คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (อังกฤษ: Faculty of Political Science and Law, Burapha University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยบูรพา จัดการเรียนการสอนด้านการเมืองการปกครอง กฎหมาย และการบริหารรัฐกิจ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
Faculty of Political Science and Law, Burapha University
ชื่อย่อรน. / PSL
คติพจน์คุณธรรมคู่ปัญญา เพื่อพัฒนาภาคตะวันออก
สถาปนา26 มกราคม พ.ศ. 2550 (17 ปี)
คณบดีผศ. ร.ต.อ. ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล
ที่อยู่
เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20131
สี  สีแดง
มาสคอต
สิงห์ครามและตราชู
เว็บไซต์http://www.polsci-law.buu.ac.th/

ประวัติ

แก้

คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พัฒนามาจากภาควิชารัฐศาสตร์ ภายใต้คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ใน พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ได้รับการยกฐานะให้เป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[1] โดยจัดการเรียนการสอนด้านรัฐศาสตร์

ใน พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ ต่อมาใน พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา ลงมติรับหลักการและส่งให้คณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการจนกระทั่ง ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จึงได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาโดยพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 131[2][3] ภาควิชารัฐศาสตร์ จึงอยู่ภายใต้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และได้จัดตั้งภาควิชานิติศาสตร์ขึ้นในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ใน พ.ศ. 2544[4]

ต่อมาใน พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เปลี่ยนสถานภาพจากส่วนราชการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐใน พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ ต่อมาใน พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา ลงมติรับหลักการและส่งให้คณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการจนกระทั่ง ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จึงได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาโดยพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 131[5][6] สภามหาวิทยาลัยบูรพา จึงมีมติจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยได้รวมภาควิชารัฐศาสตร์ และภาควิชานิติศาสตร์ เข้าไว้ด้วยกัน ต่อมาคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ได้จัดตั้งภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ ขึ้นใหม่ โดยแยกออกจากภาควิชารัฐศาสตร์เดิม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555 ในปัจจุบันจึงมี 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ และภาควิชานิติศาสตร์

หน่วยงานภายใน

แก้

ประกอบด้วย[7]

  • สำนักงานคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
  • ภาควิชารัฐศาสตร์
  • ภาควิชานิติศาสตร์
  • ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์

ภาควิชารัฐศาสตร์

แก้

เดิมก่อตั้งเป็นภาควิชารัฐศาสตร์ อยู่ภายใต้สังกัดคณะสังคมศาสตร์ เมื่อครั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน พ.ศ. 2517 เปิดการเรียนการาสอนให้กับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกสังคมศึกษาต่อมา พ.ศ. 2518 ได้มีการจัดการเปิดหลักสูตรวิชาโทรัฐศาสตร์เรื่อยมา

ต่อมาเมื่อเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาแล้วภาควิชารัฐศาสตร์ที่ได้สังกัดคณะสังคมศาสตร์ จึงได้ถูกรวมกับคณะมนุษยศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พ.ศ. 2539 ภาควิชารัฐศาสตร์ ได้เปิดการสอนเพื่อผู้บริหาร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ในระดับปริญญาโท เป็นโครงการพิเศษและยังสอนในวิชาโทรัฐศาสตร์และในเอกสังคมศึกษา ในระดับปริญญาตรี สภามหาวิทยาลัย ได้เห็นชอบโครงการพิเศษสำหรับผู้บริหาร รัฐประศานศาสตรมหาบัณฑิตจัดตั้งวิทยาลัยบริหารรัฐกิจ ใน พ.ศ. 2544 แยกสังกัดจากเดิมในภาควิชารัฐศาสตร์ เป็นในสังกัดของมหาวิทยาลัย

ในช่วงปี 2545 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ หัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์ในขณะนั้น ได้เปิดให้มีการสอนในระดับปริญญาตรีเป็นครั้งแรกหลักสูตร สาขาการบริหารทั่วไป หลักสูตร 4 ปี และหลักสูตรต่อเนื่อง ต่อมาในปี 2546 จึงเปิดการสอนในอีกหลักสูตร สาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ ในปี 2548 ได้เปิดหลักสูตร รัฐศาสตรบัณฑิต 3 สาขา รัฐศาสตร์ศึกษา การปกครองและการบริหารงานท้องถิ่น เศรษฐศาสตร์การเมือง รวมทั้งมีการสอน สาขาการปกครองท้องถิ่น ต่อมาเพิ่มสาชาวิชาในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต อีก 2 สาขาคือ การจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง การบริหารงานยุติธรรมและสังคม ต่อมาได้จัดตั้งภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ขึ้นใหม่โดยแยกออกจากภาควิชารัฐศาสตร์เดิม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555 ทำให้ปัจจุบันการสอนในระดับปริญญาตรีจึงมีเพียงหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต

หลักสูตร

แก้
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา[8]
กลุ่มวิชา/ภาควิชา/สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชารัฐศาสตร์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
  • สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการจัดการปกครอง
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ร.ด.)

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการจัดการปกครอง
ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
  • สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
  • สาขาวิชาการบริหารงานท้องถิ่น
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ภาควิชานิติศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
  • สาขาวิชานิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
  • สาขาวิชานิติศาสตร์

ทำเนียบคณบดี

แก้
รายนามคณบดีรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555 [9]
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่เรือตรี ดร.เอกวิทย์ มณีธร 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563 [10][11]
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพงษ์ บัวหล้า 24 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 [12][13]
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (ผู้รักษาการแทนคณบดี)
24 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน [14]

กิจกรรมสานสัมพันธ์นิสิต-นักศึกษารัฐศาสตร์

แก้

 

สิงห์สัมพันธ์

เป็นกลุ่มกิจกรรมของนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เรียกว่า สิงห์สัมพันธ์ โดยเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งเมื่อปีการศึกษา 2547 ได้ใช้ชื่อว่า 5 สิงห์ โดยการก่อตั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรักและความสามัคคีระหว่างนิสิตและนักศึกษาที่ศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ การประกวดแสตนด์เชียร์และผู้นำเชียร์ และเพื่อเสริมสร้าง-แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ โดยการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งก็จะมีการจัดกิจการการตอบปัญหาทางวิชาการและเสวนาวิชาการจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยอยู่เสมอ

สมาชิกของกลุ่ม 5 สิงห์ ประกอบด้วยองค์กรกิจกรรมนิสิตหรือนักศึกษาของ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สิงห์ดำ), คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง), ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สิงห์เขียว), คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สิงห์ขาว) และ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สิงห์เงิน)

อย่างไรก็ตาม เมื่อปีการศึกษา 2552 ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (สิงห์คราม) ได้แสดงความจำนงขอเข้าร่วมกลุ่ม 5 สิงห์ และโดยมติของคณะกรรมการกลุ่ม 5 สิงห์ ซึ่งมาจากองค์กรนิสิตหรือนักศึกษาที่ทำหน้าที่บริหารกิจกรรมของคณะหรือภาควิชารัฐศาสตร์ของ 5 มหาวิทยาลัยก่อตั้งกลุ่ม จึงรับเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม 5 สิงห์และเปลี่ยนชื่อเป็น สิงห์สัมพันธ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

และในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ประชุมสมาชิกสิงห์สัมพันธ์ได้รับรองให้ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สิงห์แสด) เป็นสมาชิก ทำให้งานสิงห์สัมพันธ์ตั้งแต่ครั้งที่ 9 เป็นต้นไปจะมีสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 7 สิงห์

ทั้งนี้ กลุ่มสิงห์สัมพันธ์ ได้มีความพยายามจัดตั้ง สมาพันธ์นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ สนรท. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 แต่เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมของแต่ละมหาวิทยาลัย องค์กรนี้จึงยังไม่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมและประกาศต่อสื่อมวลชน

กิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมแข่งขันกีฬา กิจกรรมแสตนเชียร์ และเชียร์ลีดเดอร์ และกิจกรรมงานราตรีชาวสิงห์

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗ (หน้า ๑), มาตรา เล่ม ๙๑ ตอนพิเศษ ๑๑๒ ประกาศใช้เมื่อ 28 มิถุนายน 2517. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  2. พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  3. พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา (ฉบับที่2) พ.ศ. 2541 สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  4. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ [https://web.archive.org/web/20210712125737/http://www.polsci-law.buu.ac.th/pollaw/about1.php เก็บถาวร 2021-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติคณะ]] สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  5. พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  6. พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา (ฉบับที่2) พ.ศ. 2541 สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  7. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ โครงสร้างองค์กร สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2566.
  8. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ หลักสูตรที่เปิดสอน เก็บถาวร 2021-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  9. "คำสั่งสภามหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ (ผศ.ดร.สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-14. สืบค้นเมื่อ 2022-10-14.
  10. "คำสั่งสภามหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (ผศ. ว่าที่เรือตรี ดร.เอกวิทย์ มณีธร)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-14. สืบค้นเมื่อ 2022-10-14.
  11. "ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (ผศ. ว่าที่เรือตรี ดร.เอกวิทย์ มณีธร)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-14. สืบค้นเมื่อ 2022-10-14.
  12. "คำสั่งคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนสภาฯ เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (ผศ.ธีรพงษ์ บัวหล้า)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-14. สืบค้นเมื่อ 2022-10-14.
  13. แถลงการณ์มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565
  14. "คำสั่งสภามหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ (ผศ. ร.ต.อ.วิเชียร ตันศิริคงคล)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-11-08. สืบค้นเมื่อ 2023-11-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้