นพเก้า พูนพัฒน์
นพเก้า พูนพัฒน์ ชื่อเล่น นาย เกิดวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2538 เป็นนักกีฬาเรือใบหญิงทีมชาติไทย ซึ่งได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเรือใบในเอเชียนเกมส์ 2010 และสามารถชนะการแข่งขันจนได้รับรางวัลเหรียญทองประเภทออพติมิสต์หญิง[2] นพเก้า พูนพัฒน์ เป็นชาวกรุงเทพ เธอมีพี่สาวเป็นนักกีฬาทีมชาติเรือใบมาก่อน โดยมีพ่อของเธอทำหน้าที่เป็นโค้ช และเนื่องด้วยความชอบในกีฬาเรือใบ ทางครอบครัวของเธอจึงตัดสินใจย้ายมายังจังหวัดชลบุรี และนพเก้าได้ติดทีมชาติในขณะที่มีอายุได้ 11 ปี[3] ปี พ.ศ. 2562 เธอจบการศึกษาที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา[4] ปัจจุบันเปิดร้านขายยาตั้งอยู่ถนนทองหล่อ ร้านนาย ออน เดอะ ซี (Nine on the sea pharmacy) และกลับมาแข่งเรือใบในประเภท TP52 ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งในและต่างประเทศ
นพเก้า พูนพัฒน์ (คนถือถ้วย) ในปี พ.ศ. 2552 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | 13 กันยายน พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กีฬา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กีฬา | เรือใบ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ฝึกสอน | สมเกียรติ พูนพัฒน์[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
ผลงานที่ผ่านมา
แก้- พ.ศ. 2550 รางวัลนักกีฬายุวชนยอดเยี่ยม จากวันนักกีฬายอดเยี่ยม[3]
- พ.ศ. 2552 แชมป์เยาวชนโลก เรือใบออปติมิสต์ บุคคลหญิง ประเทศบราซิล[5]
- พ.ศ. 2553 เหรียญทองแดง การแข่งขันเรือใบชิงแชมป์เอเชีย ประเภทออปติมิสต์ บุคคลหญิง รุ่นเยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี[6]
- พ.ศ. 2553 เหรียญทอง การแข่งขันกีฬาเรือใบในเอเชียนเกมส์ 2010 ประเภทออพติมิสต์หญิง ที่ประเทศจีน[6]
- พ.ศ. 2555 แชมป์เยาวชนโลก เรือใบออปติมิสต์ บุคคลหญิง ประเทศมาเลเซีย[7][8]
- พ.ศ. 2556 เหรียญทองแดง การแข่งขันเรือใบ 420 หญิง ซีเกมส์ 2013 ที่ประเทศพม่า[6]
- พ.ศ. 2557 เหรียญทอง การแข่งขันกีฬาเรือใบในเอเชียนเกมส์ 2014 ประเภททเวนตี้ไนเนอร์หญิง ที่ประเทศเกาหลีใต้[4][9]
รางวัลที่ได้รับ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ เรือใบวางแผนส่งน้องนายลุยเอเชียน ออฟติมิสต์
- ↑ สรุปเหรียญเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 16 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2553
- ↑ 3.0 3.1 ตั้ม-นาย 2 นักกีฬาเรือใบทีมชาติ
- ↑ 4.0 4.1 ‘นพเก้า-นิชาภา’ผงาดคว้าทองเรือใบ. มติชน. ปีที่ 37 ฉบับที่ 13353. วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557. ISSN 1686-8188. หน้า 15
- ↑ เด็กหญิง นพเก้า พูนพัฒน์ คว้าแชมป์โลกเรือใบออพติมิสต์หญิง
- ↑ 6.0 6.1 6.2 นพเก้าคว้าที่ 5 เรือใบชิงแชมป์เอเชีย - สยามสปอร์ต
- ↑ น้องนายคว้าแชมป์โลกสมัย2แล่นใบออฟติมิสต์ที่มาเลย์
- ↑ "น้องนายคว้าแชมป์โลกสมัย2แล่นใบออฟติมิสต์ที่มาเลย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-10-04.
- ↑ Kittipong Thongsombat. Noppakao and Nichapa triumphant in sailing. Bangkok Post. Wednesday, October 1, 2014. ISSN 1686-4271. Page 16 (อังกฤษ)
- ↑ "ดำรงศักดิ์ควงนพเก้าซิวรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-10-04.
- ↑ "น้องนาย" นพเก้า คว้ารางวัลนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยมหญิง สยามกีฬา อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5
- ↑ "จิระพงศ์-รัชนกซิวนักกีฬายอดเยี่ยมสยามกีฬาฯ - Sport - Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-10-04.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๓, ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ นพเก้า พูนพัฒน์