จามปา
จามปา (อักษรโรมัน: Champa; เวียดนาม: Chăm Pa) เป็นกลุ่มรัฐอิสระของชาวจาม (Cham) ที่ตั้งอยู่ทั่วชายฝั่งซึ่งปัจจุบันคือภาคกลางและภาคใต้ของเวียดนาม ดำรงอยู่ตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 จนถูกจักรพรรดิมิญ หมั่ง (Minh Mạng) ผนวกเข้ากับเวียดนามเมื่อ ค.ศ. 1832[1]
จามปา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 192–ค.ศ. 1832 | |||||||
สีเขียว คือ ท้องที่ของรัฐจามปาเมื่อราว ค.ศ. 1000–1100 ตั้งอยู่ตามชายฝั่งซึ่งปัจจุบันเป็นเวียดนาม, สีเหลืองทางเหนือ คือ รัฐดั่ยเหวียตของเวียดนาม, สีฟ้าทางตะวันตก คือ รัฐเขมร | |||||||
เมืองหลวง |
| ||||||
ภาษาทั่วไป | จาม, สันสกฤต, มาเลย์เก่า | ||||||
ศาสนา | พื้นบ้าน, ฮินดู, พุทธ, อิสลามนิกายซุนนี | ||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||
• ก่อตั้ง | ค.ศ. 192 | ||||||
• ราชวงศ์งฺเหวียน (Nguyễn) ของเวียดนามผนวกเมืองหลวงของจามปา | ค.ศ. 1832 | ||||||
| |||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เวียดนาม ลาว กัมพูชา |
ในภูมิภาคนี้ รัฐหลินอี้ (จีน: 林邑; เวียดนาม: Lâm Ấp) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 192 ดำรงอยู่มาก่อนรัฐจามปา แต่ความเกี่ยวเนื่องระหว่างหลินอี้กับจามปานั้นยังไม่อาจระบุให้ชัดแจ้งได้ รัฐจามปารุ่งเรืองถึงขีดสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 แต่หลังจากนั้นก็เริ่มตกต่ำเพราะถูกกดดันจากรัฐดั่ยเหวียต (Đại Việt) ที่ตั้งอยู่ ณ ดินแดนซึ่งปัจจุบันคือห่าโหน่ย (Hà Nội) ครั้น ค.ศ. 1832 จักรพรรดิมิญ หมั่ง ผนวกแว่นแคว้นต่าง ๆ ของรัฐจามปาเข้ากับเวียดนามเป็นผลสำเร็จ เป็นอันสิ้นสุดรัฐจามปา
ชาวจามที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเวียดนามและกัมพูชาคือผู้คนที่ตกค้างจากรัฐจามปาโบราณนี้ ชาวจามใช้ภาษาจาม (Chamic) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย (Malayo-Polynesian) ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษามาเลย์อิก (Malayic) และภาษา Bali–Sasak–Sumbawa
ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 รัฐจามปารับศาสนาฮินดูเข้ามาจากฟูนาน (Funan) รัฐเพื่อนบ้านที่ขัดแย้งกันจนถูกจามปาพิชิตได้ในที่สุด ศาสนาฮินดูช่วยหล่อหลอมศิลปะและวัฒนธรรมของจามปาตลอดมาหลายร้อยปี ดังปรากฏในศาสนวัตถุและศาสนสถานทั่วพื้นที่จามปา ทุกวันนี้ ชาวจามปาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งเปลี่ยนมาเข้ารีตกันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ 10 และเป็นที่ยอมรับของราชวงศ์อย่างเต็มที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ผู้ถือศาสนาฮินดูก็ยังมีอยู่ และยังมีพิธีกรรมและเทศกาลต่อไปตามประเพณี ชาวฮินดูกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในฮินดูนอกอินเดียสองกลุ่มดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่ในโลก โดยมีวัฒนธรรมย้อนหลังไปได้หลายพันปี ฮินดูอีกกลุ่ม คือ ฮินดูบาหลี (Balinese Hinduism) ในอินโดนีเซีย[1]
ดินแดนหลายแห่งซึ่งเคยเป็นของจามปา เช่น หมีเซิน (Mỹ Sơn) ศูนย์กลางทางศาสนา และโห่ยอาน (Hội An) เมืองท่า ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลก
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Parker, Vrndavan Brannon. "Vietnam's Champa Kingdom Marches on". Hinduism Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-07. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.