พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2
พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (เขมร: ឧទ័យាទិត្យវរ្ម័នទី២ , โรมัน : Udayadityavarman II ) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรพระนคร ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1593 – 1609 ถัดจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1[1] เป็นพระราชโอรสพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เมื่อสวรรคตไม่ปรากฏพระสมัญญานาม
พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อธิราโช | |||||||||
พระมหากษัตริย์อาณาจักรพระนคร | |||||||||
ครองราชย์ | พ.ศ.1593 – 1609 | ||||||||
ราชาภิเษก | พ.ศ.1593 | ||||||||
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 | ||||||||
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 | ||||||||
สวรรคต | พ.ศ.1609 พระนคร,อาณาจักรพระนคร | ||||||||
พระราชบุตร | พระเจ้านฤปตินทรวรมัน พระนางวิชเยนทรลักษมี | ||||||||
พระมหากษัตริย์อาณาจักรพระนคร | |||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ศรวะ | ||||||||
พระราชบิดา | พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 | ||||||||
พระราชมารดา | พระนางวีรลักษมี | ||||||||
ศาสนา | ฮินดู |
พระราชประวัติ
แก้พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทบาปวน ซึ่งเป็นปราสาทขนาดใหญ่มีปรางค์ประธานตั้งอยู่บนยอด มีฐานเป็นชั้น ประดิษฐานพระศิวลึงค์ทอง มีรูปทรงคล้ายพีระมิดเป็นปราสาทแห่งแรกที่มีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องศาสนาและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ พระองค์ทรงสร้างสระน้ำขนาดใหญ่กว้าง 2.2 กิโลเมตร ยาว 8 กิโลเมตรหรือ บารายตะวันตก มีขนาดใหญ่กว่าบารายตะวันออกของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ซึ่งขณะนั้นอาจตื้นเขินบ้างแล้ว บารายที่สร้างขึ้นในสมัยนั้นยังใช้ประโยชน์ได้จนถึงปัจจุบันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ความจริงในจารึกสด๊กก๊อกธม ที่ว่า “กษัตริย์อุทยาทิตยะ…พระองค์ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน…ได้รับความเป็นเลิศทางเกษตร อันเป็นยอดของกษัตริย์วรมันองค์อื่นๆ” ทรงสร้างปราสาทแม่บุญตะวันตกกลางบารายตะวันตกเพื่อประดิษฐานเทวรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์สำริด ศิลปะขอมแบบบาปวน[1][2][3]
จารึกพระโงกที่ปราสาทบาปวนกล่าวว่า พระองค์ต้องปราบปรามกบฏโดยแม่ทัพชื่อ สงคราม ในปี พ.ศ.1594 หัวหน้ากบฏชื่อ อรวินทหรัท ก่อกบฏยึดพื้นที่ภาคใต้ไว้เกือบครึ่งหนึ่งของอาณาจักร แม่ทัพสงครามปราบปรามได้ อรวินทหรัทหนีไปพึ่งอาณาจักรจามปา ช่วงปลายรัชกาล ราวปี พ.ศ.1608 ขุนพลชื่อ กำเวา ก่อกบฏนำกองทัพทหารออกจากเมืองหลวง แม่ทัพสงครามนำกองทหารออกปราบถูกพวกกบฏทำร้าย แต่ก็สามารถสังหารกำเวาได้ ต่อมาเกิดกบฏทางทิศตะวันออกแม่ทัพสงครามก็ปราบพวกกบฏได้สำเร็จอีก[1][2]
ปราสาทสด๊กก๊อกธม ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ อำเภออรัญประเทศ ของไทยในปัจจุบันได้สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ปราสาทมีชื่อเสียงมากที่สุดในฐานะสถานที่ค้นพบจารึกที่เล่าโดยละเอียดถึงลำดับของอดีตพระมหากษัตริย์เขมร ปัจจุบันจารึกนี้อยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
หลังจากที่พระองค์สวรรคตลงพระเจ้าหรรษวรมันที่ 3[1]พระอนุชาได้ขึ้นครองราชย์สืบไป
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ 2.0 2.1 Higham, C., 2001, The Civilization of Angkor, London: Weidenfeld & Nicolson, ISBN 9781842125847
- ↑ Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 9786167339443