อำเภอปทุมราชวงศา

อำเภอในจังหวัดอำนาจเจริญ ประเทศไทย

ปทุมราชวงศา [ปะ-ทุม-ราด-ชะ-วง-สา] เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ

อำเภอปทุมราชวงศา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Pathum Ratchawongsa
คำขวัญ: 
พระปทุมราชเป็นศรี แหล่งมากมีภูผาสวย
หลากหลายด้วยวัฒนธรรม งามล้ำผ้าทอมือ
แผนที่จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นอำเภอปทุมราชวงศา
แผนที่จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นอำเภอปทุมราชวงศา
พิกัด: 15°53′30″N 104°54′18″E / 15.89167°N 104.90500°E / 15.89167; 104.90500
ประเทศ ไทย
จังหวัดอำนาจเจริญ
พื้นที่
 • ทั้งหมด520.8 ตร.กม. (201.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด49,051 คน
 • ความหนาแน่น94.18 คน/ตร.กม. (243.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 37110
รหัสภูมิศาสตร์3703
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอปทุมราชวงศา ถนนอรุณประเสริฐ ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ 37110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอปทุมราชวงศาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

ในโอกาสฉลอง 200 ปีของจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2535 นายสายสิทธิ์ พรแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในสมัยนั้น มีดำริจะจัดตั้งอำเภอใหม่เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระจังหวัดอุบลราชธานีครบ 200 ปีเป็นกรณีพิเศษไม่ต้องผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ โดยจัดตั้งอำเภอใหม่ให้ชื่อว่า อำเภอปทุมราชวงศา มีสถานที่ตั้ง ณ บ้านนาหว้าใหญ่ ตำบลนาหว้า อำเภอพนา โดยใช้ชื่อของพระปทุมราชวงศา (ท้าวคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรกเป็นชื่อของอำเภอ คำว่า "ปทุม" เป็นคำนามมาจากภาษาบาลีมีความหมายว่า บัวหลวง คำว่า "ปทุมราชวงศา" หมายถึง ราชวงศ์ดอกบัวหลวง ถ้าหากจะใช้ชื่อตำบลนาหว้าซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอใหม่เป็นชื่ออำเภอ จะเป็นการซ้ำซ้อนกับอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

จังหวัดอุบลราชธานีได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดตั้งอำเภอปทุมราชวงศาเรื่อยมาจนกระทั่ง ถึงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา อำเภอปทุมราชวงศาจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยรวมท้องที่ตำบลลือ ตำบลห้วย และตำบลนาหว้าจากอำเภอพนา ตำบลโนนงามจากอำเภออำนาจเจริญ ตำบลหนองข่าและตำบลคำโพนจากอำเภอชานุมานเข้าด้วยกัน โดยมีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2536 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 87 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2536 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1]

จนกระทั่งถึงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญแยกจากจังหวัดอุบลราชธานีมีผลบังคับใช้ ทำให้อำเภอปทุมราชวงศาย้ายมาขึ้นกับจังหวัดอำนาจเจริญจนถึงปัจจุบัน[2]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอปทุมราชวงศาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 73 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[3]
1. หนองข่า Nong Kha
9
6,899
2. คำโพน Kham Phon
10
8,081
3. นาหว้า Na Wa
9
8,459
4. ลือ Lue
14
8,277
5. ห้วย Huai
13
6,951
6. โนนงาม Non Ngam
8
4,001
7. นาป่าแซง Na Pa Saeng
10
6,400

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอปทุมราชวงศาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาหว้าและตำบลนาป่าแซง
  • เทศบาลตำบลหนองข่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองข่าทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลห้วย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลนาป่าแซง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาป่าแซง (นอกเขตเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคำโพน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำโพนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหว้า (นอกเขตเทศบาลตำบลปทุมราชวงศา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนงามทั้งตำบล

สถาบันการศึกษา

แก้

โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ธนาคาร

แก้

อำเภอปทุมราชวงศามีธนาคารที่เปิดให้บริการ 5 แห่ง ประกอบด้วย

  1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาปทุมราชวงศา
  2. ธนาคารกรุงเทพ สาขาปทุมราชวงศา (ปัจจุบันปิดทำการ 2567)
  3. ธนาคารกรุงไทย สาขาปทุมราชวงศา
  4. ธนาคารออมสิน สาขาปทุมราชวงศา
  5. ธนาคารกสิกรไทย สาขาปทุมราชวงศา (ปัจจุบันปิดทำการสาขานี้ไปแล้ว 2561)

สถานีตำรวจ

แก้
  • สถานีตำรวจภูธรปทุมราชวงศา

อ้างอิง

แก้
  1. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 87 ก): 1–2. July 2, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2011-12-02.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  3. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้