หมามุ่ย

สปีชีส์ของพืช
หมามุ่ย/หมามุ้ย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Phaseoleae
สกุล: Mucuna
สปีชีส์: M.  pruriens
ชื่อทวินาม
Mucuna pruriens
(L.) DC.

หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย ชื่อวิทยาศาสตร์ Mucuna pruriens DC. เป็นพืชเถาซึ่งมีขนคันจากฝัก เมื่อถูกผิวหนังทำให้คัน เนื่องจากขนมี mucunain enzyme สามารถย่อยโปรตีนได้เซโรโทนิน และมีสารคล้ายฮิสตามีน การเกิดพิษ ขนเมื่อถูกสัมผัส จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองมาก คัน ปวดแสบปวดร้อน บวมแดง [1]

ลักษณะทั่วไป ใบมีรูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ปนขนมเปียกปูน โคนใบอาจมีทั้งมน กลม หรือหน้าตัดก็ได้ ตัวใบบางและมีขนทั้งสองด้าน ดอกสีม่วงดำ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ มีเมล็ด 4-7 เมล็ด ฝักจะมีขนอ่อนคลุม ฝักแก่นี้เองจะกลายเป็นพืชที่มีพิษ เมื่อผิวหนังสัมผัสกับขนพิษ ปลายยอดของขนจะแตกออก และฉีดสารพิษออกมา ทำให้ผิวหนังบวมแดง คันและปวดแสบปวดร้อน

การรักษา รีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัว หรือข้าวเหนียวคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน แล้วนำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายๆ ครั้งจนหมด หรืออาจใช้ผมมาถูกับบริเวณที่โดนก็ได้ ยิ่งผมสั้นเท่าไหร่ยิ่งจำจัดได้มาก และ[2]หากยังมีอาการแดงร้อนหรือคันอยู่ให้ทาคาลาไมน์โลชั่น หรือครีมสเตียรอยด์ พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนิรามีน 4 มก. ครั้งละ 1 เม็ดทุก 6 ชม. จนเป็นปกติ [3]

สายพันธุ์

แก้

หมามุ่ยมี 2 สายพันธุ์คือ[4]

  • หมามุ่ยใหญ่ Mucuna monosperma DC. Ex Wight Fabaceae (Leguminosa-Papilionoideae)
  • หมามุ่ยลาย Mucuna stenoplax Wilmot-Dear Fabaceae (Leguminosa-Papilionoideae)

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-30. สืบค้นเมื่อ 2007-10-06.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-24. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-04. สืบค้นเมื่อ 2009-04-03.
  4. สารานุกรมพืช[ลิงก์เสีย]