มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยไทยสุริยะ และวิทยาลัยพัฒนา ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511[3] ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 6 คณะ 6 วิทยาลัย

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ชื่อย่อมธบ./DPU
คติพจน์บัณฑิตต้องถึงพร้อมทั้งคุณธรรมและคุณวุฒิ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา30 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)[1]
นายกสภาฯดร.อรัญ ธรรมโน
อธิการบดีดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์
อธิการบดีดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์
ผู้ศึกษา13,165 คน (2565)[2]
ที่ตั้ง
สี   ม่วง-ฟ้า
เว็บไซต์www.dpu.ac.th

ประวัติ

แก้
 
อนุสาวรีย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย(ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์และอาจารย์สนั่น เกตุทัต)

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ภายใต้เจตนารมณ์ของ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ และอาจารย์สนั่น เกตุทัต โดยใช้ชื่อสถาบัน "ธุรกิจบัณฑิตย์" ตั้งอยู่ริมคลองประปา ถนนพระราม 6 สามเสน ในยุคเริ่มต้น ต่อมาจึงเปลี่ยนสถานภาพเป็นวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในปี พ.ศ. 2513 และเลื่อนฐานะเป็น "มหาวิทยาลัย" ในปี พ.ศ. 2527

 
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ในปัจจุบัน

เมื่อมีการพัฒนามากขึ้น และมีการขยายตัวของระบบการศึกษาในประเทศ มหาวิทยาลัยจึงย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่ริมคลองประปา ถนนประชาชื่น บนเนื้อที่ 130 ไร่ เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการทางการเรียนการสอน สิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับรอง ISO 9001 : 2008 ทั้งระบบ ทุกคณะวิชา ทุกหน่วยงาน ในองค์กร มหาวิทยาลัยถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสภาวะแวดล้อมสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของสถานศึกษาในประเทศไทย ภายใต้ปรัชญาการดำเนินงานที่ว่า "นักธุรกิจเป็นผู้สร้างชาติ" โดยมี ดร.อรัญ ธรรมโน เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย และ ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ เป็นอธิการบดี

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

แก้

ชื่อมหาวิทยาลัย

แก้

"ธุรกิจบัณฑิตย์" หมายถึง ความรอบรู้ทางด้านธุรกิจ

ตราสัญลักษณ์

แก้
ไฟล์:ตรามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.jpg
ตราสัญลักษณ์แบบเดิม
  • ดวงตรา : เป็นรูปพระสิทธิธาดาประทับนั่งบนแท่น มีวงกลมล้อมรอบ 2 ชั้น ขอบของวงกลมนอกประดับด้วยกลีบบัวซ้อนกัน 32 กลีบ ระหว่างวงกลมนอกกับวงกลมในมีนพรัตน์ หรือดวงแก้ว 9 ดวง วางอยู่ห่างกันเป็นช่วงเท่า ๆ กัน
  • ความหมายของดวงตรา : พระสิทธิธาดา เป็นปางหนึ่งของพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จและปัญญา

แบบที่ใช้ในปัจจุบัน

แก้

โดยตราสัญลักษณ์ใหม่นั้นได้มีการปรับเปลี่ยนในปี 2555 โดยใช้ตัวอักษรตัวย่อ "DPU" และมีสัญลักษณ์ลูกโลกอยู่ที่ปลายด้านบนของตัว U ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ Infinity (∞) ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ที่ไม่ที่สิ้นสุด พร้อมกับสโลแกนใหม่ที่ว่า Progressive University หรือมหาวิทยาลัยแห่งอนาคตที่มุ่งสร้างโอกาส และสร้างอนาคตให้กับนักศึกษาทุกคน

  • DPU : เป็นชื่อย่อภาษาอังกฤษ จากคำว่า Dhurakij Pundit University ใช้สีม่วงเป็นหลักซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

สีประจำมหาวิทยาลัย

แก้

   ม่วง-ฟ้า หมายถึง การปฏิบัติทางธุรกิจ

คติธรรม

แก้
  • "กมฺมนฺเตน วิสุชฺฌติ" หมายถึง คนบริสุทธิ์ได้ด้วยการงาน
  • "ธมฺโมหเว รกฺขติ ธมฺมจารึ" หมายถึง ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

หลักสูตรการศึกษา

แก้

ภาคภาษาไทย

แก้


ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรภาษาไทย

วิทยาลัยบริหารธุรกิจเชิงนวัตกรรมและการบัญชี

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
- การเงิน เทคโนโลยีการเงินและการลงทุน 
- การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
- การตลาดยุคดิจิทัล
- การจัดการและการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล
- ธุรกิจระหว่างประเทศ
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
- บัญชี
  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
- การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ

วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์

  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
- วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์
- วิศวกรรมหุ่นยนต์
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาการโฆษณา
สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
สาขาวิชาวารสารศาสตร์
สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด
สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
  • คณะศิลปศาสตร์
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ
สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ
  • คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
สาขาวิชาการท่องเที่ยว
สาขาวิชาการโรงแรม
สาขาวิชาธุรกิจการบิน
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
สาขาวิชาศิลปะการแสดงประยุกต์
สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
สาขาวิชาการออกแบบและธุรกิจแฟชั่น
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรภาคค่ำ

  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะการบัญชี
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรภาษาไทย

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจอาเซียน
    • หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
  • หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสน์
  • หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์
  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต:สาขาวิชาการจัดการการศึกษา
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต:สาขาหลักสูตรและการสอน
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาวิชาวิศวกรรมเว็บ
สาขาวิชาการจัดการความรู้
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับวิสาหกิจสมัยใหม่
สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม
สาขาวิชาวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่
  • หลักสูตรศิลปศาสตรศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
  • วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สาขาวิชาเวชศาสตร์ความงาม (รับเฉพาะแพทยศาสตร์เท่านั้น)


หลักสูตรปริญญาเอก

  • หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

(ขึ้นตรงกับคณะนิติศาสตร์)

  • วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

วิทยาลัยนานาชาติ

แก้

ดำเนินการสอนโดยคณาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชานั้นในระดับนานาชาติ

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

DPUICInternational Programs

  • English for Business Communication
  • Hospitality and Tourism Management
  • Information Technology
  • Business Administration (International Business)
  • Master of Arts in Integrated

Marketing Communications

  • Master of Business Administration

with concentration in IMC

  • Master of Business Administration

Double Degree with the University of Newcastle, Australia

  • Master of Science in Business Informatics
  • Master of Science in Strategy and Intelligence
  • Doctor of Business Administration
  • Doctor of Philosophy in Business Informatics
  • Doctor of Philosophy in Strategy and Intelligence

วิทยาลัยนานาชาติจีน

แก้

วิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2553 เป็นวิทยาลัยนานาชาติจีนที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมทุน เพื่อทำการศึกษาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศจีนคือมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุนหมิงกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วิทยาลัยนานาชาติจีน เปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษาไทย นักศึกษาจากประเทศจีน และนักศึกษาจากนานาชาติ เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระดับปริญญาตรีในหลักสูตรนานาชาติโดยใช้ภาษาจีนเป็นสื่อการสอน โดยวิทยาลัยนานาชาติจีน ทำหน้าที่ในการสร้างและพัฒนาความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กับสถาบันเครือข่ายในประเทศจีน


ระดับปริญญาตรี
  • สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ

มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตคุณภาพที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติงานจริงในด้านการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ การติดต่อเจรจากับคู่ค้าในตลาดต่างประเทศ มีทักษะความรู้ความสามารถในการนำข้อมูลทางธุรกิจเพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจ สามารถดำเนินกลยุทธ์การทำธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการบัญชี ด้านการบริหารการจัดการ ด้านโลจิสติกส์ ด้านการนำเข้าการส่งออกสินค้าและบริการ ด้านสภาพแวดล้อมของตลาดทั้งระดับภูมิภาคในอาเซียนและระดับนานาชาติ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็ง จัดให้มีการฝึกงานและปฏิบัติงานจริงกับบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

  • การจัดการบริการและการท่องเที่ยว

มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตคุณภาพ สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติงานจริงในด้านการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว มีทักษะและความรู้ในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการจัดการการบริการและการท่องเที่ยว สามารถดำเนินกลยุทธ์ด้านตลาดธุรกิจการบริการและการท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็ง จัดให้มีการฝึกงานและปฏิบัติจริงกับธุรกิจชั้นนำด้านการบริการและการท่องเที่ยว

  • หลักสูตรพิเศษ

หลักสูตรความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุนหมิง หลักสูตรของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุนหมิง ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนภาษาจีนที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ภาษาจีนมาก่อน โดยปีที่ 1-2 เรียนที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ปีที่ 3-4 ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุนหมิง เมืองคุนหมิง ประเทศจีน

หน่วยงาน

แก้

สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

แก้

สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

แก้

สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยการรวมตัวของนักศึกษาจากทุกคณะ ภายใต้การสนับสนุนของ ท่านอดีตอธิการบดี ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ที่ ต้องการให้องค์กรนี้เป็นศูนย์รวมของศิษย์เก่า ไม่ว่าจะเป็นยุคของสถาบัน หรือวิทยาลัย เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งในคณะก่อตั้งดังกล่าว ได้รับแนวทางมาปฏิบัติ และมีการยื่นจดทะเบียนขอจัดตั้งเป็น “สมาคมนักศึกษาเก่าวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2524 โดยมี คุณธารา รัตนพิภพ (ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์) เป็นนายกสมาคมคนแรก (พ.ศ. 2524 - 2526) มีเงินทุนในการดำเนินงานของสมาคมฯ จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่เกิดขึ้นจากรายได้ในการฉลองปริญญาบัตร ที่สำเร็จการศึกษา โดยมีที่ทำการของสมาคมฯ อยู่ที่ 73 ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2538 ในสมัยที่ท่าน ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ พงศะบุตร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้มีการยื่นขอเปลี่ยนแปลงชื่อและข้อบังคับสมาคมฯ ใหม่เป็น “สมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานะภาพของมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ในแต่ละยุคได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจากท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในการอนุญาตให้ใช้สถานที่บริเวณชั้นล่างของอาคารสำนักอธิการบดี เป็นสถานที่ตั้งและทำงานของสมาคมฯ

ปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาชิก ประมาณ 25,000 คน และจะยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี จากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไป รับใช้สังคม และสมาคมฯ มีนโยบายที่ต้องการจะขยายส่วนงานของศิษย์เก่าและสมาชิกออกไปในภาคต่าง ๆ เพื่อ ประสานความดีงามและเป็นประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป[4]

คุณภาพของมหาวิทยาลัย

แก้

ในด้านคุณภาพ

แก้

รางวัลการประกันคุณภาพการศึกษา ประเภทดีเลิศ

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้รับรางวัลระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา ประเภทดีเลิศ ประจำปี 2551-2552 จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวของประเทศที่ได้รับรางวัลประเภทดีเลิศในปีนี้ ทั้งนี้มีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลประเภทดีเลิศในครั้งนี้ด้วย

มหาวิทยาลัยผ่านการประเมินหลักสองครั้งในปีนี้ (2552-2553)

  • การประเมินตามมาตรฐาน สกอ. (ซึ่งประกอบด้วยผู้ประเมินจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐ คือ นิด้า จุฬา และธรรมศาสตร์) ได้ผลการประเมินในระดับดี โดยผู้ประเมินได้ระบุจุดเด่นของมหาวิทยาลัยในเรื่องนวัตกรรมและการดูแลนักศึกษาที่ดี

การประเมินและยกระดับระบบบริหารคุณภาพจากมาตรฐาน ISO 9001:2000 เป็น ISO 9001:2008 โดยรับการประเมินจาก Bureau Veritas Certification (ซึ่งเป็นบริษัทระดับท็อปเท็นในบรรดาบริษัทผู้ตรวจ และมีอายุกว่า 180 ปี) ปรากฏว่าผ่านโดยได้รับการรับรองว่าได้บริหารจัดการตามระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2008 ทำให้ มธบ. ยังคงเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้การรับรองคุณภาพที่มีมาตรฐานและกระบวนการประเมินระดับสากลนี้ครบทุกหน่วยงานและทุกระบบงาน

งานอื่นในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย

แก้

ได้แก่ งานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

  • งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนั้น ได้คะแนนเต็มหรือเกือบเต็มในการประเมินทุกครั้ง
  • งานวิจัย และงานบริการวิชาการนั้น ควรจะประเมินร่วมกัน ถ้านับตามปริมาณโครงการ ผลงานวิจัยที่ทำใน 3 ปีหลังแยกเป็นงานที่ได้รับทุนจากภายนอกและภายในมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย กล่าวคือ
ปี พศ. ทุนภายนอก ทุนภายใน รวม
2549 19 โครงการ 41 โครงการ 60 โครงการ
2550 29 โครงการ 51 โครงการ 80 โครงการ
2551 16 โครงการ 48 โครงการ 59 โครงการ

ผลการประกวดและการแข่งขันระดับชาติของนักศึกษา

แก้

ในรอบปีที่ผ่านมา นักศึกษาของ มธบ. ชนะได้รับรางวัลต่างๆ ประมาณ 50 รายการ จำนวนนักศึกษาที่ได้รับรางวัลประมาณ 150 คน (เท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาทั้งหมดโดยประมาณ) ทั้งนี้รับเฉพาะการประกวดและการแข่งขันที่เกี่ยวกับวิชาการและสังคมเท่านั้น ไม่นับรางวัลทางการกีฬา

ผลการได้งานทำของบัณฑิต

แก้

จากการสำรวจครั้งสุดท้ายในพิธีประสาทปริญญาครั้งที่แล้ว ปรากฏว่าบัณฑิตแทบทุกคณะวิชาได้งานทำภายในเวลา 6 เดือนในระดับ 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ดีกว่าในปีก่อนหน้านั้น ส่วนผลการประเมินบัณฑิตของ มธบ. โดยนายจ้าง (ผู้จบการศึกษา 2546 – 2549 สำรวจปี 2551) จากคะแนนเต็ม 5 ผลเป็นดังนี้

  • อุปนิสัย ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความขยัน อดทน ความยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม 4.31 ระดับดีมาก
  • ทักษะในการทำงาน ทำงานได้ด้วยตนเอง รับผิดชอบ ขยันอดทน สามารถบริหารจัดการ สนใจเรียนรู้ ฯลฯ 4.14 ระดับดี
  • ความรู้ วิชาการ ความรอบรู้ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ วิเคราะห์วิจัย 3.9 ระดับดี

เป้าหมายและอนาคตของมหาวิทยาลัย

แก้

เป้าหมายในอนาคตอันสั้น มธบ. ควรจะพัฒนาตนเองเพื่อก้าวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนดีที่สุด (Best teaching university) และเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่คุ้มค่าที่สุด (Best value-for-money private university)

ศิษย์เก่าดีเด่น และศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้
ผู้นำทางศาสนา
  • พระครูปลัดสุวัฒนสัจจคุณ ดร. (ธีรวิทย์ ฉนฺทวิชฺโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร รองเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จบปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์
พระบรมวงศานุวงศ์
วงการบันเทิง
กีฬา
การเมือง
บุคคลากรทางการศึกษา
ทหาร ตำรวจ กองอาสารักษาดินแดน
องค์กรอิสระ
รัฐวิสาหกิจ องค์การ และองค์การมหาชน
ข้าราชการพลเรือน
  • ธาริต เพ็งดิษฐ์ - อดีตคณะกรรมการสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน, อดีตคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และ อดีตอัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นบุคคลจากคณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ - ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • ธานินทร์ เลาหเพียงศักดิ์ - ผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
  • ธงทอง ทองเต็ม - ผู้จัดการสำนักงานฝึกอบรมสถาบันที่ปรึกษาพัฒนาองค์การ (สพอ.), ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ศพม.)
  • ประพัทธ์โชต ธนวรศาสตร์ - ผู้อำนวยการบริหาร หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • นายศราวุธ ธรรมแสง รองปลัดเทศบาลนครนนทบุรี จบระดับปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์
ผู้ประกาศข่าว
  • พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี - ผู้ประกาศข่าวช่อง 8
  • ภาคภูมิ พันธุ์สถิตย์ - ผู้ประกาศข่าวช่องไทยรัฐทีวี
  • สารวัตร กิจพานิช - ผู้ประกาศข่าวช่อง 8 และ ประธานนักเรียนทุนของ DPU จบระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาวิทยุ-โทรทัศน์
พิธีกร
นักธุรกิจ
  • ปรียานุช นันทโชติ - ผู้จัดการฝ่ายการเงิน บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน)
  • ก่อเกียรติ พาณิชยารมณ์ - ประธานกรรมการธุรกิจโฆษณา และโปรโมเตอร์จัดมวยโลก
  • ชยันต์ จันทวงศาทร - ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
  • กร พุ่มดอกมะลิ - ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและส่งเสริมการขาย ที่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
  • วรวิทย์ นิลเวช - เจ้าของบริษัท อินฟินิตี้ ทัวร์ แพลนเนอร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจทัวร์ทั้งภายในและต่างประเทศ
  • สุเมธ สุเมธาอักษร - เจ้าของบริษัทไทยรสทิพย์ จำกัด ดำเนินธุรกิจแปรรูปอาหารจำพวกเครื่องปรุงรสโดยจัดจำหน่ายทั้งภายในและส่งออกต่างประเทศ

ข้อมูลทั่วไป

แก้

ธรรมเนียมประเพณีและข้อควรปฏิบัติภายในสถาบัน

แก้

ระเบียบนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีระเบียบว่าด้วยเรื่องการแต่งกายของนักศึกษา แต่ในปัจจุบันระเบียบดังกล่าวไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างเคร่ง เนื่องด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

กิจกรรมนักศึกษา

แก้

กิจกรรมนักศึกษา โดย สำนักกิจการนักศึกษา และ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ประจำปีการศึกษานั้นๆ

  • พิธีไหว้ครู เป็นการไหว้ครูประจำปี และการจัดประกวดทำพานของแต่ละวิทยาลัย/คณะ ที่จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน
  • การประกวด Miss DPU Smart Queen (ดาวเทียม) เป็นกิจกรรมการประกวดค้นหาสาวประเภท 2 ที่มีความสามารถและหน้าตาที่โดดเด่น จากทุกวิทยาลัย/คณะ เพื่อจะเป็น Miss DPU Smart Queen ประจำปีการศึกษานั้นๆ ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2560 จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน
  • วิสาสะ เป็นประเพณีรับน้องใหญ่ คอนเสิร์ตและการบายศรีสู่ขวัญน้องใหม่ ที่จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม
  • การประกวด ดาวเดือน เป็นการประกวดเพื่อจะค้นหาน้องใหม่ที่มีความสามารถและหน้าตา จากตัวแทนทุกวิทยาลัย/คณะ เพื่อเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ และจะเป็นดาวเดือน ของมหาวิทยาลัยปีจำปีการศึกษานั้นๆ จะถูกจัดขึ้น ณ ห้องประชุมใหญ่ ซึ่งธีมจะไม่ซ้ำกันในแต่ละปี จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม พร้อมๆกับวิสาสะ
  • การประกวด นางนพมาศ/ประเพณีลอยกระทง เป็นการจัดประกวดหานางนพมาศ ประจำปีการศึกษานั้นๆ จากทุกวิทยาลัย/คณะ และมีการจัดงานลอยกระทงขึ้นภายในมหาวิทยาลัย จะถูกจัดขึ้นในวันลอยกระทง
  • มหกรรมกีฬา DPU GAMES เป็นมหกรรมกีฬา ที่ถูกจัดขึ้นในระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม การแข่งขันกีฬาในทุกประเภท รวมถึงการประกวดกองเชียร์ และ เชียร์ลีดเดอร์ ในวัน พิธีเปิด-ปิด ซึ่งจัดในวันเดียวกัน และธีมจะไม่ซ้ำกันของทุก ๆ ปี
  • การประกวดนักศึกษา นพรัตน์ทองคำ เพื่อเฟ้นหานักศึกษาที่พร้อมด้วยคุณสมบัติของการเป็นนักศึกษาที่ดีและมีผลการเรียนดี ผู้ชนะเลิศจะได้รับรางวัลนักศึกษานพรัตน์ทองคำ พร้อมโล่ สายสะพาย ช่อดอกไม้ และเกียรติบัตร นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์ผู้เข้าประกวดทั้งหมด โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เข้าประกวดได้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมโครงการจิตอาสา, กิจกรรมค่ายนพรัตน์ ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ
  • การประกวดนางสงกรานต์ เป็นการจัดประกวดหานางสงกรานต์ ประจำปีการศึกษานั้นๆ จากทุกวิทยาลัย/คณะ จะถูกจัดขึ้นวันสุดท้ายของการเรียนก่อนหยุดวันสงกรานต์
  • เลือกตั้งสโมสรนักศึกษา และประธานวิทยาลัย/คณะ เป็นการเลือกตั้งสโมสรนักศึกษา และประธานวิทยาลัย/คณะ ที่จะมาดูแลกิจกรรมของนักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป โดยคูหาเลือกตั้งเป็นแบบเครื่องลงคะแนนอิเลคทรอนิกส์ โดย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดขึ้นบริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติ จะถูกจัดขึ้นในช่วงสิ้นเดือน เมษายน
  • พิธีมอบรางวัลเกียรติยศสโมสรนักศึกษา และประธานวิทยาลัย/คณะ/ชมรม โดยเป็นการมอบโล่เกียรติยศ และ เกียรติบัตร ให้กับ สโมสรนักศึกษา และประธานวิทยาลัย/คณะ/ชมรม ในปีการศึกษาก่อนหน้านั้น จะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน พฤษภาคม

ระบบการบริการนักศึกษาและบุคลากร

แก้

ระบบ DPU LSS ระบบ DPU LSS (DPU Learning Support System) คือ ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ในรูปแบบโฮมเพจส่วนตัวของอาจารย์ เป็นระบบที่ช่วยเพิ่มช่องทาง การติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ และนักศึกษา ช่วยลดช่องว่างระหว่างกัน ให้อาจารย์สามารถ ส่งข้อมูลข่าวสารที่สำคัญเกี่ยวกับวิชาเรียนให้นักศึกษาได้อย่างทั่วถึง และนักศึกษาสามารถติดตามข่าวสาร ของวิชาเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ระบบ DPU LSS ประกอบด้วย ข้อมูลอาจารย์ ประกาศ บทความวิชาการ เอกสารประกอบการสอน การส่งงาน กระดานสนทนา ตารางสอน ชั่วโมงให้คำปรึกษา นอกจากนี้ยังสามารถส่งข้อความถึงอาจารย์ได้โดยตรง

ระบบSLCM - Student Life Cycle Management (SAP) เป็นระบบงานที่ครอบคลุมการบริหารจัดการ เพื่อใช้ในการจัดการฐานข้อมูลนักศึกษา ตั้งแต่ “รับสมัคร” จนถึง “รับปริญญา” รวมถึง “ข้อมูลศิษย์เก่า" อันประกอบไปด้วยระบบงานหลักๆ ทั้งหมด 15 ระบบ ได้แก่

  • การรับสมัครนักศึกษา
  • การขึ้นทะเบียนนักศึกษา
  • การจัดตารางเรียน
  • การเทียบโอนรายวิชา
  • การลงทะเบียนนักศึกษา
  • การจัดสอบ
  • การให้เกรดและประเมินผล
  • การเลื่อนชั้นปี
  • การสำเร็จการศึกษา
  • ระบบข้อมูลสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน และคณะ
  • ระบบข้อมูลสำหรับนักศึกษา
  • ศิษย์เก่า
  • ปฏิทินการศึกษา
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • ข้อมูลประวัตินักศึกษา

การเดินทาง

แก้

การเดินทางด้วยรถโดยสารฯ
*รถโดยสารประจำทาง ขสมก. 24, 66, 70, 1076

  • รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีฟ้า สายสามัคคี-เดอะมอลล์งามวงศ์วาน (วงกลม)
  • รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง สายพงษ์เพชร-ท่าทราย
  • รถตู้ สายอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นั่งจากท่ารถบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • รัตนาธิเบศร์,บางบัวทอง รถโดยสารฯ สาย 134 --> เดอะมอลล์งามวงศ์วาน --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีฟ้า
  • ลาดพร้าว,บางกะปิ รถโดยสารประจำทางฯ สาย 545 --> ตลาดพงษ์เพชร --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง
  • ลำลูกกา,บางเขน รถโดยสารประจำทางฯ สาย 114, 522 -- > ตลาดพงษ์เพชร --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง
  • ศรีย่าน,บางโพ,เกียกกาย รถโดยสารประจำทางฯ สาย 66
  • อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ,จตุจักร รถโดยสารประจำทางฯ สาย 24, 63 สำหรับผู้ที่นั่งสาย 63 --> ตลาดพงษ์เพชร --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง
  • GrabCar หรือ GrabBike

การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า

  • รถไฟฟ้า บีทีเอส ลงสถานีหมอชิต --> รถโดยสารฯ สาย 63 --> ตลาดพงษ์เพชร --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง
  • รถไฟฟ้ามหานคร ลงสถานีบางซื่อ --> ต่อรถโดยสารฯ สาย 70(สายประชานิเวศน์3)
  • รถไฟฟ้ามหานคร ลงสถานีจัตุจักร --> ต่อรถโดยสารฯ สาย 63 --> ตลาดพงษ์เพชร --> รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กสีแดง

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษาก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา
  2. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  3. สถาบันอุดมศึกษา เก็บถาวร 2011-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์ สกอ.
  4. "สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
 ประเทศไทย
 สถาบันอุดมศึกษาไทย