นพดล ดวงพร
นพดล ดวงพร (15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)[1] ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2552
นพดล ดวงพร | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ณรงค์ พงษ์ภาพ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (77 ปี) โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | คำพันธ์ พงษ์ภาพ |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง, ตลก |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2514–2562 |
สังกัด | วงดนตรีจุฬารัตน์ วงดนตรีเพชรพิณทอง |
สุพรรณหงส์ | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2545 - 15 ค่ำ เดือน 11 |
ชมรมวิจารณ์บันเทิง | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2545 - 15 ค่ำ เดือน 11 |
ประวัติ
แก้นพดล มีชื่อจริงว่า ณรงค์ พงษ์ภาพ เกิดที่ตำบลปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี บิดาเป็นหมอลำกลอน มารดาเป็นนักร้อง เพลงโคราช
ณรงค์ พงษ์ภาพ เคยเป็นเด็กในวงดนตรีคณะพิพัฒน์ บริบูรณ์ นานหลายปี ต่อมาได้เป็นลูกศิษย์และร่วมวงดนตรีจุฬารัตน์ของครูมงคล อมาตยกุล ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อ นพดล ดวงพร ให้[1] ต่อมาได้แยกไปก่อตั้งวงดนตรีลูกทุ่งอีสานประยุกต์ ในปี พ.ศ. 2513 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น วงดนตรีเพชรพิณทองที่โด่งดังของภาคอีสานในเวลาต่อมา ช่วงหลังเป็นนักแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
นพดลเสียชีวิตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 20.19 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร [2] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ณ วัดท่าวังหิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ผลงานเพลง
แก้- เพลงค้นหาคนดัง
- เพลงไม่พบคนดัง
- เพลงหมอลำบันลือโลก
ผลงานภาพยนตร์
แก้- เสน่ห์ลูกทุ่ง (2513)
- วิวาห์พาฝัน (2514)
- ลำดวน (2514)
- มนต์รักแม่น้ำมูล (2520) รับบท พ่อของครูตะวัน
- ครูบ้านนอก (2521) รับบท ครูใหญ่คำเม้า
- หนองหมาว้อ (2522)
- 7 สิงห์ตะวันเพลิง (2522)
- คนกลางแดด (2522)
- จับกัง กรรมกรเต็มขั้น (2523) รับบท ลุงแป๊ะ
- ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน (2523) รับบท ไอ้จ่อย
- บันทึกลับครูพร (2523) รับบท ครูพร
- ไฟนรกขุมโลกันต์ (2523)
- ลูกแม่มูล (2523) รับบท พ่อของคูณ
- ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ (2523)
- เสน่ห์บางกอก (2524) รับบท ครูวิชัย
- หมามุ่ย (2524)
- สิงโตคำราม (2524) รับบท พ่อของสิงโต
- ขบวนการแก้จน (2524) รับบท สีทา
- นักสืบฮาร์ด (2525) รับบท ลุย
- หลวงตา ภาค 2 (2525) รับบท พ่อของหลวงตา
- เพชรพระอุมา (2533) รับบท มือปืนโจรป่า
- ครูข้าวเหนียว (2528)
- 15 ค่ำ เดือน 11 (2545) รับบท หลวงพ่อโล่ห์
- หลบผี ผีไม่หลบ (2546) รับบท หลวงพ่อทอง (รับเชิญ)
- ยอดชายนายคำเม้า (2548) รับบท พ่อด้วงทอง
- วาไรตี้ผีฉลุย (2548)
- มากับพระ (2549) รับบท หลวงปู่
- คนหิ้วหัว (2550)
- แหยม ยโสธร 2 (2553) รับบท ลุงไข่เถือก
- อีนางเอ๊ย เขยฝรั่ง (2554)
- ปัญญาเรณู 3 ตอน รูปูรูปี (2556)
- ป๊อปอาย มายเฟรนด์ (2560) รับบท ลุงพีค
ผลงานละคร
แก้- เทพบุตรสุดที่รัก (2544)
- โคกคูนตระกูลไข่ (2546-2550) รับบท ลุงพร
- ระเบิดเถิดเทิง ตอน อัลไซเมอร์ (2547) ช่อง 5 (รับเชิญ)
- แผ่นดินหัวใจ (2548)
- แคนลำโขง (2549) รับบท ภูเมือง
- ต่างฟ้าตะวันเดียว (2549) รับบท ผู้เฒ่าลูเธอร์
- ภารกิจพิชิตดอกฟ้า (2549)
- เพลงรักริมฝั่งโขง (2550)
- บางรักซอย 9 ตอน ปริศนา ชายน้อย 2 (2551) (รับเชิญ)
- เรไรลูกสาวป่า (2551)
- เป็นต่อ ตอน บ้านน๊อก บ้านนอก (2553) (รับเชิญ)
- ส้มตำแฮมเบอร์เกอร์ (2559) ทรูโฟร์ยู รับบท พระอาจารย์ (รับเชิญ)
ลูกศิษย์
แก้คุณครูนพดล ดวงพร ได้สร้างลูกศิษย์ให้มีชื่อเสียงอยู่หลายคน อาทิ
- นกน้อย อุไรพร
- ชุติมา ดวงพร
- นพรัตน์ ดวงพร
- วิเศษ เวณิกา
- เฉลิมพร เพชรศยาม
- จีรวรรณ พรวิเศษ (น้ำผึ้ง แสนคำ)
- กำไล พัชรา
- หนิงหน่อง
รางวัล
แก้- รับยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2532
- รางวัลสุพรรณหงส์ ประจำปี 2545 ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11
- รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ประจำปี 2545 ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11
- รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ปี พ.ศ. 2552
- รางวัลศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี 2552 โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้มอบ
- รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 นักแสดงชายยอดเยี่ยม[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 เจนภพ จบกระบวนวรรณ. เพลงลูกทุ่ง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 176 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-83-0
- ↑ ""นพดล ดวงพร" ถึงแก่กรรม อายุ 77 ปี".
- ↑ HAMBURGER AWARDS#1, นิตยสารHAMBURGER ปีที่1 ฉบับที่ 9, ปักษ์หลัง ธันวาคม 2545, หน้า 30-41