เฉลียว อยู่สีมารักษ์
เฉลียว อยู่สีมารักษ์ (11 มกราคม พ.ศ. 2494 – 6 กันยายน พ.ศ. 2560) อดีตประธานที่ปรึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนครพัฒนศิลป์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ประเทศไทย)[1]
เฉลียว อยู่สีมารักษ์ | |
---|---|
ไฟล์:เฉลียว อยู่สีมารักษ์.jpg | |
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552 – 19 เมษายน พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | ชินภัทร ภูมิรัตน |
ถัดไป | อภิชาติ จีระวุฒิ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มกราคม พ.ศ. 2494 อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา |
เสียชีวิต | 6 กันยายน พ.ศ. 2560 (66 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
ประวัติ
แก้เฉลียว อยู่สีมารักษ์ จบการศึกษาปริญญาตรี คุรุศาสตรบัณฑิต (คบ.) จากวิทยาลัยครูนครราชสีมา ระดับปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) มหาวิทยาลัยบูรพา (มศว.บางแสน) ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นม.) มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง หลักสูตรนักบริหารระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ ๒๕๔๗
เฉลียว สมรสและมีบุตรีคือ อภิรดี อ๋องสกุล ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนครพัฒนศิลป์
เฉลียว ได้ดำรงตำแหน่งทางราชการต่าง ๆ อาทิ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบและทะเบียนประวัติ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู, เลขานุการกรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู กระทรวงศึกษาธิการ , รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู กระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ๙) , รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (นักบริหาร ๙) , ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู, เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (นักบริหาร ๑๐) , รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ๑๐) , ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ระดับ ๑๐ , เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม 2553 ถึง 21 ธันวาคม 2553 กระทั่งลาออกจากราชการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[2]
นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ได้มีผลงานต่างๆ อาทิ ดำเนินการในการพิจารณาระบบการประเมินตำแหน่งข้าราชการครูให้รับเงินเดือนในระดับสูงขึ้น ในตำแหน่งสายผู้บริหารสถานศึกษา สายผู้บริหารนอกสถานศึกษา สายนิเทศการศึกษาและข้าราชการครู สายผู้สอน, รับผิดชอบร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง และกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 55 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 6 กันยายน 2560 ด้วยโรคเนื้องอกในตับ
ในวันที่ 7 กันยายน 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โกศแปดเหลี่ยม และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานในพิธี พระราชทานเพลิงศพในวันที่ 14 กันยายน 2560 เวลา 17.00 น. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-22. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
- ↑ "เฉลียว อยู่สีมารักษ์" ลาออกจากปลัด ศธ.มีผลวันนี้[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๖, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๐๙, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๔, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔