อำเภอชานุมาน
ชานุมาน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ และเป็นอำเภอเดียวของจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับประเทศลาว
อำเภอชานุมาน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chanuman |
เขาคีรีวงกตภูมะโรง เป็นภูเขาหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างบ้านเมืองเก่า บ้านคำแก้ว บ้านคำเดือย บ้านเหล่าแก้วแมง บ้านสงยาง ตำบลคำเขื่อนแก้ว | |
คำขวัญ: ชายแดนแห่งเดียว ป่าเขียวแสนงาม งามห้วยแก่งหิน แผ่นดินน่าอยู่ ชมหมู่ภูไท | |
แผนที่จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นอำเภอชานุมาน | |
พิกัด: 16°14′0″N 105°0′0″E / 16.23333°N 105.00000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อำนาจเจริญ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 555.84 ตร.กม. (214.61 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 41,489 คน |
• ความหนาแน่น | 74.64 คน/ตร.กม. (193.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 37210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3702 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอชานุมาน หมู่ที่ 8 ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ 37210 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอชานุมานมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอนตาล (จังหวัดมุกดาหาร)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสุวรรณเขต (ประเทศลาว)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเขมราฐ (จังหวัดอุบลราชธานี) และอำเภอปทุมราชวงศา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเสนางคนิคม และอำเภอเลิงนกทา (จังหวัดยโสธร)
ประวัติ
แก้การตั้งถิ่นฐานของอำเภอชานุมานมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีชาวลาวคนหนึ่งได้มาศึกษาเล่าเรียนที่เมืองหลวงประเทศไทยโดยทางราชการลาวส่งเข้ามา เมื่อจบการศึกษาแล้วก็กลับประเทศของตน แต่เป็นระยะเวลาที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองประเทศลาว ชายผู้นี้เกิดความไม่พอใจจึงไม่ต้องการเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสจึงเดินทางมาติดต่อกับรัฐบาลไทย จึงขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารและขอสร้างเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงของไทยที่บ้านท่ายักษ์ขุ เมื่อทางการไทยได้อนุญาตแล้วก็ได้กลับประเทศลาวนำสมัครพรรคพวกหนีฝรั่งเศสมาอยู่ที่ฝั่งไทย บริเณบ้านท่ายักษ์ขุ และในปี พ.ศ. 2422 รัชกาลที่ 5 โปรดให้ตั้งบ้านท่ายักษ์ขุขึ้นเป็นเมืองชานุมารมณฑลขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี โดยมีพระปลัดซ้าย (เคน) บุตรท้าวมนฑาธิราชเจ้าเมืองลำเนาหนองปรือ เป็นเจ้าเมืองชานุมารมณฑลในตำแหน่งพระผจญจัตตุรงค์ แต่ในครั้งนั้นพระผจญจัตตุรงค์กลับพาไพร่พลไปตั้งที่บ้านท่ากระดานไม่ได้ตั้งที่บ้านยักษขุตามที่ขอไว้เมื่อพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ได้เป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์หัวเมืองอุบลราชธานี ได้เกิดการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ ซึ่งก็ทำให้เมืองชานุมารมณฑลถูกลดฐานนะเป็นอำเภอเมืองชานุมารมณฑลขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี
และในปี 2445 ได้เกิดข้าวยากหมากแพงและเกิดโรคระบาดร้ายแรง พระประจญจตุรงค์ เจ้าเมืองชานุมารมณฑล ป่วยเป็นอหิวาตกโรค ถึงแก่กรรม[1] ผู้คนจึงอพยพไปตั้งบ้านเมืองใหม่อยู่ทางจังหวัดหนองคายเป็นจำนวนมากทำให้พลเมืองเหลือน้อย อำเภอชานุมารจึงถูกลดลงเป็นกิ่งอำเภอขึ้นต่ออำเภอเขมราฐ จนถึงปี พ.ศ. 2501 ทางราชการจึงยกฐานะขึ้นเป็นอำเภออีกครั้ง เรียกว่าอำเภอชานุมาน โดยเปลี่ยนคำว่า ชานุมาร (ผู้บิดเบือน) เป็น ชานุมาน (ผู้มีความมานะพยามยาม) และในปี 2536 อำเภอชานุมานได้ขึ้นกับจังหวัดอำนาจเจริญถึงปัจจุบัน[2]
- วันที่ 28 กรกฎาคม 2455 ยุบอำเภอชานุมาณมณฑล ลงเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่งอำเภอชานุมาณมณฑล ขึ้นกับอำเภอเขมราฐ[3]
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลโคกสาร กิ่งอำเภอชานุมาน เป็น ตำบลคำเขื่อนแก้ว[4]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโคกก่ง แยกออกจากตำบลคำเขื่อนแก้ว[5]
- วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลชานุมาน ในท้องที่บางส่วนของตำบลชานุมาน[6]
- วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอชานุมาน อำเภอเขมราฐ เป็น อำเภอชานุมาน[7]
- วันที่ 13 มิถุนายน 2521 ตั้งตำบลโคกสาร แยกออกจากตำบลชานุมาน[8]
- วันที่ 12 กันยายน 2521 ตั้งตำบลคำโพน แยกออกจากตำบลหนองข่า[9]
- วันที่ 28 มกราคม 2536 ตั้งตำบลป่าก่อ แยกออกจากตำบลโคกก่ง[10]
- วันที่ 2 กรกฎาคม 2536 แยกพื้นที่ตำบลคำโพน ตำบลหนองข่า อำเภอชานุมาน ตำบลนาหว้า ตำบลลือ ตำบลห้วย อำเภอพนา และตำบลโนนงาม อำเภออำนาจเจริญ มาตั้งเป็น อำเภอปทุมราชวงศา เพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองจังหวัดอุบลราชธานีที่ได้รับการสถาปนามาครบ 200 ปี[11]
- วันที่ 2 กันยายน 2536 แยกพื้นที่อำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอหัวตะพาน และกิ่งอำเภอลืออำนาจ อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งเป็น จังหวัดอำนาจเจริญ และเปลี่ยนชื่ออำเภออำนาจเจริญ เป็นอำเภอเมืองอำนาจเจริญ[12]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลชานุมาน เป็นเทศบาลตำบลชานุมาน[13] ด้วยผลของกฎหมาย
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอชานุมานแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 62 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[14] |
---|---|---|---|---|
1. | ชานุมาน | Chanuman | 15
|
10,516
|
2. | โคกสาร | Khok San | 9
|
6,141
|
3. | คำเขื่อนแก้ว | Kham Khuean Kaeo | 12
|
9,523
|
4. | โคกก่ง | Khok Kong | 13
|
7,083
|
5. | ป่าก่อ | Pa Ko | 13
|
8,669
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอชานุมานประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลชานุมาน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลชานุมาน
- เทศบาลตำบลโคกก่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกก่งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชานุมาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชานุมาน (นอกเขตเทศบาลตำบลชานุมาน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสารทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำเขื่อนแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าก่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าก่อทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ข่าวตายหัวเมือง [พระประจญจคุรงค์ เจ้าเมืองชานุมารมณฑล]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (14): 271. 6 กรกฎาคม 2445.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2019-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติอำเภอชานุมาน
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เลิกและยุบอำเภอต่างๆ ในมณฑลอุบลลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 982–983. 28 กรกฎาคม 2455. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2019-09-17.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. 17 เมษายน 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลชานุมาน กิ่งอำเภอชานุมาน อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 67-68. 26 มกราคม 2500.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (55 ก): 321–327. 22 กรกฎาคม 2501. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโขงเจียม อำเภอชานุมาน และอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (62 ง): 1734–1739. 13 มิถุนายน 2521.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขื่องใน และอำเภอชานุมาน จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (95 ง): 2969–2974. 12 กันยายน 2521.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอชานุมาน อำเภอเดชอุดม อำเภอน้ำยืน และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (10 ง): 8–17. 28 มกราคม 2536.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 87 ก): 1–2. July 2, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14.
- ↑ "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (125 ก): (ฉบับพิเศษ) 4-6. 2 กันยายน 2536. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.