วุฒิพงษ์ นามบุตร
วุฒิพงษ์ นามบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 3 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ[1] เป็นหลานชายนายวิฑูรย์ นามบุตร[2] และเป็นหนึ่งใน ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่สามารถชนะการเลือกตั้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา
วุฒิพงษ์ นามบุตร ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
ประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 12 กันยายน พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
พรรค | ประชาธิปัตย์ |
ประวัติแก้ไข
วุฒิพงษ์ นามบุตร เกิดเมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 ชื่อเล่น เอ เป็นชาวอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยเป็นหลานของนายวิฑูรย์ นามบุตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี ชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาไฟฟ้ากำลัง มหาวิทยาลัยศรีปทุม และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การเมืองแก้ไข
วุฒิพงษ์ นามบุตร เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาล และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (ส.จ.) ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จึงได้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ซึ่งเป็นหนึ่งในห้า ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อภิวัฒน์ เงินหมื่น วุฒิพงษ์ นามบุตร ศุภชัย ศรีหล้า อิสสระ สมชัย และณิรัฐกานต์ ศรีลาภ)
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 วุฒิพงษ์ก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 และเป็นหนึ่งในสี่ ส.ส.ของพรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ภาคอีสาน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาก็ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เป็น ส.ส. สมัยที่ 3 ในพื้นที่เขตเลือกตั้งเดิม และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม เขาเป็นหนึ่งในสองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชนะการเลือกตั้งในภาคอีสาน
และเขาก็ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เป็น ส.ส. สมัยที่ 3 ในพื้นที่เขตเลือกตั้งเดิม และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม ในพื้นที่เขตเลือกตั้งเดิม และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ 'วิฑูรย์ นามบุตร' ยื่นลาออกพ้นสมาชิก 'ปชป.' แล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |