คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะอัญมนี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี (อังกฤษ: Faculty of Gems, Burapha University Chantaburi Campus) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยบูรพา จัดการเรียนการสอนด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ตั้งอยู่ที่ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

คณะอัญมณี
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
Faculty of Gems, Burapha University Chantaburi Campus
ชื่อย่ออม. / GEMS
คติพจน์องค์กรผลิตบัณฑิตคุณภาพ พัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่ระดับสากล
สถาปนา16 มิถุนายน พ.ศ. 2539 (27 ปี)
คณบดีผศ.ดร.สายสมร นิยมสรวญ
ที่อยู่
เลขที่ 57 หมู่ 1 ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 22170
เว็บไซต์gems.chanthaburi.buu.ac.th

ประวัติ แก้

ในปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา ลงมติรับหลักการและส่งให้คณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการจนกระทั่ง ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จึงได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาโดยพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 131[1][2]

หลังจากแยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาแล้ว ในปี 2537 สภามหาวิทยาลัยบูรพาจึงได้ให้ความเห็นชอบในภาควิชาวัสดุศาสตร์ - เทคโนโลยีอัญมณี สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมทั้งเริ่มรับนิสิตรุ่นแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2538

ต่อมา มีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังภูมิภาคของรัฐบาล การจัดตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ขึ้น ณ จังหวัดจันทบุรี วิทยาเขตสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2539 โดยในโครงการจัดตั้งที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแล้วนั้น ให้จัดตั้งวิทยาลัยอัญมณี ณ วิทยาเขตดังกล่าว โดยมีแผนดำเนินการเปิดสอนใน 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาอัญมณีและเครื่องประดับ สาขาเทคโนโลยีอัญมณี สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ สาขาอัญมณีศาสตร์ และสาขาการออกแบบเครื่องประดับ

มหาวิทยาลัยบูรพาได้แปรสภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จากผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 5 ก[3] ส่งผลให้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 วิทยาลัยอัญมณีได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี”

หน่วยงานภายใน แก้

  • สำนักงานเลขานุการคณะอัญมณี
  • สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ
  • สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
  • สาขาวิชาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

หลักสูตร แก้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะอัญมนี มหาวิทยาลัยบูรพา[4]
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอัญมณีและเครื่องประดับ
  • สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)

  • สาขาวิชาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

ทำเนียบคณบดี แก้

อ้างอิง แก้

  1. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ราชกิจจานุเบกษา : พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๓๓, สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  2. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ราชกิจจานุเบกษา : พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา (ฉบับที่2) พ.ศ. ๒๕๔๑, สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/005/8.PDF พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2550
  4. มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะสาธารณสุขศาสตร์ : หลักสูตรที่เปิดสอน, สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้