อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์

นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 8 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518

อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 ตุลาคม พ.ศ. 2474 (92 ปี)
จังหวัดอุบลราชธานี
พรรคการเมืองชาติไทย
กิจสังคม
ชาติพัฒนา
ไทยรักไทย
พลังประชาชน
เพื่อไทย
พลังประชารัฐ
คู่สมรสเกศสุดา โภคกุลกานนท์

ประวัติ แก้

นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ที่ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายลิบคือ กับนางพวง แซ่ก๊วย[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต จากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี

ทางด้านครอบครัวได้สมรสกับ นาง เกศสุดา โภคกุลกานนท์ มีบุตรชายคือ นาย เชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต 7 (อำเภอโขงเจียม อำเภอตาลสุม อำเภอดอนมดแดง อำเภอเมืองอุบลราชธานี (เฉพาะตำบลกระโสบและตำบลกุดลาด) และอำเภอศรีเมืองใหม่ (ยกเว้นตำบลนาเลินและตำบลหนามแท่ง) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

การทำงาน แก้

นายอดิศักดิ์ เคยเป็นกำนันตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคชาติไทยและได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องมาหลายสมัย และหลายสังกัดพรรคการเมืองได้แก่ พรรคกิจสังคม พรรคชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย[2] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย นอกจากนั้นนายอดิศักดิ์ ยังเคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2548

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 95[3]

กระทั่ง พ.ศ. 2561 นายอดิศักดิ์ได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับนาย สุพล ฟองงาม อดีตเลขาธิการ พรรคเพื่อไทย และนาย เชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ผู้เป็นบุตรชายของนายอดิศักดิ์ และในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 38[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ[ลิงก์เสีย]
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  4. เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘