บุญช่วง เด่นดวง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บุญช่วง เด่นดวง หรือ บุญช่วง ดาเหลา (เกิด 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2555 เป็นผู้มีความสามารถโดดเด่นด้านการแสดงหมอลำกลอนที่มีชื่อเสียงของภาคอีสาน เป็นเพื่อนสนิทรุ่นเดียวกับฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2536 และเป็นผู้คงไว้ซึ่งเชื้อสายและมีอาวุโสสูงสุดของสายตระกูล "ดาเหลา" ซึ่งเป็นสายสกุลหมอลำกลอนอันมีชื่อเสียงจากเคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2534 , บุญเพ็ง ไฝผิวชัย ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2540 และทองเจริญ ดาเหลา ศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2555
บุญช่วง เด่นดวง | |
---|---|
เกิด | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (79 ปี) |
อาชีพ |
|
คู่สมรส | ทองเจริญ ดาเหลา |
ประวัติ
แก้บุญช่วง เด่นดวง เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ที่บ้านกระจาย ตำบลป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร) เป็นบุตรของนายพรหมมา เด่นดวง ชาวบ้านทุ่งมน ซึ่งมีอาชีพหมอลำกลอนเช่นกัน ในช่วงชีวิตวัยเยาว์เมื่อสำเร็จการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 แล้ว ก็ออกมาช่วยบิดามารดาทำนา และทำไร่ปอ ตลอดจนเลี้ยงน้อง ๆ ที่บ้านของตน
บุญช่วง เด่นดวง เป็นผู้ชื่นชอบหมอลำ และลิเกพื้นบ้านตั้งแต่เยาว์วัย วันหนึ่งได้ออกไปเลี้ยงวัวที่ทุ่งนา ขณะนั้นจึงทำให้นึกคิดว่าอยากจะเป็นหมอลำที่เก่งกาจสามารถออกทำการแสดงอย่างหมอลำ และลิเกพื้นบ้านบ้าง
พ.ศ. 2503 ได้ผกผันชีวิตมาเป็นเรียนรู้หมอลำเพลินกับนางทองดำ เด่นดวง ผู้เป็นพี่สาว จนพัฒนาขึ้นเป็นนางเอกหมอลำเพลิน และหมอลำเรื่องต่อกลอน โดยลำเรื่องแรกคือ ลำเรื่องเศรษฐีนกเอี้ยง และลำเรื่องจันทร์ตราทองแดงลำดับต่อมา
พ.ศ. 2507 ได้เดินทางเข้าไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ในสำนักงานของหมอลำเคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2534 และหมอลำคำภา ฤทธิทิศ ซึ่งเป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบรมครูหมอลำที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งเปิดสำนักงานฯ ตั้งอยู่ข้างวัดแจ้ง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี การฝึกฝนอยู่ในสำนักงานแห่งนี้ บุญช่วง เด่นดวง ได้พัฒนาตนเอง เรียนรู้ ต่อยอด ฝึกฝนจากครูอาจารย์ และด้วยสติปัญญาของตนเอง จึงมีลักษณะการขับลำที่โดดเด่น เหนือชั้นเชิงเพื่อนร่วมสำนักงานด้วยกัน จนสามารถออกรับงานการแสดงกับหมอลำอาวุโสหลายคน เช่น หมอลำวังสถาน หมอลำเปลี่ยน วิมลสุข เป็นต้น จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วภาคอีสาน และสปป.ลาว
ชีวิตครอบครัว
แก้บุญช่วง เด่นดวง ได้สมรสกับทองเจริญ ดาเหลา ศิลปินพื้นบ้าน (หมอลำ) ซึ่งเป็นหลานอาของหมอลำเคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ มีบุตรด้วยกัน 2 คน ได้แก่
- นายดนัย ดาเหลา
- นายชัยวัฒน์ ดาเหลา
ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 110 หมู่ที่ 6 บ้านหนองแก ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี คุณแม่บุญช่วงยังได้รับเกียรติใด้ดำรงตำแหน่งกรรมการตัดสินการประกวดศิลปะการแสดงหมอลำของหลายๆ หน่วยงานอีกด้วย[1]
การศึกษา
แก้- สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านกระจาย ตำบลป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2551 ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานาฎศิลป์และละคร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ตำแหน่ง และหน้าที่
แก้- อาจารย์พิเศษ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
- ที่ปรึกษาสำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ประกอบอาชีพหมอลำจังหวัดอุดรธานี
รางวัล และการเชิดชูเกียรติ
แก้- ได้รับโล่ศิลปินดีเด่นภาคอีสาน ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ได้รับโล่รางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลดีเด่นแห่งปี รางวัลเพชรสยาม สาขานาฎการพื้นบ้านประจำปี พ.ศ. 2549 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เนื่องในวโรกาสสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
- ได้รับรางวัลศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) พ.ศ. 2555 จากสำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น[2]
ผลงาน
แก้- หมอลำบุญช่วง เด่นดวง มีผลงานกลอนลำมากมาย ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ของประชาชนทั่วภาคอีสาน และฝั่งสปป.ลาว
- เป็นวิทยากรสาธิตการขับลำหมอลำกลอนและบันทึกเสียงให้แก่นิสิตระดับปริญญาโทคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- เป็นที่ปรึกษาและคณะกรรมการประกวดหมอลำกลอนย้อนยุค ชิงถ้วยพระราชทาน สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี และสำนักงานศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย
- ร่วมแสดงงานแสง สี เสียง เรื่องสินไช ในวาระ 72 ปี เทศบาลนครขอนแก่น
- ตลอดจนมีผลงานด้านลำกลอน 12 ชุด เช่น คุยเฟื่องเรื่องซาอุ ประวัติพระธาตุพนม ประวัติเวียงจันทร์ สะพานทองสองฝั่งโขง ลำเพลินนกยูงทอง อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เต้ยท่องเที่ยวไทย เป็นต้น[3]