แคว้นสุพรรณภูมิ

(เปลี่ยนทางจาก อาณาจักรสุวรรณภูมิ)

สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ดินแดนสุวรรณภูมิ อาณาจักรสุพรรณภูมิ หรือ แคว้นสุพรรณภูมิ เป็นแคว้นของชนชาติไทยในอดีต มีมาก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา โดยมีเมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวง

ประวัติศาสตร์ไทย
Wat Phra Sri Sanphet 01.jpg
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
การเข้ามาอยู่อาศัย
แนวคิดถิ่นกำเนิดชนชาติไท
บ้านเชียง (ประมาณ 2500 ปีก่อน พ.ศ.)
บ้านเก่า (ประมาณ 2000 ปีก่อน พ.ศ.)
อาณาจักรมอญ-เขมร
ฟูนาน (611–1093)
ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12–16)
ละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12–1630)
เขมร (1345–1974)
หริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ 13–1835)
ตามพรลิงค์ (พุทธศตวรรษที่ 13–14)
อาณาจักรของคนไท
ลพบุรี (1648–1931)
กรุงสุโขทัย (1781–1981)
สุพรรณภูมิ (พุทธศตวรรษที่ 18–1952)
พะเยา (1637–1881)
ล้านนา (1835–2101)
น่าน (พุทธศตวรรษที่ 18–1992)
นครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 18–2325)
กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา (1893–2310)
ประเทศราชเชียงใหม่ (2101–2317)
นครศรีธรรมราช (พุทธศตวรรษที่ 18–2325)
กรุงธนบุรี
กรุงธนบุรี (2310–2325)
เชียงใหม่ (2317–2437)
กรุงรัตนโกสินทร์
กรุงรัตนโกสินทร์ (2325–2475)
ประเทศสยาม
ประเทศสยาม (2475–2516)
ประเทศสยาม (2516–2544)
ประเทศไทย
ประเทศไทย (2544–ปัจจุบัน)
ประวัติศาสตร์รายภูมิภาค
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ

การกำเนิดแก้ไข

สืบเนื่องจากพระเจ้าไชยสิริ กษัตริย์โยนกเชียงแสน ครองเมืองชัยปราการ (เมืองฝาง) อพยพผู้คนหนีการโจมตีจากพวกมอญลงมาทางใต้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และผู้คนต่างที่อพยพลงมาด้วยได้พากันแยกย้ายไปตั้งบ้านเมืองของตนอยู่ตามแคว้นต่าง ๆ โดยมีเมืองใหญ่ ๆ 2 เมืองคือ เมืองอโยธยา แคว้นละโว้ และเมืองอู่ทอง แคว้นสุพรรณภูมิ ต่อมา พระเจ้าไชยสิริทรงขยายอาณาเขตไปทางใต้และได้ปกครองแคว้นศิริธรรมราช[1] และได้ตั้งเมืองนครศิริธรรมราช (นครศรีธรรมราช) เป็นเมืองหลวง

ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ในช่วง พ.ศ. 1843-พ.ศ. 1893 เมืองอู่ทองอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แต่มีหลายความคิดเกี่ยวกับเมืองสุพรรณภูมิ เช่น ต้นกำเนิดของพระเจ้าอู่ทองที่ยังคงมีความไม่ชัดเจน[2] การปกครองแคว้นสุพรรณภูมิควบคู่ไปกับการปกครองอาณาจักรสุโขทัย ในช่วงหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ภายหลังแคว้นสุพรรณภูมิได้ถูกลดความสำคัญลงเป็นหัวชั้นเมืองเอก (เมืองหน้าด่าน) เท่านั้น การปกครองจะมีการแต่งตั้งผู้ปกครองที่มีเชื้อสายราชวงศ์ทั้งทางสุโขทัยและอยุธยามาปกครองโดยมีตำแหน่ง "เจ้าเมืองอู่ทอง" ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองแคว้นสุพรรณภูมิสำหรับพระราชโอรสมักเรียกตามตำแหน่งสกุลยศว่า "ขุนหลวง" ในลักษณะคล้ายกับเมืองพิษณุโลกสองแคว และปกครองเมืองสรรค์ (แพรกศรีราชา) นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยาต้องทรงแต่งตั้งพระชายาผู้สืบเชื้อสายจากผู้ครองอาณาจักรสุพรรณภูมิในตำแหน่ง "ท้าวอินทรสุเรนทร" ด้วย

ผู้ปกครองแก้ไข

  • พระยาอู่ทอง - พระราชบิดาในขุนหลวงพะงั่วและพระสสุระ (พ่อตา) ของพระเจ้าอู่ทองในช่วงก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา (มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง)

รายพระนามพระมหากษัตริย์ ที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุพรรณภูมิแก้ไข

  • สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ - ทรงปกครองแคว้นสุพรรณภูมิก่อนทรงย้ายไปตั้งพระนครใหม่ที่เมืองอยุธยา
  • สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ - มีพระนามเดิมว่า ขุนหลวงพะงั่ว เป็นพระเชษฐาของพระมเหสีในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ และได้ครองเมืองสุพรรณบุรี เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เสด็จสวรรคต พระองค์ได้นำกำลังจากเมืองสุพรรณบุรีมาประชิดกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระราเมศวรได้อัญเชิญพระองค์เข้าเมืองแล้วถวายพระราชสมบัติให้ พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ. 1913 เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 1931
  • สมเด็จพระอินทราชา - สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีนครินทราธิราช หรือ สมเด็จพระนครินทราธิราช แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็เชื่อว่าพระองค์คือ พระศรีเทพาหูราช

อ้างอิงแก้ไข

  1. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ.ประวัติศาสตร์ไทย หน้า 525 - 527.
  2. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ.ประวัติศาสตร์ไทย ตำนานพระเจ้าอู่ทอง หน้า 535.

บทอ่านเพิ่มเติมแก้ไข