คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (อังกฤษ : Facolty of Politicol Science – POL) เป็นหน่วยงานประเภทคณะของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดตั้งมาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในเขตภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Faculty of Political Science, Ubon Ratchathani University
สิงห์แสด
สัญลักษณ์ประจำคณะ
คติพจน์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นเลิศด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สถาปนา16 กันยายน พ.ศ. 2549 (17 ปี)
คณบดีดร.ศิริพร จันทนสกุลวงศ์
ที่อยู่
สี███ สีแสด
มาสคอต
สิงห์แสด
เว็บไซต์www.pol.ubu.ac.th

ประวัติ แก้

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เกิดจากการสนับสนุนทางวิชาการจาก ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง อดีตศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครราชสีมา และรองประธานวุฒิสภา ซึ่งท่านได้มีโอกาสเข้ามาเป็นกรรมการพิจารณาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ระดับปริญญาตรีและโทในปลายปี พ.ศ. 2547 ต่อมา ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง ได้เสนอให้เปิดรัฐประศาสนศาสตร์ระดับปริญญาเอกเมื่อปี พ.ศ. 2548

เดิมคณะรัฐศาสตร์สังกัดคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ตอนแรกมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ริเริ่มจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ก่อน โดยอาจารย์ทางรัฐศาสตร์ช่วยสอนวิชาพื้นฐาน จากนั้นไม่นานกลับปรากฏว่างานทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ขยายตัว เนื่องจากแนวโน้มของการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและการพัฒนาความรู้ทางด้านจัดการภาครัฐแนวใหม่ อีกทั้งการศึกษารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มีความเด่น เป็นที่รู้จักแพร่หลายและเป็นวิชาชีพที่มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติโดยตรง ขณะเดียวกันความต้องการของผู้เรียนในพื้นที่ก็มีเพิ่ม มากขึ้นเรื่อย ๆ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยหลักในภาคอีสานตอนใต้จึงต้องการพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนและการวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ การที่รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์รวมอยู่กับนิติศาสตร์ในตอนต้นนั้นจึงกลายเป็นอุปสรรค เพราะลักษณะวิชานิติศาสตร์กับรัฐศาสตร์แตกต่างกันมาก กับทั้งในทรรศนะของมหาวิทยาลัย อื่น ๆ แล้ว ต่างก็เป็นคณะที่ใหญ่ด้วยกัน ซึ่งแต่ละคณะมีกลุ่มเป้าหมายและสาขาแยกย่อยออกไปอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะการพัฒนาทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มีหลักสูตร ที่แตกแขนงออกถึง 8 หลักสูตร ได้แก่

  • หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การ
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
  • หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การ
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น (โครงการพิเศษ)

คณะรัฐศาสตร์ แยกตัวออกมาจากคณะนิติศาสตร์ เมื่อกลางปี พ.ศ. 2549 โดยผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549 และสภามหาวิทยาลัยมีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้จัดตั้งเป็น วิทยาลัยรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สัญลักษณ์ประจำคณะ แก้

  • สัญลักษณ์

สัญลักษณ์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้แก่ "สิงห์แสด" โดย "สิงห์" หมายถึง ผู้ปกครองดั่งราชสีห์ ผู้เป็นจ้าวแห่งป่า และ "สีแสด" หมายถึง แผ่นดินอีสานที่เป็นดินทราย แห้งแล้ง เจิดจ้าเต็มไปด้วยแสงอาทิตย์

“สิงห์” เป็นตราประจำกระทรวงมหาดไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงโปรดให้ชำระสะสางระเบียบราชการซึ่งเคยมีอยู่มากมาย แต่กระจัดกระจายหายไปบางส่วนครั้งเสียกรุงแก่พม่า ครั้นชำระแล้วให้ประทับตราพระราชสีห์ (สิงห์) พระคชสีห์ บัวแก้ว ไว้ทุกเล่มเป็นสำคัญเรียกกฎหมายนี้ว่า “กฎหมายตรา 3 ดวง” และ“สิงห์” ได้กลายมาเป็นตราสัญลักษณ์ของบุคลากรสายงานด้านปกครองที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานของประเทศ ทำให้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ควบคู่กับสายงานด้านการปกครองป้องกันของประเทศไทย รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับสายงานด้านการปกครองไม่ว่าจะอยู่ในระดับคณะ ภาควิชา หรือสาขาวิชาทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ นำโดยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ในปี พ.ศ. 2491 (สิงห์ดำ) ติดตามด้วยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง) ในปีถัดมา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2508 ก็ได้มีการจัดตั้งภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คณะรัฐศาสตร์ฯ ในปัจจุบัน) (สิงห์ขาว)

ในปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มมีการให้ความสำคัญในวิชาทางด้านรัฐศาสตร์มากขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นผู้เริ่มพัฒนาการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ โดยจัดตั้งวิทยาลัยการเมืองการปกครอง (สิงห์น้ำตาล) และภายในปี พ.ศ. 2548 จึงเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (สิงห์มอดินแดง) และมีการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สิงห์แสด) ขึ้น[1]


  • สีประจำคณะ

███ สีแสด เปรียบเสมือนว่า แสงอาทิตย์ที่ขึ้นก่อนใครในสยาม และแผ่นดินอีสานที่เป็นดินทราย แห้งแล้ง เจิดจ้าเต็มไปด้วยแสงอาทิตย์

อาคารเรียน แก้

  • คณะรัฐศาสตร์ ตั้งอยู่ที่อาคารเรียนรวม 3 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 85 ม.4 ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 และ
  • คณะรัฐศาสตร์ "อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านสังคมศาสตร์"

หลักสูตรการศึกษา แก้

ปัจจุบัน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดทำการเรียนการสอนในสาขาวิชา ดังต่อไปนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปริญญาบัณฑิต
ปริญญามหาบัณฑิต
ปริญญาดุษฏีบัณฑิต

รัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)

  • สาขาวิชาการปกครอง

รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)

  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (กำลังดำเนินการ)

สำนักงานคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แก้

ทำเนียบคณบดี แก้

รายนามผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งวิทยาลัยรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีดังนี้

ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งวิทยาลัยรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง ดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 รก.ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งวิทยาลัยรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ทำเนียบคณบดี แก้

รายนามคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง ดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 คณบดีวิทยาลัยรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2. รองศาสตราจารย์ ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2551 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี มีนาคม พ.ศ. 2551 - กันยายน พ.ศ. 2551 รักษาการคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5. รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 - สิงหาคม พ.ศ. 2554 รักษาราชการแทนคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
6. ดร.ฐิติพล ภักดีวานิช สิงหาคม พ.ศ. 2554 - มกราคม พ.ศ. 2555 รักษาราชการแทนคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยยันต์ รัชชกุล 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 31 มกราคม พ.ศ. 2559 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
8. ดร.ฐิติพล ภักดีวานิช 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 - 2566 คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งผูอำนวยการ คณบดี และรักษาการราชการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามในขณะนั้น

ศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงแก่สถาบัน แก้

ระดับปริญญาตรี แก้

  • นายสุชาติ สุภาพันธ์ ปลัดอำเภอเมืองสุรินทร์ (เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ) จังหวัดสุรินทร์
  • นายชัยนเรศ ยอดแตง ปลัดอำเภอเขมราฐ (เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ) จังหวัดอุบลราชธานี
  • นางสาวอนุสรา ศิริมา ปลัดอำเภอกันทรลักษ์ (เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ) จังหวัดศรีสะเกษ
  • นายวิษณุ สนมศรี ปลัดอำเภอนาทม (เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ) จังหวัดนครพนม
  • นายธนวัฒน์ สุดงาม พนักงานส่วนตำบล (ข้าราชการส่วนท้องถิ่น) ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ สำนักงานปลัดฯ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
  • นางสาวกิตติยาพร ไชยสำแดง พนักงานส่วนตำบล (ข้าราชการส่วนท้องถิ่น) ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ สำนักงานปลัดฯ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
  • นายเอกรัฐ ทาตาสุข เลขานุการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเมย จังหวัดอำนาจเจริญ
  • นายกิตตินันท์ ชัยภูมิ นักวิชาการที่ดิน ตำแหน่ง นักวิชาการที่ดินปฏิบัติการ สำนักงานที่ดินจังหวัดระยอง
  • นายวัฒนา บุตรสอง ผู้จัดการฝ่ายฝึกอบรมการขาย บริษัท ซีพีเอฟ เรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด

ระดับปริญญาโท แก้

  • พันตำรวจตรี เขตคงรัฐ ธรรมสัตย์ สถานีตำรวจภูธรดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี
  • นายธงชัย ศิริโสภาพงษ์ อดีตเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี (อำนวยการระดับสูง)กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
  • นายปรารถนา เสวยสุข นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการพิเศษ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • นางมยุรี สงวนนาม ประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร (อำนวยการระดับสูง) กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • นายอภินันทน์ กสิโสภา ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริการสาธารณะท้องถิ่นและประสานงานท้องถิ่นอำเภอ (นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นชำนาญการพิเศษ) สนง.สถ.จังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
  • นายประจักษ์ ผิวงาม กำนันตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
  • นายพีระพัฒน์ วงศ์สุวรรณ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (นักบริหารงานท้องถิ่น ระดับต้น)
  • นายกิติศักดิ์ พ้นภัย กรรมาธิการ​ สภาผู้แทนราษฎร​, ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คำสั่งที่ ๓๖๘/๒๕๕๒, ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติทางทหารกิตติมศักดิ์, หัวหน้ากลุ่มกำลังแผ่นดิน

ระดับปริญญาเอก แก้

  • ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับการศึกษารัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต (รป.ด.) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จบการศึกษาปี พ.ศ. 2551
  • ดร.ประชา ประสพดี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้ารับการศึกษารัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต (รป.ด.) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จบการศึกษาปี พ.ศ. 2555
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ อดีตข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ปัจจุบันอาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พันเอก ดร.จักรพงศ์ จันทร์สุทธิประภา (ประเวศสุทธิ สุทธิประภา) เสนาธิการจังหวัดทหารบกสุรินทร์ ค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดสุรินทร์
  • ดร.ประสิทธิ์ ดวงตะวงษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานภาค 4
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ณ หนองคาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สโมสรและสมาคม แก้

  • สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สมาคมศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (อยู่ในขั้นตอนการจัดตั้ง คณะกรรมการ)

อ้างอิง แก้

  1. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ทำไมต้องสิงห์. 25 กรกฎาคม 2565"