พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก)

"พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก)" (2441-2530) อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุวันและรองเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี สานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธานิยมเรียกนามท่านว่า “หลวงปู่จูมหรือพ่อท่าน” นับเป็นเถระผู้นำภารธุระทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ควบคู่กันอย่างเข้มข้นเต็มความสามารถโดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาสงฆ์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งสติปัญญา ร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนการบ่าเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างใหญ่หลวง เป็นแบบอย่างของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และทรงไว้ซึ่ง ภูมิธรรม ภูมิปัญญา อย่างแท้จริง[1]

พระครูโศภนธรรมาภรณ์

(จูม โชติโก)
ชื่ออื่นหลวงปู่จูม, พ่อท่าน
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2441 (89 ปี)
มรณภาพพ.ศ. 2530
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม ๓ ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเวฬุวัน อุบลราชธานี
อุปสมบทพ.ศ. 2462
พรรษา68
ตำแหน่งอดีตรองเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติ แก้

"พระครูโศภนธรรมาภรณ์" มีนามเดิม "จูม บุญพูล" เกิดเมื่อ เกิดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441[2][3] ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 3 ค่ำ ปีจอที่บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

อุปสมบท แก้

อุปสมบทวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ ที่วัดสว่างวนาราม (ซึ่งเป็นวัดอีกแห่งหนึ่งในหมู่บ้านไผ่ใหญ่) โดยมีเจ้าอธิการอุ่น จิตฺปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน เป็นพระอุปัชฌาย์

วุฒิทางธรรม แก้

สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยคและนักธรรมชั้นโทในส่านักเรียน วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร [4] [5]

หน้าที่การงาน แก้

ด้านการศึกษา แก้

พ.ศ. 2475 ครูสอนปริยัติธรรมส่านักเรียนวัดเบญจมบพิตร โดยได้รับแต่งตั้งจากพระพรหมมุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

พ.ศ. 2476 พระพรหมมุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) ในฐานะเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม) ส่งให้ไปสอนที่สำนักเรียนวัดเมืองชุมแม่ต่ำ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย (ปัจจุบัน คือ จังหวัดพะเยา) เป็นเวลา 2 ปี

พ.ศ. 2478 กลับมาปิดสอนบาลีและนักธรรมวัดเวฬุวัน อ่าเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ผลงานที่ท่านได้บากบั่นทุ่มเทให้กับการศึกษาที่สำนักเรียนวัดเวฬุวัน จนศิษย์สำนักเรียนวัดเวฬุวันได้ไปตั้งสำนักเรียนหรือเป็นพระสังฆาธิการเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น

  • พระมหาพรหมา ญาณจารี “พระครูเขมราฐเมธี” วิทยฐานะนักธรรมเอก เปรียญธรรม ๖ ประโยค วัดเหนือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี อดีตเจ้าคณะอำเภอเขมราฐ และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญในราชทินนามที่ “พระศีลวิสุทธาจารย์” และดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี มรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ [6][7]
  • พระมหาบุญเพ็ง สุจิตโต "พระครูสุจิตธรรมาจารย์" วิทยฐานะนักธรรมเอก เปรียญธรรม ๖ ประโยค อดีตเจ้าคณะอ่าเภอม่วงสามสิบ ปัจจุบันมรณภาพแล้ว

ด้านการปกครอง แก้

  • อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่ ตำบลไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • อดีตเจ้าคณะตำบลไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ตำบลจิกดู่ ตำบลสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบัน จังหวัดอำนาจเจริญ)
  • อดีตรองเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

สมณศักดิ์ แก้

  • พ.ศ. 2505 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูโศภนธรรมาภรณ์
  • พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2520 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม

ปัจฉิมวัย แก้

บั้นปลายแห่งชีวิตของพระครูโศภนธรรมาภรณ์ ได้หันมาบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างจริงจัง โดยให้สร้างกุฏิกลางน้ำหลังเล็ก ๆ ขึ้นหนึ่งหลังที่หนองสวน เพื่อเป็นที่พำนักและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านอาศัยจำพรรษาที่กุฏิหลังเล็กกลางน้ำมาตลอด จนกระทั่งมรณภาพด้วยโรคชราในปี พ.ศ. 2530 รวมอายุได้ 89 ปี 68 พรรษา

อ้างอิง แก้

  1. พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก ป.ธ. ๓), [1][ลิงก์เสีย]
  2. พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก ป.ธ. ๓), [2][ลิงก์เสีย]
  3. พระดีบ้านไผ่ใหญ่ หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก เปรียญธรรม 3 ประโยค) วัดเวฬุวัน อ่าเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 8 – 10 เมษายน 2531
  4. พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก ป.ธ. ๓), [3][ลิงก์เสีย]
  5. พระดีบ้านไผ่ใหญ่ หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก เปรียญธรรม 3 ประโยค) วัดเวฬุวัน อ่าเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 8 – 10 เมษายน 2531
  6. พระศีลวิสุทธาจารย์ ((พรหมา ญาณจารี ป.ธ. ๖), [4][ลิงก์เสีย]
  7. วัดเหนือ , [5] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน


ก่อนหน้า พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) ถัดไป
เจ้าอธิการอุ่น จิตฺปญฺโญ   เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน
(พ.ศ. 2478-2530)
  พระครูเวฬุวันสุตกิจ

(พระมหาพิชิต อนุตตฺโร)

แม่แบบ:พระสังฆาธิการเจ้าอาวาส