มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (พฤศจิกายน 2565) |
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เดิมชื่อ วิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Ubon Ratchathani University; อักษรย่อ: มอบ. – UBU) เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดตั้งในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2530 โดยจัดตั้งเป็น วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น และยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2533 จากความพยายามที่จะให้มีมหาวิทยาลัยในจังหวัดอุบลราชธานีของทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชนในจังหวัดและมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งที่สองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
![]() เจดีย์ทรงล้านช้าง สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มอบ.[1] / UBU |
---|---|
คติพจน์ | พัฒนาความรู้ มุ่งสู่ปัญญา พร้อมคุณค่าคุณธรรม |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 |
อธิการบดี | ผศ. ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา |
นายกสภาฯ | ศ. (พิเศษ) จอมจิน จันทรสกุล |
ผู้ศึกษา | 13,832 (2564)[2] |
ปริญญาตรี | 13,394 (2564) [3] |
บัณฑิตศึกษา | 322 (2564) [4] |
114 (2564)[5] | |
ที่ตั้ง | |
สี | ████ น้ำเงิน-เหลือง |
เว็บไซต์ | www.ubu.ac.th |
![]() |
ในปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รวมทั้งสิ้น 10 คณะ 1 วิทยาลัย แบ่งได้เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีนักศึกษาอยู่ในคณะและวิทยาลัยต่างๆ รวมแล้วประมาณ 15,000 คน ทำการเรียนการสอนทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ
ประวัติแก้ไข
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยที่ยกฐานะมาจาก วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามมติคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2533 ในรัฐบาลของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ด้วยความมุ่งหมายให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการจัดการศึกษาเน้นหนักทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพัฒนา กำลังคนของประเทศ ซึ่งกำลังมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศ กึ่งอุตสาหกรรม และเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้แก่ประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งให้มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปปรับปรุงการประกอบวิชาชีพของตนเองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นต่อไป
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2531 ภายใต้ชื่อ "วิทยาลัยอุบลราชธานี" โดยเปิดทำการสอน ในสาขาเกษตรศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 67 คน ซึ่งฝากเรียนไว้ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อมาในปีการศึกษา 2533 วิทยาลัยอุบลราชธานีได้ยกฐานะมาเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 ได้ย้ายสถานที่จัดการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาประจำ ณ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบริเวณกิโลเมตรที่ 10 - 11 ถนนวารินเดชอุดม ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บนเนื้อที่ประมาณ 5,228 ไร่ และเริ่มจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของคณะเกษตรศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้ถือเอาวันที่ 30 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยแล้วในปี พ.ศ. 2534 คณาจารย์และนักศึกษาทั้งหมด ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มาประจำ ณ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์ โดยสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้แต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นคนแรก ในส่วนของการก่อสร้าง เริ่มต้นด้วยงบประมาณเพียง 16 ล้าน ในปี 2531 อาคารหลังแรก ที่ก่อสร้างคือ อาคารเอนกประสงค์
คณะแก้ไข
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประกอบไปด้วย 10 คณะ 1 วิทยาลัย ครอบคลุมทั้งระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ประกอบไปด้วยหน่วยงานทางด้านวิชาการดังนี้
กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพแก้ไขกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก้ไข |
กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แก้ไขบัณฑิตศึกษาแก้ไขโครงการจัดตั้งแก้ไข
|
- สถานที่ต่างๆ ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
พุทธศักราช | คณะ, วิทยาลัย |
---|---|
2531 |
คณะเกษตรศาสตร์ • คณะวิศวกรรมศาสตร์ • คณะวิทยาศาสตร์ |
การวิจัยแก้ไข
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยโดยที่มุ่งที่จะเป็น Research University จึงมีหน่วยงานหลักที่สนับสนุนการวิจัยคือ งานส่งเสริมการวิจัยและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เก็บถาวร 2013-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งทุกคณะจะมีหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย
การจัดอันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัยแก้ไข
การจัดอันดับโดย Nature Index โดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group เป็นวารสารทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารในเครือ Nature Publishing Group ปี 2016 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อยู่ในอันดับที่ 7 ของประเทศไทย
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อยู่ในอันดับที่ 2,470 ของโลก อันดับที่ 19 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[6]
- ดูบทความหลักที่ อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
การจัดอันดับคณะต่าง ๆแก้ไข
ผลการประเมินโดย สกอ. (พ.ศ. 2549)แก้ไข
การจัดระดับมหาวิทยาลัยไทยด้านการวิจัย (Research Ranking Indicators) และด้านการเรียนการสอน (Teaching Ranking Indicators) และข้อมูลการจัด 50 อันดับของคณะในสาขาต่าง ๆ 7 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยี สาขาชีวการแพทย์ สาขามานุษยวิทยาและศิลปกรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาเกษตร และสาขาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ภายใต้ "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา "มติชน" เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง นักเรียน และผู้สนใจทั่วไป[7] โดยอันดับแรกของแต่ละด้าน คือ
ผลงานแห่งความภาคภูมิใจแก้ไข
- ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น 3 ผลงาน เป็นผลงานวิจัยทางวิชาการที่มีการตีพิมพ์ในวารสารมากที่สุด ผลงานวิจัยด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และผลงานวิจัยด้านการตอบสนองชุมชน
- ได้รับการประเมินคุณภาพ รอบสอง ในระดับดีมาก ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) พ.ศ. 2549-2551 และได้คะแนนเป็นลำดับที่สาม 4.70 คะแนน ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย
- ผลการสอบของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจาก คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อเป็นผู้ปฏิบัติการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมปี 2553 ซึ่งสอบผ่านเกณฑ์เป็นลำดับที่ 2 ของประเทศ
- ทีมกันเกรา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU ชิงแชมป์ประเทศไทย ปี 2555
- ผลการสอบของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจาก คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อเป็นผู้ปฏิบัติการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมปี 2556 ซึ่งสอบผ่านเกณฑ์เป็นลำดับที่ 5 ของประเทศ
หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยแก้ไข
สำนักแก้ไข
- สำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
- สำนักบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์
- สำนักวิทยบริการ
โรงเรียนแก้ไข
- โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (วมว.) - ณ โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ
องค์กรนักศึกษาแก้ไข
- สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
พื้นที่มหาวิทยาลัยแก้ไข
เป็นพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่จัดการเรียนการสอนและการวิจัยในปัจจุบันโดยมีพื้นที่โดยประมาณจำนวน 5,228 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 15 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 10 - 11 บนถนนสถลมาร์ค ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นดังนี้
- กลุ่มอาคารบริหารส่วนกลาง ที่ประกอบไปด้วย อาคารสำนักงานอธิการบดี อาคารหอประชุมเอนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารสำนักวิทยบริการ (หอสมุดกลาง) อาคารสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย อาคารสำนักบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ อาคารปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและวิจัยด้านธุรกิจ (อาคารเทพรัตน์สิริปภา) อาคารกิจกรรมนักศึกษาและโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กลุ่มอาคารกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มอาคารเรียนรวม โรงอาหารกลาง
- กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ประกอบด้วย อาคารปฏิบัติการเภสัชชุมชน กลุ่มอาคารคณะเภสัชศาสตร์และอาคารปฏิบัติการ กลุ่มอาคารณะพยาบาลศาสตร์และอาคารปฏิบัติการรวม กลุ่มอาคารวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข และโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (อาคารศูนย์การศึกษาและวิจัยทางการแพทย์) อาคารกิจกรรมด้านสุขภาพ และอาคารกายวิภาคศาสตร์
- กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์และอาคารปฏิบัติการ กลุ่มอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และกลุ่มอาคารปฏิบัติการโรงงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะเกษตรศาสตร์และอาคารโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมเกษตรและพื้นที่ไร่ฝึกและทดลองประมาณ 3,928 ไร่
- กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มอาคารคณะศิลปศาสตร์ อาคารโรงละครคณะศิลปศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะบริหารศาสตร์ กลุ่มอาคารคณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ อาคารคณะนิติศาสตร์ อาคารคณะรัฐศาสตร์ และอาคารฝึกอบรมภาษาและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
- กลุ่มอาคารหอพักอาจารย์และนักศึกษา บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มอาคารหอพักอาจารย์และบุคลากร กลุ่มอาคารหอพักนักศึกษา
- กลุ่มอาคารกีฬาและนันทนาการ บนเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ ที่ประกอบไปด้วย อาคารศูนย์กีฬาเอนกประสงค์ สนามกีฬากลาง สระว่ายน้ำยอดเศรณี และสนามกีฬาต่าง ๆ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยแก้ไข
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดการเรียนการสอนแตกต่างกันออกไปตามหลักสูตรของแต่ละคณะและสาขาวิชาที่มีการจัดการศึกษาตั้งแต่ 4 ปี ไปจนถึง 6 ปี และมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาในแต่ละคณะวิชาได้ทำความรู้จักในฐานะนักศึกษาสถาบันเดียวกันและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในหมู่สมาชิกและเพื่อนในแต่ละคณะวิชา โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ส่งเสริมในด้านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บัณฑิตที่จบออกไปจากรั้วมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นผู้ทีมีความรับผิดชอบ และมีความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ และการรู้จักการช่วยเหลือสังคม โดยมีกิจกรรมนักศึกษาที่เด่น ๆ ดังนี้
กิจกรรมนักศึกษาแก้ไข
- ประเพณีเดินเท้าสู่วัดหนองป่าพง จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาใหม่ ได้เรียนรู้จักชุมชนรอบบริเวณมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมทั้งได้เข้าปฏิบัติธรรมตามหน้าที่ของชาวพุทธอย่างถูกต้องและสามารถดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท มีสมาธิ ปัญญาและเป็นการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะเป็นบัณฑิตที่พึ่งประสงค์ของสังคมต่อไป
- ชุมนุมไอทีคาเฟ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นหน่วยกลางในการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นเวที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสารสนเทศ
- ชุมนุมนักประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2543 วัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มนักศึกษาที่สนใจเรื่องสิ่งประดิษฐ์ และสร้างนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ รวมถึงประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยในการแสดงความรู้ความสามารถต่อสาธารณชน ลักษณะกิจกรรม เช่น จัดการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์ รวมถึงเข้าแข่งขันรถประหยัดพลังงานและการแข่งขันหุ่นยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ชุมนุมหมอลำการเมือง คณะรัฐศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นชุมนุมที่รวบรวมเอานักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ทุกชั้นปีที่มีใจรักและกล้าแสดงออก ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยน ศึกษาและพัฒนารูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจเกี่ยวกับหมอลำ และอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยโดยใช้วัฒนธรรมหมอลำเป็นสื่อ
การพักอาศัยของนักศึกษาแก้ไข
สำหรับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนั้นเป็นสถาบันการศึกษาที่ให้การศึกษากับกลุ่มนักศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและนักศึกษาจากทั่วทั้งประเทศ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มีการจัดสร้างหอพักนักศึกษาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาที่ต่างภูมิลำเนาเข้าพักอาศัย และเป็นการสร้างความรู้จักกันให้กับนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อน ๆ ต่างคณะและเป็นการสร้างความปลอดภัยและความอุ่นใจให้กับผู้ปกครองที่มีนักศึกษาจากต่างภูมิลำเนาเข้ามาศึกษา
โดยมีกลุ่มหอพักให้การบริการนักศึกษา ได้แก่ กลุ่มอาคารราชาวดี กลุ่มอาคารราชพฤกษ์ กลุ่มอาคารลีลาวดี และกลุ่มอาคารกันเกรา
ทำเนียบผู้อำนวยการวิทยาลัย และอธิการบดีแก้ไข
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | ||
---|---|---|
ผู้อำนวยการวิทยาลัย | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2530 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 (สมัยดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการวิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น) | |
อธิการบดีมหาวิทยาลัย | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 - 25 มกราคม พ.ศ. 2534 (รักษาการ) 25 มกราคม พ.ศ. 2534 - 25 มกราคม พ.ศ. 2538 (สมัยที่ 1) | |
2. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
3. ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549 (สมัยที่ 1) | |
4. รองศาสตราจารย์ ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 (สมัยที่ 1)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 26 เมษายน พ.ศ. 2562 (สมัยที่ 2) | |
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา | 27 เมษายน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีแก้ไข
โดยมีบุคคลที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดังนี้
- ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ (คณะรัฐศาสตร์ - รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2551-2551)
- ดร.ประชา ประสพดี (คณะรัฐศาสตร์ - รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต) สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรสมุทรปราการ เขต 7 และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2555-2557)
- ศาสตราจารย์ พลตำรวจโทหญิง ดร.นัยนา เกิดวิชัย (คณะรัฐศาสตร์ - รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต) อดีตคณบดีคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- สมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ (คณะรัฐศาสตร์ - รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบลราชธานี
- เมธาวี ธีรลีกุล (คณะบริหารศาสตร์) มิสแกรนด์สระแก้ว 2018 และรองชนะเลิศอันดับ 4 มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2018 ปัจจุบันเป็นนักแสดงสังกัดช่อง 7 เอชดี
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออกของ กระทรวงการอดุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564
- ↑ จำนวนนักศึกษา
- ↑ จำนวนป.ตรี
- ↑ จำนวนบัณฑิต
- ↑ จำนวนป.เอก
- ↑ การจัดอันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัย
- ↑ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ "มติชน" ฉบับวันที่ 2 กันยายน 2549 หน้าที่ 22
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Ubon Ratchathani University |
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ประวัติมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เก็บถาวร 2010-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เก็บถาวร 2010-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 221) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เก็บถาวร 2007-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน