พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3
พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 (เขมร: ហស៌វរ្ម័នទី៣ , โรมัน : Hanshavaraman III) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรพระนคร การสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระอนุชาพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2[1] ครองราชย์ราวปี พ.ศ.1609 [2][3]โดยเมืองหลวงของพระองค์มีศูนย์กลางอยู่ที่บาปวน ซึ่งสร้างโดยพระเชษฐาของพระองค์ และมี บารายตะวันตก เป็นบารายหลัก
พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 | |
---|---|
พระมหากษัตริย์พระนคร | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1066 – 1080 |
พระองค์ก่อน | พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 |
พระองค์ถัดไป | พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 |
สวรรคต | ค.ศ. 1080 |
ราชวงศ์ | ไศเลนทร์ |
เหตุการณ์
แก้รัชกาลพระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระองค์พยายามฟื้นฟูบ้านเมืองที่เสียหายจากการก่อกบฏ จารึกที่เมืองไมซอน กล่าวว่า พระเจ้าหริวรมันที่ 4 ได้ส่งกองทัพเข้าปราบกองทัพขอมที่เมืองโสเมศวรโดยจับตัวเจ้าชายศรีนันวรรมเทพไป จารึกบันทึกว่า “เจ้าชายองค์นี้ได้เสด็จไปกับกองทัพในฐานะเสนาบดี” อจาหมายความว่า เจ้าชายองค์นี้แปรพักตร์ ต่อมาเจ้าชายอนุชาพระเจ้าหริวรมันที่ 4 ได้นำกองทัพจามเข้ายึดเมืองสัมภูปุระได้ เหตุการณ์รุกรามของกองทัพจามทำให้อาณาจักรพระนครของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 อ่อนแอ เป็นเหตุให้หัวเมืองทางภาคเหนือขุนนางแห่งเมืองมหิธรปุระได้แยกตัวออกเป็นอิสระ ต่อมาใน ปี พ.ศ.1619 จีนส่งกองทัพเข้าแคว้นตังเกี๋ย ได้ของให้อาณาจักรจามปาและอาณาจักรพระนครส่งกองทัพเข้าร่วมสงคราม กองทัพจามและขอมได้เข้ารุกรามเมืองแง่อัน แต่กองทัพจีนถูกทำลาย กองทัพจามกับขอมจึงถอยทัพ ปี พ.ศ.1623 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 สวรรคต พระเจ้านฤปตินทรวรมันได้ขึ้นครองราชย์ที่เมืองยโศธรปุระ
เชิงอรรถ
แก้- ↑ W., Aphisit. "Angkor Era - Part II (1001 - 1181 A.D)". cambodia-travel. Cambodia Tours. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-03. สืบค้นเมื่อ 18 June 2015.
- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 9786167339443
อ้างอิง
แก้- Higham, Charles (2003). The Civilization of Angkor. Phoenix. ISBN 1-84212-584-2.