จังหวัดอุบลราชธานี
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
อุบลราชธานี มักเรียกโดยทั่วไปสั้นๆ ว่า อุบลฯ อักษรย่อ อบ เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และอันดับที่ 5 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากจังหวัดนครราชสีมา[ต้องการอ้างอิง] นับเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เก่าแก่ เช่น ภาพเขียนสีที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง ประเพณีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนี้คือแห่เทียนพรรษา[3] มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา
จังหวัดอุบลราชธานี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Ubon Ratchathani |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซ่บหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์ คนดีศรีอุบล | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานีเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ศุภศิษย์ กอเจริญยศ[1] (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 15,774.00 ตร.กม. (6,090.38 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 5 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 1,869,608 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 2 |
• ความหนาแน่น | 118.52 คน/ตร.กม. (307.0 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 44 |
รหัส ISO 3166 | TH-34 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | อุบล, อุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ยางนา |
• ดอกไม้ | บัว |
• สัตว์น้ำ | ปลาเทโพ |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ถนนแจ้งสนิท ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 |
• โทรศัพท์ | 0 4525 4539, 0 4531 9700 |
เว็บไซต์ | www |
จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณแอ่งโคราช โดยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งภูมิประเทศแบบที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขาสลับซับซ้อนในชายแดนตอนใต้โดยเฉพาะบริเวณอำเภอน้ำยืนและนาจะหลวย โดยมีเทือกเขาที่สำคัญคือทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก มีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างตัวจังหวัดและประเทศลาว และมีแม่น้ำสำคัญ ๆ ได้แก่ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำที่สำคัญ ๆ หลายสาย มีลำเซบาย ลำเซบก ลำโดมใหญ่ และลำโดมน้อยเป็นอาทิ
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนมากนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักโดยมีการทำนาข้าวและเพาะปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น ปอแก้ว มันสำปะหลัง ถั่วลิสง มีการเลี้ยงปศุสัตว์ และทำการประมงอยู่เล็กน้อย และยังมีอาชีพอื่น ๆ ที่สำคัญด้วย อาทิ อุตสาหกรรมและการค้าการบริการ จังหวัดอุบลราชธานีได้รับขนานนามว่า" เมืองนักปราชญ์ เมืองศิลปินแห่งชาติ"[4]
ประวัติศาสตร์
แก้สมัยอยุธยาและธนบุรี
แก้พระเจ้าล้านช้างเวียงจันทน์ นามว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 หรือพระเจ้าไชยองค์เว้ ทรงครองราชย์ โปรดแต่งตั้งให้ท้าวนองขุนนางสามัญชนเชื้อสายไทพวน เป็นเจ้าอุปราชนครเวียงจันทน์ และโปรดให้เจ้าอุปราชนองนำไพร่พลไปตั้งเมืองที่หนองบัวลุ่มภู (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) โดยตั้งชื่อเมืองว่า "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน"
เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างป้อมปราการกันชนให้แก่อาณาจักร์ที่พึ่งถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่ กษัตริย์ล้านช้างเวียงจันทน์หรือพระเจ้าไชยองค์เว้ จึงโปรดเกล้าให้เจ้าอุปราชนองพระบิดาของพระวอพระตา[5]ไปสร้างเมืองหนองบัวลุ่มภูขึ้นเป็นเมืองหน้าด่านยันกับอาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางที่พึ่งแยกตัวออกจากเวียงจันทน์ไปตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ สาเหตุที่สำคัญของการล่มสลายของอาณาจักรล้านช้าง เนื่องมาจากการเข้าแทรกแซงหรือได้รับการไกล่เกลี่ยจากพระเพทราชากษัตริย์อาณาจักรอยุธยา ซึ่งได้เสนอให้แยกอาณาจักรออกจากกันเพื่อลดปัญหาของความขัดแย้งที่รุนแรง ซึ่งฝ่ายนครหลวงเวียงจันทน์ก็ได้กลายเป็นคู่อริกันกับฝ่ายนครหลวงพระบางต่อมายาวนานอีกกว่าร้อยปี ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการตั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) ขึ้นเพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านใช้ยันกับอาณาจักรหลวงพระบางคู่อริตลอดกาลเป็นสำคัญ ภายหลังจากพระเจ้าไชยองค์เว้ทรงสถาปนาอาณาจักรใหม่ นามว่า อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาหลังจากอาณาจักรล้านช้างได้ล่มสลายไปแล้ว และถูกแยกเป็น 2 อาณาจักร ประมาณในราว พ.ศ. 2250 และต่อมาในราว พ.ศ. 2256 เขตแดนอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ก็ได้ถูกแยกเป็นอีกหนึ่งอาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์
ต่อมา พ.ศ. 2283 เจ้าอุปราชนองได้นำกองกำลังชาวเวียดนามเข้ายึดอำนาจจากเจ้าองค์ลอง พระราชโอรสของเจ้าไชยองเว้ เหตุผลที่เจ้าอุปราชนองมีกำลังพลจากทางเวียดนามเป็นจำนวนมากและมีความเกี่ยวข้องกับทางเวียดนาม สืบเนื่องมาจากตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราชขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้พยายามกำจัดพระญาติทางฝ่ายพระราชบิดาจนแทบสิ้น หนึ่งในนั้นคือเจ้าชมพู พระเชษฐาต่างพระมารดา เจ้าชมพูถูกเนรเทศ (หลบหนี) ไปพึ่งเวียดนาม โดยมีแสนทิพย์นาบัว สืบเชื้อสายไทพวนทางฝั่งบิดาหรือไทดำทางฝั่งมารดา ติดตามพระองค์ไปด้วย เจ้าชมพูให้กำเนิดโอรสกับหญิงชาวเมืองเว้ เชื้อสายเวียดนาม นามว่าพระไชยองค์เว้ ภายหลังเจ้าชมพูสิ้นพระชนม์ แสนทิพย์นาบัวจึงได้พระมารดาของพระเจ้าไชยองค์เว้ กษัตริย์ล้านช้างเวียงจันทน์ องค์ที่ 1 เป็นภรรยาให้กำเนิดบุตรนามว่า "ท้าวนอง" ซึ่งต่อมาก็คือ เจ้าอุปราชนอง ดังนั้น เจ้าอุปราชนอง จึงเป็นพี่น้องร่วมมารดาแต่ต่างบิดากับพระเจ้าไชยองค์เว้ และล้วนมีเชื้อสายเวียดนาม(เมืองเว้) ทางฝั่งมารดาทั้งคู่ ภายหลังพระเจ้าเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราชสวรรคต พระไชยองค์เว้พร้อมด้วยท้าวนองนำกำลังจากเวียดนามเข้ายึดนครเวียงจันทน์ได้ พระไชยองค์เว้ขึ้นครองราชย์พระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ ตั้งท้าวนองเป็นเจ้าอุปราชนอง พระไชยองค์เว้มีราชโอรสนามว่า ท้าวองค์ลอง ภายหลังได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระไชยองค์เว้ในราวปี พ.ศ. ๒๒๗๓ มีพระนามในใบจุ้มเลขที่ ๒ และเลขที่ ๗ ที่เก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ ว่าพระมหาธรรมิกราชจักรพรรดิภูมินทราธิราชเจ้า ตราจุ้มของท้าวองค์ลองนี้เป็นตราคล้ายกับมังกรอยู่ตรงกลาง และมีแฉกออกคล้ายกับตราธรรมจักร
ภายหลังเจ้าอุปราชนองยึดอำนาจจากเจ้าองค์ลอง ในราว พ.ศ. ๒๒๘๓ ขึ้นครองเมืองมีพระนามตามใบจุ้มเลขที่ ๑ ว่าพระโพสาทธรรมิกราชาไชยจักรพรรดิภูมินทราธิราชเจ้า ใช้ตราจุ้มเป็นรูปนกยูง เหตุที่ใช้ตราจุ้มเป็นรูปนกยูงนั้นก็เพราะว่าบิดาของท้าวนองมีเชื้อสายพวน ซึ่งให้การช่วยเหลือเจ้าชมพูในการหลบหนีไปพึ่งเวียดนาม เมื่อครองราชย์ท้าวนองจึงใช้ตรานกยูงซึ่งเป็นสัตว์ที่กลุ่มคนพวนให้การนับถือ และยังใช้เป็นตราจุ้มของอาณาจักรพวน
จากหลักฐานจุ้มหรือตราราชลัญจกรของเจ้าอุปราชนองหรือท้าวนอง มีพระนามในใบจุ้มเลขที่ ๑ ว่า พระโพสาทธรรมิกราชาไชยจักรพรรดิภูมินทราธิราชเจ้า ใช้ตราจุ้มเป็นรูปนกยูง เหตุเพราะบิดาของท้าวนองคือแสนทิพย์ ซึ่งมีเชื้อสายพวนหรือไทดำ / ท้ายหนังสือใบจุ้มเลขที่ ๑ ระบุว่า “ศักราช ๑๐๔ ตัว เดือนยี่ ขึ้น ๕ ค่ำ วัน ๒ ฤกษ์ ๒๔ ลูก / ศักราช ๑๐๔ ดังกล่าวคือจุลศักราช ๑๑๐๔ หรือพ.ศ. ๒๒๘๕
ภายหลังจากที่สามารถยึดครองนครหลวงเวียงจันทน์ได้เป็นผลสำเร็จ หลังจากนั้นอุปราชนองจึงได้ปกครองนครเวียงจันทน์ มีพระนามว่า พระโพสาทธรรมิกราชาไชยจักรพรรดิภูมินทราธิราช ดังที่หลักฐานใบจุ่มได้ระบุไว้ แต่ในทางปฏิบัติท่านได้รับการยอมรับเป็นแต่เพียงเจ้าอุปราชครองเมืองเท่านั้น ไม่อาจได้รับการยอมรับหรือรับรองจากขุนนางให้ขึ้นเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการแต่อย่างใดเนื่องจากเจ้านองไม่มีเชื้อสายทางกษัตริย์ล้านช้างแต่เป็นเพียงเชื้อสายสามัญชนที่เข้ามายึดอำนาจจากเชื้อสายเจ้านายเท่านั้น ภายหลังได้ครองนครเวียงจันทน์จึงมอบให้พระตาบุตรชายไปปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานแทน ภายหลังบุตรชายทั้ง ๒ คือ พระวอและพระตาร่วมมือกับเจ้าศิริบุญสาร พระราชโอรสของเจ้าลอง เข้ายึดอำนาจจากเจ้าอุปราชนอง พระบิดาของพวกตน
ต่อมา พ.ศ. ๒๓๑๔ เกิดสงครามระหว่างเวียงจันทน์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยพระเจ้าสิริบุญสาร พระเจ้าแผ่นดินอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ เกิดความขัดแย้งกับพระตา พระวอ แม้ว่าพระตาพระวอจะได้เคยให้ความช่วยเหลือเจ้าสิริบุญสาร เมื่อครั้งเกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ในล้านช้างเวียงจันทน์ ด้วยการให้ที่พักพิงและหลบราชภัยในเมืองหนองบัวลุ่มภู(นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน) นานกว่าสิบปี ทั้งยังช่วยยกทัพไปชิงบัลลังก์ล้านช้างเวียงจันทน์จากเจ้าอุปราชนองพระบิดาของพระวอพระตา ซึ่งเคยนำกองทัพเวียดนามเข้ายึดอำนาจจากเจ้าองค์ลองบิดาของเจ้าสิริบุญสาร มาให้แก่เจ้าสิริบุญสารจนได้นั่งเมืองเป็นพระเจ้าล้านช้างเวียงจันทน์ ซึ่งพระวอพระตามีส่วนร่วมในการปิตุฆาตบิดาของพวกตนหรือเป็นเหตุสนับสนุนให้พระเจ้าสิริบุญสารสำเร็จโทษบิดาของพวกตน ต่อมาเนื่องจากเจ้าสิริบุญสารต้องการมีอำนาจเหนือดินแดนที่แวดล้อมล้านช้างเวียงจันทน์ (ล้านช้างหลวงพระบาง-เมืองหนองบัวลุ่มภู) และทรงมีความระแวงและโกรธกริ้วเมืองหนองบัวลุ่มภูอย่างมาก ที่มีไพร่พลมาก และมีกำลังทัพที่เข้มแข็ง และพระตาพระวอได้กลับลำหันไปเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าล้านช้างหลวงพระบางซึ่งเป็นคู่อริตลอดกาลของฝ่ายตน
แลล้านช้างหลวงพระบางและล้านช้างเวียงจันทน์ก็เป็นอริต่อกัน ด้วยความหวาดระแวงและการไร้ซึ่งจิตสำนึกต่อผู้มีพระคุณที่ได้ช่วยเหลือตนมาของเจ้าสิริบุญสาร พระองค์จึงต้องการมีอำนาจเหนือเมืองหนองบัวลุ่มภูแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเจ้าสิริบุญสารได้ขอให้พระตาและพระวอไปช่วยรักษาการที่ด่านบ้านหินโงมและพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์เกรงกลัวจะเสียอำนาจหรือกลัวถูกจะแย่งชิงอำนาจ เพราะเมืองหนองบัวลุ่มภูได้แข็งเมืองและมิยอมเป็นเมืองขึ้นแก่เวียงจันทน์อีกต่อไป แต่มีกำลังพลมากมาย และต่างต้องการตำแหน่งในราชสำนักที่สูงสุดรองจากตน จึงเกิดความไม่ไว้ใจและปฏิเสธที่จะยกตำแหน่งให้ เมื่อทราบเช่นนั้น เมื่อไม่ได้รับผลประโยชน์ พระตาและพระวอจึงยกทัพหนีกลับเมืองหนองบัวลุ่มภูและแข็งเมืองต่อนครหลวงเวียงจันทน์ ทำให้เจ้าสิริบุญสารใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างยกกองทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภู พระตา พระวอ ยกกองทัพออกต่อสู้จนกองทัพเวียงจันทน์แตกพ่ายกลับไปหลายครั้ง
สงครามระหว่างเวียงจันทน์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู ต่อสู้กินเวลายาวนานถึง ๓ ปี ไม่มีผลแพ้ชนะกัน พระเจ้าสิริบุญสารได้ส่งทูตไปขอกองทัพพม่าที่เมืองนครเชียงใหม่ ให้มาช่วยตีเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยมีเงื่อนไขเวียงจันทน์จะช่วยพม่ารบกับอยุธยา กองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ จึงให้ม่องระแง คุมกองทัพมาช่วยเจ้าสิริบุญสารรบ เมื่อฝ่ายพระตาทราบข่าวศึก คะเนคงเหลือกำลังที่จะต้านศึกกองทัพใหญ่กว่าไว้ได้ จึงให้ท้าวคำโส ท้าวคำขุย ท้าวก่ำ ท้าวคำสิงห์ พาไพร่พล คนชรา เด็ก ผู้หญิง พร้อมพระสงฆ์ อพยพมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ไว้รอท่า หากแพ้สงครามจะได้อพยพติดตามมาอยู่ด้วย
โดยแรกได้มาตั้งเมืองที่บ้านสิงห์โคก บ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) และการสู้รบในครั้งสุดท้าย พระตาถึงแก่ความตายในสนามรบ พระวอผู้เป็นบุตรชายคนโต พร้อมด้วยพี่น้องคือ นางอุสา นางแพงแสน ท้าวคำผง ท้าวทิตพรหม และนางเหมือนตา ได้หลบหนีออกจากเมืองมารับเสบียงอาหารจากบ้านสิงห์โคก สิงห์ท่า แล้วผ่านลงไปตั้งเมืองที่ "ดอนมดแดง" พร้อมขอพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร แห่งนครจำปาศักดิ์ ฝ่ายเจ้าสิริบุญสารทราบข่าวการตั้งเมืองใหม่ขึ้นกับอาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์ของกลุ่มพระวอ จึงให้อัคฮาดหำทอง และพญาสุโพ ยกกองทัพมาตีพระวอ พระวอสู้ไม่ได้ และเสียชีวิตในสนามรบ ท้าวคำผงผู้น้องจึงขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่ม พร้อมมีใบบอกลงไปที่เมืองนครราชสีมา และกรุงธนบุรี เพื่อขอพึ่งบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกองทัพมาช่วยท้าวคำผง ด้านพญาสุโพรู้ข่าวศึกของเจ้ากรุงธนบุรี จึงสั่งถอยทัพกลับเวียงจันทน์ แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้เดินทัพติดตามทัพเวียงจันทน์ จนสามารถเข้ายึดเมืองได้สำเร็จ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พร้อมคุมตัวเจ้าสิริบุญสารไปกรุงธนบุรี ส่วนบุตรของพระตาได้แก่ท้าวคำผงและท้าวฝ่ายหน้าที่ได้ติดตามพระวอไปอยู่ที่จำปาศักดิ์ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีเมืองจำปาศักดิ์ ท้าวคำผงและท้าวฝ่ายหน้าได้เข้าร่วมรบกับฝ่ายสยาม ต่อมาเจ้าองค์หลวงฯ เเต่งตั้งให้ท้าวคำผงเป็นนายกองคุมไพร่พลอยู่ที่บ้านดู่บ้านแก ใน พ.ศ. ๒๓๒๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงแต่งตั้งท้าวคำผงให้เป็นพระปทุมสุรราชภักดี เป็นที่ นายกองคุมเลกเมืองจำปาศักดิ์ ขึ้นตรงต่อนครจำปาศักดิ์ ต่อมาท้าวคำผงจึงอพยพไพร่พลไปอยู่ที่ดอนห้วยแจระแม ตั้งเป็นบ้านห้วยเเจระเเม ขึ้นตรงต่อนครจำปาศักดิ์
สมัยรัตนโกสินทร์
แก้ใน พ.ศ. ๒๓๓๔ เกิดขบถอ้ายเชียงแก้วเขาโอง ยกกำลังมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ ท้าวฝ่ายหน้า ผู้กำกับดูแลไพร่พลแห่งบ้านสิงห์ท่า (ขึ้นกับนครจำปาศักดิ์) ผู้น้อง กับพระปทุมสุรราช (คำผง) นายกองคุมเลกเมืองจำปาศักดิ์ ผู้พี่ ได้ยกกำลังไปรบ สามารถจับอ้ายเชียงแก้วได้ และทำการประหารชีวิตที่บริเวณแก่งตะนะ และในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๓๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาบ้านห้วยเเจระเเมแยกดินเเดนออกจากนครจำปาศักดิ์ เเล้วจึงยกฐานะบ้านห้วยเเจระเเมขึ้นเป็นเมืองพระประเทศราช ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ แต่งตั้งให้พระประทุมสุรราช (คำผง) เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) ซึ่งนับเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชคนแรก อีกทั้งยังพระราชทานพระสุพรรณบัตร (เเผ่นทองคำ) และเครื่องยศพระประเทศราช พร้อมทำพิธีสบถสาบานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา[6] ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๓๘ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ถึงเเก่อนิจกรรม รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าพระราชทานสัญญาบัตร เเต่งตั้งให้ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ทิดพรหม) น้องชายพระประทุม เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนต่อมา[7] รวมมีเจ้าเมืองอุบลราชธานี ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทั้งสิ้น ๔ ท่าน โดยเป็นเชื้อสายของพระวอพระตา ๓ ท่านเเรก เเละเชื้อสายของพระเจ้าอนุวงศ์เเห่งนครเวียงจันทน์ ๑ ท่าน สาเหตุที่ส่วนกลางส่งลูกหลานพระเจ้าสิริบุญสารซึ่งเป็นคู่อริกันมาโดยตลอดให้มาปกครองเมืองอุบลราชธานีเเทนกลุ่มพระวอพระตาซึ่งเป็นสายกรมการเมืองเดิม เพราะว่า ทางเมืองอุบลราชธานีในช่วง สงครามกบฎเจ้าอนุวงศ์ ได้มีการให้ความร่วมมือเเละเข้าร่วมกับฝ่ายกบฎเจ้าอนุวงศ์ ต่อมาจึงส่งผลให้รัชกาล ๔ ทรงไม่ไว้วางใจในกรมการเมืองเก่าของเมืองอุบลที่เคยเข้าร่วมกับฝ่ายกบฎมาก่อน เพื่อเป็นการลดทอนอำนาจกลุ่มเจ้านายสายเดิมหรือสายพระวอพระตา จึงได้ส่งเจ้าหน่อคำ พระโอรสในเจ้าเสือกับเจ้านางท่อนแก้ว เจ้าเสือผู้เป็นพระบิดานั้นเป็นพระราชโอรสในเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์พระองค์สุดท้าย ทั้งนี้สาเหตุที่ส่งเจ้าหน่อคำมาปกครองเเละให้อำนาจเเก่เจ้าหน่อคำก็เนื่องจากเจ้าหน่อคำได้รับความดีความชอบจากการที่เป็นฝ่ายที่เห็นต่างเเละไม่เข้าร่วมกับกลุ่มกบฎเจ้าอนุวงศ์ เเม้ท่านจะเป็นหลานของเจ้าอนุวงศ์ก็ตาม จึงเป็นที่ไว้วางใจ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหิรัญญบัฎ (เเผ่นเงิน) ให้พระนามว่า เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์ ดำรงรัฐสีมา อุบลราชธานีบาล เป็นเจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช เพื่อให้คล้องกันกับพระนามของ เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมา มุกดาหาราธิบดี หรือเจ้าหนู เจ้าผู้ครองเมืองมุกดาหารบุรี (บังมุก) ผู้เป็นพระญาติใกล้ชิด เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์จึงปกครองเมืองอุบลราชธานี ในฐานะเจ้าประเทศราช เช่นเดียวกับเจ้าหนู เเทนกลุ่มเจ้านายสายแรก (สายพระวอพระตา) ที่มีพระยศเป็นพระประเทศราช นิยมออกคำนำนามพระยศในจารึกว่า พระ เช่น พระประทุมฯ พระพรหมฯ เป็นต้น ซึ่งมีศักดิ์ที่ต่ำกว่า ต่อมาเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์มีปัญหาวิวาทกับกรมการเมืองอุบลมาโดยตลอดในช่วงที่พระองค์ได้ครองเมือง จนถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลกลายเป็นคดีความกันอยู่หลายครา จนสูญเสียทรัพย์สินเเทบจะหมดสิ้นเพื่อใช้ในการต่อสู้คดีกันทั้ง 2 ฝ่าย ท้ายที่สุดเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ถูกปลดออกจากตำเเหน่งเจ้าเมือง ในปีพ.ศ. ๒๔๒๕ เมืองอุบลราชธานีในขณะนั้นจึงว่างจากตำเเหน่งเจ้าเมือง เเละ ต่อมาภายหลังเนื่องจากเจ้านายสายเเรก (สายพระวอพระตา) ไม่ค่อยเป็นที่ไว้วางใจเเก่กษัตริย์สยามเท่าใดนัก จนเมื่อสิ้นเจ้าเมืองท่านที่ ๔ หรือเจ้าเมืองท่านสุดท้าย เมื่อเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์ ถึงเเก่พิราลัย ในพ.ศ. ๒๔๒๙ เป็นต้นมา จึงไม่มีการเเต่งตั้งเจ้าเมืองอุบลราชธานีอีกเลย มีเเต่เพียงผู้รักษาการเมืองเเทนเท่านั้น จนกระทั่งถึงยุคยุบเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง[8]
ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีแล้ว ก็ได้มีการตั้งเมืองสำคัญในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นอีกหลายเมือง ดังนี้
- พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านโคกพเนียง เป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี ตั้ง อุปฮาดก่ำ(เมืองอุบล) เป็น พระเทพวงศา เจ้าเมือง และ ตั้ง บ้านสิงห์ท่า เป็นเมืองยโสธร ตั้ง ราชวงศ์สิงห์ (เมืองโขง) เป็น พระสุนทรราชวงศา เจ้าเมือง
- พ.ศ. ๒๓๖๔ ยกบ้านนาคอขึ้นเป็นเมืองโขงเจียง (โขงเจียม) โดยขึ้นกับนครจำปาศักดิ์
- พ.ศ. ๒๓๘๘ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านช่องนางให้เป็นเมืองเสนางคนิคม และต่อมา หลวงธิเบศร์ หลวงมหาดไทย และหลวงอภัย กรมการ เมืองศีร์ษะเกษ เกิดความขัดแย้งกับเจ้าเมืองศีร์ษะเกษ เชื้อสายราชวงศ์เจ้าจารย์เเก้ว[9] ภายหลังได้ขอแยกตัวออกมาจากเมืองศีร์ษะเกษ และอพยพนำไพร่พลออกมาตั้งเป็นเมืองใหม่ ขอพระราชทานยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ให้หลวงวิเศษ (สาร) เป็นราชบุตร หลวงอภัยเป็นราชวงศ์ หลวงมหาดไทยเป็นอุปฮาด ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง รักษาราชการแขวงเมืองเดชอุดม แรกเริ่มอำเภอเดชอุดมขึ้นตรงต่อ จังหวัดขุขันธ์ ต่อมาภายหลังจึงได้ถูกโอนมาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี และ ตั้ง บ้านคำแก้ว เป็น เมืองคำเขื่อนแก้ว (ปัจจุบัน ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ) ขึ้นสังกัด เมืองเขมราษฎร์ธานี
- พ.ศ. ๒๓๙๐ ตั้งบ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็นเมืองบัวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองบัวบุณฑริก หรืออำเภอบุณฑริกในปัจจุบัน แรกเริ่มเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเดชอุดม จังหวัดขุขันธ์ ต่อมาถูกโอนย้ายมาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานีพร้อมกับอำเภอเดชอุดม ภายหลังถูกยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภอบุณฑริก
- พ.ศ. ๒๔๐๑ ตั้งบ้านค้อใหญ่ให้เป็นเมือง ขอแต่งตั้งท้าวจันทบรมเป็นพระอมรอำนาจและเป็นเจ้าเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด และให้ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ นอกจากนี้ยังให้ท้าวสุริโยซึ่งเป็นราชบุตรรักษาราชการเมืองอำนาจเจริญขึ้นกับเมืองเขมราฐ
- พ.ศ. ๒๔๐๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด เป็นเมืองพิบูลมังสาหาร โดยตั้งท้าวธรรมกิติกา (จูมมณี)เป็นพระบำรุงราษฎร์และเป็นเจ้าเมือง และให้ตั้งบ้านสะพือเป็นเมืองตระการพืชผล โดยตั้งท้าวสุริยวงษ์ เป็นพระอมรดลใจและเป็นเจ้าเมือง
- พ.ศ. ๒๔๒๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านท่ายักขุเป็นเมืองชานุมานมณฑล และให้ตั้งบ้านเผลา (บ้านพระเหลา) เป็นเมืองพนานิคม
- พ.ศ. ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนากอนจอ เป็นเมืองวารินชำราบ
- พ.ศ. ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านจันลานาโดม เป็นเมืองโดมประดิษฐ์ (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่อำเภอน้ำยืน)
- พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทีเป็นเมืองเกษมสีมา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอม่วงสามสิบ
จากเหตุการณ์ก่อตั้งเมืองทั้งหมดนี้ ส่งผลให้อุบลราชธานีเป็นเมืองที่มีเขตการปกครองอย่างกว้างขวางสุดลูกหูลูกตา ครอบคลุมพื้นที่ราบทางด้านตะวันออกของภาคอีสานตอนล่าง อีกทั้งยังมีแม่น้ำสายสำคัญถึง 3 สายด้วยกัน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่มีกำเนิดจากเทือกเขาในพื้นที่ เช่น ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น โดยแม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ไหลผ่านที่ราบทางด้านเหนือและทางด้านใต้เป็นแนวยาวสู่ปากแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขง ให้ความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในบริเวณแถบนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์มาแต่ โบราณกาล[10]
ใน พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลทั้งประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งแยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้กลายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลังจากนั้นจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้ถูกแบ่งออก
ใน พ.ศ. 2515 อำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงถูกแยกเป็นจังหวัดยโสธร และต่อมาใน พ.ศ. 2536 ได้ถูกแบ่งอีกครั้ง โดยอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงถูกแยกเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ
ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของไทย และมีประชากรลำดับที่ 3 ของประเทศ
ภูมิศาสตร์
แก้อาณาเขต
แก้- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหัวตะพาน อำเภอลืออำนาจ อำเภอพนา อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญและแขวงสุวรรณเขต (ประเทศลาว)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงจำปาศักดิ์และแขวงสาละวัน (ประเทศลาว) โดยพรมแดนบางช่วงใช้แม่น้ำโขงเป็นตัวกำหนด
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพระวิหาร (ประเทศกัมพูชา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกันทรลักษ์ อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโนนคูณ อำเภอกันทรารมย์ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษและอำเภอค้อวัง อำเภอมหาชนะชัย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
แนวพรมแดนติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา รวมความยาวประมาณ 428 กิโลเมตร
- ติดต่อกับประเทศลาว 361 กิโลเมตร (จากอำเภอเขมราฐถึงอำเภอน้ำยืน ติดต่อกับแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวัน และแขวงจำปาศักดิ์)
- ติดต่อกับประเทศกัมพูชา 67 กิโลเมตร (อำเภอน้ำยืน ติดต่อกับจังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา)
ภูมิประเทศ
แก้จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช โดยสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 120-140 เมตร (395-460 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ เป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออกมีแม่น้ำโขง เป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาว มีแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม และมีลำน้ำใหญ่ๆ อีกหลายสาย ได้แก่ ลำเซบาย ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย ห้วยตุงลุง และมีภูเขาสลับซับซ้อนหลายแห่งทางบริเวณชายแดนตอนใต้ ที่สำคัญคือ ทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
ลักษณะภูมิสัณฐานของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกโดยสังเขป ดังนี้
- บริเวณที่เป็นสันดินริมน้ำ เกิดจากตะกอนลำน้ำที่พัดพามาทับถม สภาพพื้นที่เป็นเนินสันดินริมฝั่งแม่น้ำโขง และบางบริเวณสันดินริมฝั่งลำเซบาย
- บริเวณที่เป็นแบบตะพักลำน้ำ ที่เกิดจากการกระทำของขบวนการของน้ำนานมาแล้ว ประกอบด้วยบริเวณที่เป็นลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง ลักษณะพื้นที่ที่มีทั้งที่เป็นที่ราบแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน จะอยู่ถัดจากบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงขึ้นมา พื้นที่เหล่านี้จะพบในบริเวณทั่วไปของจังหวัด กล่าวคือทางตอนเหนือ ทางตะวันออก และทางใต้ บางแห่งใช้สำหรับทำนาและบางแห่งใช้สำหรับปลูกพืชไร่
- บริเวณที่เป็นแอ่งหรือที่ลุ่ตวมต่ำหลังลำน้ำ เกิดจากการกระทำของน้ำ พบบางแห่งในบริเวณริมแม่น้ำโขง แม่น้ำชี ลำเซบาย และลำโดมใหญ่ จะมีน้ำแช่ขังนานในฤดูฝน
- กำลังของน้ำจะมีมากจนสามารถพัดพาเอาตะกอนเหล่านั้นออกมานอกหุบเขาได้ เมื่อมาถึงนอกหุบเขาหรือเชิงเขา สภาพพื้นที่ก็จะเป็นที่ราบทางน้ำไหลกระจายออกไป ทำให้กำลังของน้ำลดลง ก็จะตกตะกอนในบริเวณน้ำ จะพบอยู่ทางตอนใต้และทางตะวันตกของจังหวัด
- บริเวณที่เป็นเนินที่เกิดจากการไหลของธารลาวา เป็นเนินเขาที่เกิดจากการไหลของธารลาวา ดินบริเวณนี้จะมีศักยภาพทางการเกษตรสูง ซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวผุพังของหินบะซอลต์ บริเวณนี้จะพบอยู่ในอำเภอน้ำยืน
- บริเวณที่ลาดเชิงเขา เป็นที่ลาดเชิงเขาที่ตะกอนบริเวณที่เกิดจากการกระทำของน้ำนานมาแล้วทับถมกัน บริเวณนี้จะพบอยู่ในอำเภอโขงเจียม อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอตระการพืชผล
- บริเวณที่ลาดเชิงซ้อน ลักษณะเป็นภูเขาหรือทิวเขามีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จะพบบริเวณทิวเขาพนมดงรักในอำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย และอำเภอบุณฑริก อีกแห่งหนึ่งคือ ทิวเขาภูเขาซึ่งจะพบมากในอำเภอโขงเจียมและอำเภอศรีเมืองใหม่
ภูมิอากาศ
แก้- ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม และมักปรากฏเสมอว่าฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เหมือนกันในแต่ละปี
- ฤดูหนาว เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศ ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก่อนภูมิภาคอื่น อุณหภูมิจะเริ่มลดต่ำลงตั้งแต่เดือนตุลาคมและจะสิ้นสุดปลายเดือนมกราคม
- ฤดูร้อน ถึงแม้ว่าเคยปรากฏบ่อยครั้งว่าอากาศยังคงหนาวเย็นยืดเยื้อมาจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยส่วนใหญ่แล้วอากาศจะ เริ่มอบอ้าว ในเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงประมาณต้นเดือนพฤษภาคมซึ่งอาจจะมีฝน เริ่มตกอยู่บ้างในปลายเดือนเมษายน
ทรัพยากร
แก้ทรัพยากร ดิน จ.อุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีประชากรมาก ดินเป็นทรัพยากรคิด เป็นร้อยละ 86.6 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรือประมาณ 10,299,063 ไร่ ด้านป่าไม้มีทั้งป่าเต็งรัง หรือป่าแดงมีอยู่ทั่วไป มีเขตป่าดงดิบในเขตอำเภอน้ำยืน และป่าผสม ส่วนป่าเบญจพรรณมีอยู่ในอำเภอเขมราฐ อำเภอบุณฑริก และอำเภอพิบูลมังสาหาร ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้กระยาเลย ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตระแบก ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้เคี่ยม ไม้ชุมแพรก ไม้กันเกรา สภาพพื้นที่ป่าไม้จากการสำรวจเมื่อปี 2538 มีเนื้อป่าประมาณ 2,495 ตร.กม. หรือประมาณ 1.56 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.49 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งได้ดังนี้ ป่าถาวร ตามมติ ครม.จำนวน 1 ป่า เนื้อที่ 77,312.50 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 46 ป่า เนื้อที่ 3,396,009.163 ไร่ พื้นที่ป่า สปก. จำนวน 40 ป่า เนื้อที่ 1,665,543.30 ไร่ ป่าอนุรักษ์ ตาม มติ ครม. จำนวน 10 ป่า เนื้อที่ 1,439,998.402 ไร่ ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย จำนวน 5 ป่า เนื้อที่ 880,220.00 ไร่ สวนป่า จำนวน 15 ป่า เนื้อที่ 20,985.73 ไร่ พื้นที่ป่าธรรมชาติ (รวม จ.อำนาจเจริญ) เนื้อที่ 24,292,656 ไร่
แร่ธาตุ จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า จังหวัดอุบลราชธานีมีแร่อโลหะเพียงชนิดเดียว คือ เกลือหิน ซึ่งเจาะพบแล้ว 2 แห่งคือ อำเภอเมืองอุบลราชธานีและอำเภอตระการพืชผล นอกจากนี้ มีทรัพยากรแร่ที่อยู่ในรูปของหินชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย สำหรับแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย และห้วยตุงลุง
การเมืองการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้จังหวัดอุบลราชธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 219 ตำบล 2704 หมู่บ้าน ได้แก่
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 239 องค์กรแบ่งออกเป็น 1 เทศบาลนคร 4 เทศบาลเมือง 54 เทศบาลตำบล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 179 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
อำเภอเมือง อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอวารินชำราบ
อำเภอเดชอุดม อำเภอเขื่องใน |
อำเภอเขมราฐ
อำเภอนาจะหลวย อำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก อำเภอนาเยีย อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอสำโรง อำเภอโขงเจียม
|
อำเภอตระการพืชผล อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอตาลสุม อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอสิรินธร อำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอน้ำขุ่น อำเภอศรีเมืองใหม่ |
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
แก้ชื่อ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช | |
1. พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง ณ อุบล) | พ.ศ. 2335–2338 |
2. พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม พรหมวงศานนท์) | พ.ศ. 2338–2388 |
3. ราชบุตรสุ้ย | ถึงแก่อนิจกรรมที่กรุงเทพฯ ก่อนมาดำรงตำแหน่ง |
4. พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) | พ.ศ. 2388–2409 |
5. เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (เจ้าหน่อคำ) | พ.ศ. 2409–2425 |
ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดมณฑล และผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี | |
6. หลวงจินดารัตน์ | พ.ศ. 2425–2426 |
7. พระยาศรีสิงหเทพ (ทัด ไกรฤกษ์) | พ.ศ. 2426–2430 |
8. พระยาภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) | ไม่ทราบข้อมูล |
9. พระโยธีบริรักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์) | ไม่ทราบข้อมูล |
10. พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) | ไม่ทราบข้อมูล |
11. พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) | ไม่ทราบข้อมูล |
12. หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร) | พ.ศ. 2450[11]–2451[12] |
13. อำมาตย์เอกพระภิรมย์ราชา (พร้อม วาจรัต) | พ.ศ. 2456–2458 |
14. อำมาตย์เอกพระยาปทุมเทพภักดี (อ่วม บุณยรัตพันธุ์) | พ.ศ. 2458–2465 |
15. อำมาตย์โทพระยาปทุมเทพภักดี (ธน ณ สงขลา) | พ.ศ. 2465–2469 |
16. อำมาตย์เอกพระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) | พ.ศ. 2469–2471 |
17. อำมาตย์โทพระยาสิงหบุรานุรักษ์ (สวาสดิ์ บุรณสมภพ) | พ.ศ. 2471–2473 |
18. อำมาตย์โทพระยาประชาศรัยสรเดช (ถาบ ผลนิวาส) | พ.ศ. 2473–2476 |
19. พ.ต.อ.พระขจัดทารุณกรรม (เงิน หนุนภักดี) | พ.ศ. 2476–2478 |
20. อำมาตย์เอกพระปทุมเทวาภิบาล (เยี่ยม เอกสิทธิ์) | พ.ศ. 2478–2481 |
21. อำมาตย์เอกพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) | พ.ศ. 2481–2481 |
22. อำมาตย์เอกพระพรหมนครานุรักษ์ (ฮกไถ่ พิศาลบุตร) | พ.ศ. 2481–2482 |
23. อำมาตย์โทพระยาอนุมานสารกรรม (โต่ง สารักคานนท์) | พ.ศ. 2482–2483 |
24. พ.ต.อ.พระกล้ากลางสมร (มงคล หงษ์ไกร) | พ.ศ. 2483–2484 |
25. หลวงนครคุณูปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์) | พ.ศ. 2484–2487 |
26. หลวงนรัตถรักษา (ชื่น นรัตถรักษา) | พ.ศ. 2487–2489 |
27. นายเชื้อ พิทักษากร | พ.ศ. 2489–2490 |
28. หลวงอรรถสิทธิ์สิทธิสุนทร (อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร) | พ.ศ. 2490–2492 |
29. นายชอบ ชัยประภา | พ.ศ. 2492–2494 |
30. นายยุทธ จัณยานนท์ | พ.ศ. 2494–2495 |
31. นายสง่า สุขรัตน์ | พ.ศ. 2495–2497 |
32. นายเกียรติ ธนกุล | พ.ศ. 2497–2498 |
33. นายสนิท วิไลจิตต์ | พ.ศ. 2498–2499 |
34. นายประสงค์ อิศรภักดี | พ.ศ. 2499–2501 |
35. นายกำจัด ผาติสุวัณณ์ | พ.ศ. 2501–2509 |
36. นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ | พ.ศ. 2509–2513 |
37. พลตำรวจตรีวิเชียร ศรีมันตร | พ.ศ. 2513–2516 |
38. นายเจริญ ปานทอง | พ.ศ. 2516–2518 |
39. นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ | พ.ศ. 2519–2520 |
40. นายประมูล จันทรจำนง | พ.ศ. 2520–2522 |
41. นายบุญช่วย ศรีสารคาม | พ.ศ. 2522–2526 |
42. นายเจริญสุข ศิลาพันธุ์ | พ.ศ. 2526–2528 |
43. เรือตรีดนัย เกตุสิริ | พ.ศ. 2528–2532 |
44. นายสายสิทธิ พรแก้ว | พ.ศ. 2532–2535 |
45. นายไมตรี ไนยกูล | พ.ศ. 2535–2537 |
46. นายนิธิศักดิ์ ราชพิธ | พ.ศ. 2537–2538 |
47. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี | พ.ศ. 2538–2540 |
48. นายชาติสง่า โมฬีชาติ | พ.ศ. 2540–2541 |
49. นายศิวะ แสงมณี | พ.ศ. 2541–2543 |
50. นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ | พ.ศ. 2543–2544 |
51. นายชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์ | พ.ศ. 2544–2546 |
52. นายจิรศักดิ์ เกษณียบุตร | พ.ศ. 2546–2548 |
53. นายสุธี มากบุญ | พ.ศ. 2548–2550 |
54. นายชวน ศิรินันท์พร | พ.ศ. 2550–2553 |
55. นายสุรพล สายพันธ์ | พ.ศ. 2553–2555 |
56. นายวันชัย สุทธิวรชัย | พ.ศ. 2555–2557 |
57. นายเสริม ไชยณรงค์ | พ.ศ. 2557–2558 |
58. นายประทีป กีรติเรขา | พ.ศ. 2558–2558 |
59. นายสมศักดิ์ จังตระกุล | พ.ศ. 2558–2560 |
60. นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ | พ.ศ. 2560–2564 |
61. นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ | พ.ศ. 2564–2565 |
62. นายชลธี ยังตรง | พ.ศ. 2565–2566 |
63. นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ | พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน |
ประชากรศาสตร์
แก้ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2550 | 1,785,709 | — |
2551 | 1,795,453 | +0.5% |
2552 | 1,803,754 | +0.5% |
2553 | 1,813,088 | +0.5% |
2554 | 1,816,057 | +0.2% |
2555 | 1,826,920 | +0.6% |
2556 | 1,836,523 | +0.5% |
2557 | 1,844,669 | +0.4% |
2558 | 1,857,429 | +0.7% |
2559 | 1,862,965 | +0.3% |
2560 | 1,869,633 | +0.4% |
2561 | 1,874,548 | +0.3% |
2562 | 1,878,146 | +0.2% |
2563 | 1,866,682 | −0.6% |
2564 | 1,868,519 | +0.1% |
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[13] |
การศึกษา
แก้- ระดับอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี
- วิทยาลัยเทคนิคนครอุบลราชธานี
- วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม
- วิทยาลัยเทคนิคตระการพืชผล
- วิทยาลัยการอาชีพวารินชำราบ
- วิทยาลัยเทคนิคเขมราฐ
- วิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร
- วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
- มหาวิทยาลัยราชธานี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
- วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
การขนส่ง
แก้รถยนต์
แก้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ไปสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สายโชคชัย-เดชอุดม) ไปจนถึงอุบลราชธานี หรือใช้ เส้นทางกรุงเทพมหานคร–นครราชสีมา แล้วต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี
รถไฟ
แก้มีรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถท้องถิ่น และรถเร็วเสริมเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ จากกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ สุดปลายทางที่สถานีรถไฟอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ โดยจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานีรถไฟเล็ก ๆ อีก 2 แห่ง คือ สถานีบุ่งหวาย และสถานีห้วยขะยุง
รถโดยสารประจำทาง
แก้การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดอุบลราชธานีโดยรถโดยสารประจำทางทั้งชนิดรถธรรมดาและรถปรับอากาศนั้น จะออกเดินทางจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิตใหม่) มายังสถานีปลายทางคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ บริษัท ขนส่ง จำกัด ยังมีบริการรถโดยสารระหว่างอุบลราชธานีและเมืองปากเซของประเทศลาวทุกวัน[14]
ส่วนรถประจำทางระหว่างจังหวัดนั้น มีเดินรถระหว่างอุบลราชธานีไปถึงจังหวัดปลายทางต่าง ๆ ในหลายภูมิภาคของประเทศ นอกจากนี้แล้ว กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศถึงการเปิดเดินรถสายอุบลราชธานี –เกาะสมุย เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคในอนาคต และอีกในอนาคตข้างหน้า กรมการขนส่งทางบกยังมีแผนการที่จะเปิดเดินรถสายสายเหนืออีก 1 เส้นทาง คือ เส้นทางอุบลราชธานี – เชียงราย – แม่สาย โดยอาจดำเนินการบริษัทนครชัยแอร์ เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคในอนาคต ส่วนแผนการเปิดเส้นทางเดินรถระหว่างประเทศของกรมการขนส่งทางบกนั้น ในปัจจุบันมีอยู่ 3 เส้นทาง คือ สายอุบลราชธานี–จำปาศักดิ์ อุบลราชธานี–คอนพะเพ็ง และ อุบลราชธานี–เสียมราฐ
อากาศยาน
แก้จังหวัดอุบลราชธานี มีท่าอากาศยานนานาชาติจำนวน 1 แห่ง คือ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี โดยมีสายการบินจากจังหวัดอุบลราชธานีสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ดังนี้[15]
- ไทยสมายล์ - กรุงเทพมหานคร (สุวรรณภูมิ)
- ไทยแอร์เอเชีย - กรุงเทพมหานคร (ดอนเมือง)
- นกแอร์ - กรุงเทพมหานคร (ดอนเมือง) / เชียงใหม่ / ภูเก็ต
- ไทยไลอ้อนแอร์ - กรุงเทพมหานคร (ดอนเมือง)
- ไทยเวียตเจ็ทแอร์ - กรุงเทพมหานคร (สุวรรณภูมิ)
รถเมล์หรือรถสองแถวประจำทาง
แก้เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ในปัจจุบัน การเดินทางภายในเขตตัวเมืองอุบลราชธานี-วารินชำราบ และบริเวณโดยรอบนั้นมีการบริการด้วยรถสองแถวประจำทางขนาดเล็กที่ให้การบริการโดยเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 11 เส้นทาง ดังรายละเอียดต่อไปนี้[16]
- สายที่ 1 บ้านธาตุ - สามแยกเข้าหมู่บ้านหนองแก
- สายที่ 2 สถานีรถไฟอุบลราชธานี - โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร
- สายที่ 3 บ้านก่อ - โรงเรียนเทคโนโลยีและเกษตรกรรมอุบลราชธานี
- สายที 6 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ - การประปา
- สายที่ 7 ศาลปู่เจ้าคำจันทร์ - วัดพุทธนิคมกิติยาราม
- สายที่ 8 บ้านปลาดุก - สถานีโทรคมนาคมอุบลราชธานี
- สายที่ 9 ตลาดสดวารินชำราบ - หาดคูเดื่อ
- สายที่ 10 ศาลาบ้านดู่ - ศูนย์อพยพ
- สายที่ 11 บ้านบุ่งกาแซว - บ้านด้ามพร้า
- สายที่ 12 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - บ้านดง
- สายที่ 14 (ขึ้นต้นด้วยอักษร ม.) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - สถานีขนส่งผู้โดยสารอุบลราชธานี
- สายที่ 15 อุบลซีตี้บัส ท่าอากาศยานอุบลราชธานี - สถานีขนส่งผู้โดยสารอุบลราชธานี - เซ็นทรัลพลาซาอุบลราชธานี
รถแท็กซี
แก้สำหรับการเดินทางในเขตเมืองอุบลราชธานีและวารินชำราบนั้น ในปัจจุบันมีแท็กซีมีเตอร์ให้บริการประมาณ 500 คัน ภาคเอกชนที่เปิดให้บริการเดินรถแท็กซี่ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่
- บริษัท แท็กซี่อุบล จำกัด ให้บริการในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร และยโสธร
- หจก. อุบลแท๊กซี่มิเตอร์พัฒนาให้บริการในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
- บริษัท สหการอุบล 2011 จำกัด ให้บริการในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
วัฒนธรรม
แก้กีฬา
แก้- ทีมสโมสรฟุตบอลประจำจังหวัด
- สโมสรฟุตบอลอุบล ครัวนภัส (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)
ประเพณี
แก้- ประเพณีแห่เทียนพรรษา
- ประเพณีฆ่านกหัสดีลิงค์ (นกสักกะไดลิงในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าเมืองและพระครูชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป)
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับสมญานามว่าเป็นเมืองนักปราชญ์ และเมืองศิลปินแห่งชาติ ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติดังนี้
ด้านศาสนา
แก้- พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล)-ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย-ท่านเป็นอาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
- พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต -พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า หรือ พระอาจารย์ใหญ่แห่งวงศ์พระกรรมฐานวัดป่า
- สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)-อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
- สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต)-อดีตเจ้าอาวาสวัดนรนาถสุนทริการาม
- สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)-อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
- สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)- เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)-อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
- พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)-เป็นพระปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน โดยเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
- พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)-อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง
- พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)- แม่ทัพธรรมพระกรรมฐาน
- พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก)-เป็นเถระผู้นำภารธุระทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
- พระสุทธิธรรมรังสี (ลี ธมฺมธโร)-เป็นพระวิปัสสนาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย
- หลวงปู่ขาว อนาลโย-พระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
- พระอาจารย์ดี ฉนฺโน-ลูกศิษย์องค์สำคัญของ พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) และ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต
- หลวงปู่สี สิริญาโณ-ป็นลูกศิษย์รุ่นแรกของ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ปัจจุบันนับได้ว่าท่านเป็นผู้มีพรรษามากที่สุดในบรรดาศิษย์ของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)ที่ยังดำรงค์ธาตุขันธ์อยู่
- พระเทพเมธาภรณ์ (ประสงค์ วราสโย)-เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม-กาญจนบุรี-สุพรรณบุรี (ธรรมยุต)
- หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต-พระคณาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย
- พระธรรมเสนานี ( กิ่ง มหัปผโล ป.ธ.๕)-อดีตเจ้าคณะภาค๑๐ และอดีตเจ้าอาวาสวัดมณีวราราม
- พระพุทธิวงศมุนี(บุญมา ทีปธัมโม)-อดีตเจ้าอาวาสวัดวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร
- พระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย)-พระเถระผู้เป็นเค้ามูลสมญานามเมืองนักปราชญ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่3เป็นต้นมา[17]
- พระอาจารย์อัฏฐ์ชานัช สิริสาโร-อดีตเจ้าอาวาสวัดวัดอุทุมพรวนาราม
- พระครูโสภณธรรมคุณาภรณ์ (ประเสริฐ สิริคุตฺโต) วัดอรัญญวาสี อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ด้านศิลปิน
แก้- ดร.คำหมา แสงงาม-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 (สาขาทัศนศิลป์ - ปั้นแกะสลัก)
- ทองมาก จันทะลือ-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- เฉลิม นาคีรักษ์-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2531 (สาขาทัศนศิลป์ - จิตรกรรม)
- เคน ดาเหลา-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2534 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- ฉวีวรรณ ดำเนิน-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2536 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- บุญเพ็ง ไฝผิวชัย-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2540 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- คำพูน บุญทวี-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2544 (สาขาวรรณศิลป์)
- ฉลาด ส่งเสริม-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2548 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2553 (สาขาทัศนศิลป์ - สถาปัตยกรรมไทย)
- บานเย็น รากแก่น-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2556 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2557 (สาขาศิลปะการแสดง - ดนตรีไทยลูกทุ่ง)
- สมบัติ เมทะนี- ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2559 (สาขาศิลปะการแสดง - ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
- คำปุน ศรีใส-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2561 (สาขาทัศนศิลป์ - ทอผ้า)
- สลา คุณวุฒิ-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (สาขาศิลปะการแสดง - ประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง)
- มีชัย แต้สุริยา-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (สาขาทัศนศิลป์ - ทอผ้า)
- วิชชา ลุนาลัย-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (สาขาวรรณศิลป์)
- เทพพร เพชรอุบล-ศิลปิน
- สนธิ สมมาตร-ศิลปิน
- จันทร์เพ็ญ นิตะอินทร์-ศิลปินหมอลำ
- สมาน หงษา-ศิลปินหมอลำ
- เดชา นิตะอินทร์-ศิลปินหมอลำ
- คำปุ่น ฟุ้งสุข-ศิลปินหมอลำ
- ทองพูน ลูกโม-ศิลปินหมอลำ
- บรรจง มาตยารักษ์-ศิลปินหมอลำ
- บุญยัง สุภาพ-ศิลปินหมอลำ
- บุญยัง ต้นทอง-ศิลปินหมอลำ
- ทองใส ทับถนน-ศิลปิน
- อังคนางค์ คุณไชย-ศิลปิน
- แมน มณีวรรณ-ศิลปิน
- ภูศิลป์ วารินรักษ์-ศิลปิน
- มัลลิกา กิ่งแก้ว-ศิลปิน
- อรทัย ดาบคำ-ศิลปิน
- แคนดี้ รากแก่น-นักจัดรายการวิทยุ
- ต๋อง ชวนชื่น-นักแสดงตลก
- ออย ช็อคกิ้งพิ้งค์-นางแบบ
- รจนา เพชรกัณหา-นางแบบ
- รสริน จันทรา-นางแบบ
- รัสมี เวระนะ-นักร้อง
- ก้านตอง ทุ่งเงิน-นักร้อง
- ดอกอ้อ ทุ่งทอง-นักร้อง
- จั๊กจั่น วันวิสา
- เอกพล มนต์ตระการ
- นพดล ดวงพร-ศิลปินมรดกอีสาน
- นันทิยา ศรีอุบล-นักร้องลูกทุ่ง
- เบญจมินทร์-นักประพันธ์เพลง
- บ. บุญค้ำ-นักเขียน
- บัวผัน ทังโส-นักร้องหมอลำ
- ผดุง ไกรศรี-นักเขียน
- พีรฉัตร จิตรมาส-นางแบบ
- เด่น อยู่ประเสริฐ-นักวิชาการ
- ทองแปน พันบุปผา-ศิลปินมรดกอีสสาน
- หงษ์ทอง หงษา-ศิลปินหมอลำ
- สายยล จิตรธรรม-ศิลปินหมอลำ
- ศรีจันทร์ วีสี-ศิลปินหมอลำ
- เด่นชัย วงศ์สามารถ-ศิลปินหมอลำ
- จอมศิลป์ บรรลุศิลป์-ศิลปินหมอลำ
- คูณ ถาวรพงษ์-ศิลปินหมอลำ
- ทองเจริญ ดาเหลา-ศิลปินมรดกอีสาน
- มุกดา เมืองนคร-ศิลปินหมอลำ
- คำภา ฤทธิทิศ-ศิลปินหมอลำ
- ทองคำ เพ็งดี-ศิลปินมรดกอีสาน
- บุญช่วง เด่นดวง-ศิลปินมรดกอีสาน
- บุญแต่ง เคนทองดี-ศิลปินหมอลำ
- คำภา ฤทธิทิศ-ศิลปินมรดกอีสานปี 2550
- ดร.ดวง(จันทร์น้อย)วังสาลุน-ศิลปินมรดกอีสานปี 2550 ศิลปินประพันธ์กลอนลำทำนองอุบล
- คมถวิล เวียงอุบล-ศิลปิน
- วิเศษ เวณิกา-ศิลปิน
- สมนึก พานิชกิจ-ศิลปินมรดกอีสาน
- มลฤดี พรหมจักร์-ศิลปินมรดกอีสาน
- รังสรรค์ วงศ์งาม-ศิลปินมรดกอีสาน
- ทวี เกษางาม-ศิลปินมรดกอีสาน
- ทรงรัฐ อ่อนสนิท-ศิลปินมรดกอีสาน
- สมคิด สอนอาจ-ศิลปินมรดกอีสาน
- คำแอ ทองจันทร์-ศิลปินมรดกอีสาน
- ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)-ศิลปินมรดกอีสาน
- พีระพงษ์ ดวงแก้ว-ศิลปินมรดกอีสาน
- สำราญ บุบผาวาสน์-ศิลปินมรดกอีสาน
- สมพงษ์ พละสูรย์-ศิลปินมรดกอีสาน
- สุรสีห์ ผาธรรม-ศิลปินมรดกอีสาน
- สุรินทร์ ภาคศิริ-ศิลปินมรดกอีสาน
- ทอง ล้อมวงศ์-ศิลปินมรดกอีสาน
ด้านการเมือง การปกครอง
แก้- เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)-เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก
- เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์-เจ้าเมืองอุบลราชธานี
- หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา-ชาวอุบลราชธานี
- เกียรติศักดิ์ ส่องแสง-นักการเมือง
- เกรียง กัลป์ตินันท์-นักการเมือง
- ไขแสง สุกใส-นักการเมือง
- ชิดชัย วรรณสถิตย์-นักการเมือง
- ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ-นักการเมือง
- ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์-นักการเมือง
- ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช-นักการเมือง
- ดุสิต โสภิตชา-นักการเมือง-นักการเมือง
- ทองอินทร์ ภูริพัฒน์-นักการเมือง
- ธนา เมตตาริกานนท์-นักการเมือง
- ธำรงค์ ไทยมงคล-นักการเมือง
- นฤพนธ์ ไชยยศ-พิธีกรรายการโทรทัศน์
- บุณย์ธิดา สมชัย-นักการเมือง
- ประสิทธิ์ ณรงค์เดช-นักการเมือง
- ประจวบ บุนนาค-นักการเมือง
- ปัญญา จินตะเวช-นักการเมือง
- ผัน บุญชิต-นักการเมือง
- ฟอง สิทธิธรรม-นักการเมือง
- อิสสระ สมชัย-นักการเมือง
- อรพินท์ ไชยกาล-นักการเมือง
- อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์-นักการเมือง
- เสรี สุชาตะประคัลภ์-นักการเมือง
- สุรศักดิ์ เทียมประเสริฐ-นักการเมือง
- สุพล ฟองงาม-นักการเมือง
- สุทัศน์ เงินหมื่น-นักการเมือง
- สุชาติ ตันติวณิชชานนท์-นักการเมือง
- สิทธิชัย โควสุรัตน์-นักการเมือง
- วิฑูรย์ นามบุตร-นักการเมือง
- วุฒิพงษ์ นามบุตร-นักการเมือง
- ศุภชัย ศรีหล้า-นักการเมือง
- รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ -นักวิชาการการศึกษา
- กิตติ์ธัญญา วาจาดี-นักการเมือง
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 245 ง หน้า 4 วันที่ 2 ตุลาคม 2566
- ↑ "ระบบสถิติทางการทะเบียน". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ "แห่เทียนพรรษา". มิวเซียมไทยแลนด์. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2021.
- ↑ อุบลราชธานี : จังหวัดที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ดินแดนแห่งนักปราชญ์”
- ↑ ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ ฉะบับเจ้าพรหมเทวนุเคราะห์ และเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์ [1]
- ↑ คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์สำนักนายกรัฐมนตรี, '''เรื่องทรงตั้งเจ้าประเทศราชกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1''' (กรุงเทพฯ : สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๔) น. ๑๔ [2]
- ↑ พงศาวดารเมืองยโสธร ฉบับ พระสุนทรราชเดช (แข้ ประทุมชาติ) หน้า 13 [3]
- ↑ สุธิดา ตันเลิศ. (2558). บทวิจารณ์หนังสือ “เล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานี” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(1), 36-37. [4]
- ↑ https://sites.google.com/view/heir-of-sisaket/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%94?authuser=0
- ↑ "ประวัติเมืองอุบลราชธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-05. สืบค้นเมื่อ 2010-02-14.
- ↑ รับราชการในฐานะปลัดมณฑลอีสาน ดูใน ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้หม่อมอมรวงษ์วิจิตรไปว่าที่ปลัดมณฑลอิสาน ให้พระทรงสุรเดชไปว่าที่ผู้ว่าราชการเมืองอ่างทอง ให้หลวงสาทรศุภกิจว่าที่ผู้ว่าราชการเมืองสิงห์บุรี ให้พระอินทรประสิทธิ์ศรไปว่าที่ผู้ว่าราชการเมืองชัยภูมิ, เล่ม 24, ตอน 28, 13 ตุลาคม พ.ศ. 2450, หน้า 675
- ↑ สิ้นสุดวาระเนื่องจากถึงแก่กรรมระหว่างดำรงตำแหน่ง ดูใน ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย [หม่อมอมรวงษ์วิจิตร์ (ม.ร.ว. ปฐม), หลวงวิจารณ์สมบัติ (เริก), พระยาภักดีภูธร (นิล), เล่ม 25, ตอน 14, 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2451, หน้า 435 และ ดำรงราชานุภาพ. คำนำ ใน ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 4 อำมาตย์เอก พระยาศรีสำรวจ (ชื่น ภัทรนาวิก) ม.ม. ท.ช. รัตน ว.ป.ร.4 พิมพ์แจกในงานศพ พัน ภัทรนาวิก ผู้มารดา เมื่อปีเถาะสัปตศก พ.ศ. 2458. โบราณคดีสโมสร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2458. หน้า ญ - ท.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate/Area/statpop 2564. สืบค้น 30 มกราคม 2565.
- ↑ Guide Ubon (2015). "-ตารางเส้นทางเดินรถโดยสาร ระหว่างจังหวัด-". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-21. สืบค้นเมื่อ January 22, 2016.
- ↑ บริษัท เว็บสวัสดี จำกัด (มหาชน) (2015). "ตารางเที่ยวบินของอุบลราชธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-10. สืบค้นเมื่อ January 22, 2016.
- ↑ GuideUbon. "ข้อมูลการเดินรถสองแถวจังหวัดอุบลราชธานี". สืบค้นเมื่อ January 22, 2016.
- ↑ https://www.sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=15370
ดูเพิ่ม
แก้- รายชื่อวัดในจังหวัดอุบลราชธานี
- รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี
- รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดอุบลราชธานี