พจน์ สะเพียรชัย
ศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย (25 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อดีตรักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา อดีตนายกสภาสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
พจน์ สะเพียรชัย | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก |
ถัดไป | นายชัยพร รัตนนาคะ |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 – 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 | |
ก่อนหน้า | รศ.ดร.ชาตรี เมืองนาโพธิ์ |
ถัดไป | รศ.ดร.คุณหญิงสุมณทา พรหมบุญ |
รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา | |
ดำรงตำแหน่ง 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 – 1 เมษายน พ.ศ. 2537 | |
ก่อนหน้า | รศ.เชาวน์ มณีวงษ์ |
ถัดไป | ผศ.ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2475 อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี |
เสียชีวิต | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (84 ปี) |
คู่สมรส | รศ.ดร.นิดา สะเพียรชัย |
ประวัติ
แก้ดร.พจน์ สะเพียรชัย เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรคนที่ 1 ของพี่น้อง 9 คน ของนายชัย กับโขย์ สะเพียรชัย สำเร็จการศึกษาระดับประถมที่ โรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา มัธยมที่โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนระดับปริญญาตรีการศึกษาบัณฑิต จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร[1] ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ด้านจิตวิทยาการศึกษา จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 22[2]
การทำงาน
แก้ดร.พจน์ สะเพียรชัย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2524[3] ถึงปี พ.ศ. 2530 เป็นรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2530 ถึงปี พ.ศ. 2536 และได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา ในระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2537 และได้รับตำแหน่งฝ่ายบริหารเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2540[4][5] ในทางวิชาการได้รับแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็น ศาสตราจารย์
ดร.พจน์ สะเพียรชัย ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[6] ซึ่งมีนายชิงชัย มงคลธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ
ดร.พจน์ สะเพียรชัย เป็นบุคคลในวงการการศึกษาที่มีส่วนในการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง อาทิ เป็นที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ[7] นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี[8] เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการดำเนินการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[9] อุปนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พจน์ สะเพียรชัย ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-31.
- ↑ "สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-29. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายพจน์ สะเพียรชัย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (นายพจน์ สะเพียรชัย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (นายพจน์ สะเพียรชัย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
- ↑ "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-31.
- ↑ "สภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
- ↑ "คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการดำเนินการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙๗, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘