลางรัชดา และศาลยุติธรรม ใกล้ ๆ กับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และสถานีพหลโยธิน 24 ตั้งอยู่ด้านหน้าสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นทั้งโครงการตามแผน รถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะต่อเชื่อมกันเป็นวงแหวนกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงสถานีพหลโยธิน 24 ถึงสถานีสำโรง

แต่อย่างไรเสีย กลับมีการคัดค้านการเกิดขึ้นของส่วนต่อขยายนี้จาก บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เพราะเป็นกังวลว่าส่วนต่อขยายนี้จะทำให้บริษัทเสียรายได้ที่ควรจะได้ จากพฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนไปของผู้โดยสาร ซึ่งบีอีเอ็มได้ประเมินไว้ก่อนการลงทุนส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินว่าผู้โดยสารของสายสีเหลืองจะต้องลงที่สถานีลาดพร้าวทั้งหมด เพื่อต่อสายสีน้ำเงินไปยังสายสีเขียวที่สถานีพหลโยธิน-ห้าแยกลาดพร้าว หรือสถานีสวนจตุจักร-หมอชิต แต่การเกิดขึ้นของส่วนต่อขยายนี้จะทำให้ผู้โดยสารไม่ลงที่สถานีลาดพร้าวทั้งหมด และต่อไปยังสถานีใหม่ที่จะเชื่อมกับสายสีเขียวแทน ซึ่งต่อมา รฟม. ได้มีการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและพบว่าส่วนต่อขยายนี้จะทำให้ยอดผู้โดยสารของสายสีน้ำเงินลดลงประมาณ 1% ของผู้โดยสารสายสีเหลืองทั้งหมด และจะลดลงเรื่อย ๆ จนถึงปีที่ 30 ของสัญญาสัมปทาน แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่าด้วยจำนวนผู้โดยสารเท่านี้ จะสร้างความเสียหายมากมายให้บีอีเอ็ม จึงทำให้บีทีเอสที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ยืนยันว่าจะไม่ชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียโอกาสใด ๆ ให้บีอีเอ็ม

นอกจากนี้ รฟม. ยังได้ศึกษาเส้นทางส่วนต่อขยายเอาไว้ทั้งหมดสองระยะเพื่อนำเสนอต่อ สนข. ให้บรรจุลงในแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่สอง โดยส่วนต่อขยายทั้งหมดสองส่วนมีดังต่อไปนี้[ต้องการอ้างอิง]

  1. ส่วนขยายช่วงเหนือ (ลาดพร้าว - พหลโยธิน 24 - ประชาชื่น) ระยะทาง 6.9 กิโลเมตร ขยายเพื่อเชื่อมต่อ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีพหลโยธิน 24 รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม สถานีจตุจักร และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม สถานีวงศ์สว่าง
  2. ส่วนขยายช่วงใต้ (สำโรง - ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 8.47 กิโลเมตร ขยายเพื่อเชื่อมต่อ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม สถานีพระประแดง ในส่วนต่อขยายเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

ดูเพิ่มแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-22. สืบค้นเมื่อ 2013-06-19.
  2. "3 มิ.ย.นี้ เปิดทดลองรถไฟฟ้า "สีเหลือง" แค่ 13 สถานี "สำโรง-หัวหมาก" ก่อน". เดลินิวส์.
  3. 'บีทีเอส'ปัดชดเชย 'บีอีเอ็ม'ผลกระทบรถไฟฟ้า'สายสีเหลือง'

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข