อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม

ปราสาทสด๊กก๊อกธม หรือ ปราสาทสด็อกก็อกธม (เขมร: ស្តុកកក់ធំ, Sdŏk Kák Thum) เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทยภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นปราสาทขอมและโบราณสถานที่ใหญ่และสำคัญของจังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านหนองหญ้าแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว อยู่ห่างจากอำเภออรัญประเทศไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 35 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอตาพระยามาทางทิศใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร จัดเป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกของประเทศไทย

ปราสาทสด๊กก๊อกธม
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
จังหวัดสระแก้ว
เทพพระศิวะ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งบ้านหนองหญ้าแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
ประเทศประเทศไทย
อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธมตั้งอยู่ในจังหวัดสระแก้ว
อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม
ที่ตั้งในประเทศไทย
อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธมตั้งอยู่ในประเทศไทย
อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม
อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม (ประเทศไทย)
พิกัดภูมิศาสตร์13°50′37.29″N 102°44′14.84″E / 13.8436917°N 102.7374556°E / 13.8436917; 102.7374556
สถาปัตยกรรม
ประเภทขอม
ผู้สร้างพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2
เสร็จสมบูรณ์ราวพุทธศตวรรษที่ 16
ปรางประธาน ปราสาทสด๊กก๊อกธม

ระหว่าง พ.ศ. 2539–2553 กรมศิลปากรได้สำรวจโบราณสถาน และอนุรักษ์พัฒนาปราสาทสด๊กก๊อกธม และ พ.ศ. 2560 กรมศิลปากรประกาศจัดตั้งปราสาทสด๊กก๊อกธมขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งที่ 11[1] ซึ่ง ปราสาทสด๊กก๊อกธมสร้างขึ้นด้วยหินศิลาแลง ตามลักษณะศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวน สร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (Udayadityavarman II) ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท มีคำจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ความยาว 340 บรรทัด ระบุความเป็นมาของการก่อสร้างปราสาทแห่งนี้

มีการพบหลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม (หลักที่ 2) ซึ่งจดบันทึกเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของชนชาติขอมเป็นช่วงระยะเวลานานถึง 200 ปี นับจากรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345-1393) กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรเมืองพระนคร (Angkor) และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบเทวราช ในจารึกได้กล่าวถึงกษัตริย์อีกหลายพระองค์ จนถึงสมัยพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2

คำว่า "สด๊กก๊อกธม" แปลได้สองความหมาย ความหมายที่หนึ่ง แปลว่า "ปราสาทขนาดใหญ่ที่มีต้นกกขึ้นรกรุงรัง" ความหมายที่สอง แปลว่า "เมืองที่มีต้นกกขึ้นรกในหนองน้ำใหญ่" เพราะมีหนองน้ำเป็นบารายเก่าขนาดใหญ่อยู่ติดกับปราสาททางทิศตะวันออก[2]

อ้างอิง

แก้
  1. http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/prasatsadokkokthom/index.php/th/
  2. กำพล จำปาพันธ์. "ร่องรอยอารยธรรมเขมรโบราณและสยามอโยธยาในเขตจังหวัดสระแก้ว". วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ.

บรรณานุกรม

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Prasat Sdok Kok Thom